หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-NXHW-396A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า 

ISCO-08 3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องมือวัดและควบคุม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลในอุตสาหกรรมระบบผลิตไฟฟ้า โดยสามารถบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า ตามหลักความปลอดภัย  และหลักการยศาสตร์พื้นฐานตามหลักความปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.2 กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานที่สูง- กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานที่สูง 10.3 กฏหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเครน ปั้นจั่น และการให้สัญญาณ  - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี พ.ศ. 2554- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 255410.4 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-MC07-5-001-01

บำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลของโรงไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้า

HPG-MC07-5-001-01.01 168979
HPG-MC07-5-001-01

บำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลของโรงไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

2. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานกับระบบไฟฟ้าสำหรับงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า

HPG-MC07-5-001-01.02 168980
HPG-MC07-5-001-01

บำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลของโรงไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้าด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า

HPG-MC07-5-001-01.03 168981
HPG-MC07-5-001-01

บำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลของโรงไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

4. ระบุความเสี่ยงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

HPG-MC07-5-001-01.04 168982
HPG-MC07-5-001-02

บำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าบนที่สูงตามหลักความปลอดภัย

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานบนที่สูงด้านความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง

HPG-MC07-5-001-02.01 168971
HPG-MC07-5-001-02

บำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าบนที่สูงตามหลักความปลอดภัย

2. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงสำหรับงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า

HPG-MC07-5-001-02.02 168972
HPG-MC07-5-001-02

บำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าบนที่สูงตามหลักความปลอดภัย

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานบนที่สูงด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า

HPG-MC07-5-001-02.03 168973
HPG-MC07-5-001-02

บำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าบนที่สูงตามหลักความปลอดภัย

4. ระบุความเสี่ยงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าที่เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง

HPG-MC07-5-001-02.04 168974
HPG-MC07-5-001-03

ใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานและหลักปฏิบัติในการใช้รอกและสลิงด้านความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง

HPG-MC07-5-001-03.01 168958
HPG-MC07-5-001-03

ใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

2. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการใช้รอกและสลิงสำหรับงานบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

HPG-MC07-5-001-03.02 168959
HPG-MC07-5-001-03

ใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับรอกและสลิงด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

HPG-MC07-5-001-03.03 168960
HPG-MC07-5-001-03

ใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

4. ระบุความเสี่ยงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกล โรงไฟฟ้าที่เกี่ยวกับรอกและสลิง

HPG-MC07-5-001-03.04 168961

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นรวมถึงอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลจากไฟฟ้า

12.2 ความรู้พื้นฐานและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง  สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากการทำงานบนที่สูง อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์เฉพาะ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากที่สูงและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

12.3 ความรู้พื้นฐานและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิง  สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากการทำงานโดยใช้รอกและสลิง อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์เฉพาะ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า

2. ทักษะการหาปัจจัยความเสี่ยงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า 

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

3. ทักษะการติดต่อประสานงาน

4. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

5. ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

6. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

7. ทักษะการนำเสนอผลงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า

2. ขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติการทำงานตามหลักการยศาสตร์

3. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า เช่นการทำงานบนที่สูง , การใช้รอกและสลิง

4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า

5. ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ความสามารถปฏิบัติงาน)

4. หลักฐานการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

5. หลักฐานการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่สูง (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

6. หลักฐานการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยในการใช้งานรอกและสลิง (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสม (ความรู้)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า ได้อย่างถูกต้องและปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า อีกทั้งยังสามารถใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า ด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า รวมถึงหาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการบำรุงรักษาดังกล่าว

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. บำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวัดโรงไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

- อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความระมัดระวังและให้ความสนใจกับความปลอดภัยในงานที่ปฏิบัติ มีความตระหนักในงานที่มีอันตรายจากไฟฟ้าอยู่โดยรอบในพื้นที่ทำงาน เข้าใจวิธีปฏิบัติงานหรือข้อกำหนดการทำงานของสถานประกอบการอย่างชัดเจนและปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของงานที่ทำอยู่ มีความเข้าใจในความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงเหตุผลที่ต้องปฏิบัติ และต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยที่จำเป็น สำหรับการทำงานแต่ละอย่างที่เกี่ยวข้อง

- ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานกับระบบไฟฟ้าสำหรับงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการทำงานของสถานประกอบการ โดยต้องมีข้อกำหนดการทำงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับลักษณะงานที่ดำเนินการ มีกระบวนการทบทวนและปรับปรุงข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม

- ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้าด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องใช้เครื่องมือความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติรวมถึงตระหนักในอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือในการทำงาน รู้ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ต้องมีอันเนื่องจากสภาพการทำงาน เลือกเครื่องมือให้เหมาะกับสถานที่และวิธีเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ในการทำงานที่ความปลอดภัย มีทักษะในการดำเนินการและการสื่อสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า

- ระบุความเสี่ยงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจข้อกำหนดการทำงานที่ต้องปฏิบัติเมื่อต้องทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า และมีความเข้าใจในนโยบายงานอื่นที่แทรกอยู่ระหว่างพื้นที่ทำงาน งานอื่นที่เกี่ยวข้องกับวงจรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเดียวกัน เข้าใจวิธึการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง การสรุปงานก่อนปฏิบัติงานควรจะเป็นการมองไปข้างหน้า หรือการคาดการณ์ เป็นการทดสอบ พนักงานอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานเข้าใจเรื่องของความปลอดภัยที่ตัวเองเกี่ยวข้อง

2. บำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าบนที่สูงตามหลักความปลอดภัย

- อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานบนที่สูงด้านความปลอดภัย : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานและหลักปฏิบัติในการทำงานบนที่สูงตลอดจนอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ใช้กับการทำงานบนที่สูง กับงานที่ดำเนินการ เพื่อให้เกิดความระมัดระวังและให้ความสนใจกับความปลอดภัยในงานที่ปฏิบัติ มีความตระหนักในงานที่มีอันตรายจากการทำงานที่สูง เข้าใจวิธีปฏิบัติงานหรือข้อกำหนดการทำงานของสถานประกอบการอย่างชัดเจนและปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของงานที่ทำอยู่ มีความเข้าใจในความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงเหตุผลที่ต้องปฏิบัติ และต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยที่จำเป็น สำหรับการทำงานบนที่สูง

- ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงสำหรับงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า : เข้ารับการประเมินต้องทราบและปฏิบัติตามข้อกฏหมาย/ข้อกำหนดของการทำงานที่สูง และต้องมีกระบวนการและข้อกำหนดการทำงานที่ชัดเจน มีการทบทวนและปรับปรุงข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานที่สูง (เกิน 2 เมตร ) ตลอดจนการอบรมหรือทบทวนการปฏิบัติงานบนที่สูง ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม

- ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานบนที่สูงด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องทราบถึงกระบวนการและวิธีการตรวจสอบเครื่องมือ การตรวจสอบอุปกรณ์ และทบทวนวิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานหรืออุปกรณ์พิเศษ ที่ใช้สำหรับการทำงานที่สูง รวมถึงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอย่างปลอดภัย  เช่น รอก สลิง นั่งร้าน

- ระบุความเสี่ยงในบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าที่เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจข้อกำหนดการทำงานที่ต้องปฏิบัติเมื่อต้องทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า ติดตั้งที่สูงและมีความเข้าใจในนโยบายงานอื่นที่แทรกอยู่ระหว่างพื้นที่ทำงาน  งานอื่นที่เกี่ยวข้องกับวงจรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าหรือกระบวนการเดียวกัน เข้าใจวิธึการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง การสรุปงานก่อนปฏิบัติงานควรจะเป็นการมองไปข้างหน้า หรือการคาดการณ์ เป็นการทดสอบ พนักงานอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานเข้าใจเรื่องของความปลอดภัยที่สูงที่ตัวเองเกี่ยวข้อง 

3. ใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

- อธิบายขั้นตอนการทำงานและหลักปฏิบัติในการใช้รอกและสลิงด้านความปลอดภัย : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานและหลักปฏิบัติในการใช้งานรอง หรือ สลิง เพื่อทำการยึดโยง ตลอดจนการให้สัญญาณมือในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ และมีความเข้าใจถึงอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ใช้กับการทำงานประเภทดังกล่าว เพื่อให้เกิดความระมัดระวังและให้ความสนใจกับความปลอดภัยในงานที่ปฏิบัติ มีความตระหนักในงานที่มีอันตรายจากการใช้งานอุปกรณ์ประเภทรอกและสลิง เข้าใจวิธีปฏิบัติงานหรือข้อกำหนดการทำงานของสถานประกอบการอย่างชัดเจนและปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของงานที่ทำอยู่ มีความเข้าใจในความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงเหตุผลที่ต้องปฏิบัติ และต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยที่จำเป็น สำหรับการทำงานประเภทดังกล่าว

- ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการใช้รอกและสลิงสำหรับงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องทราบและปฏิบัติตามข้อกฏหมาย/ข้อกำหนดของการทำงานในการใช้งานอุปกรณ์ประเภทรอกและสลิง ตลอดจนข้อกำหนด/กฏหมายเกี่ยวกับเครนและปั้นจั่นในส่วนของผู้ให้สัญญาณมือ และต้องมีกระบวนการข้อกำหนดการทำงานที่ชัดเจน มีการทบทวนและปรับปรุงข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานในการปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าว ตลอดจนการอบรมหรือทบทวนการปฏิบัติงานในงานที่ปฏิบัติ ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม

- ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับรอกและสลิงด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องทราบถึงกระบวนการและวิธีการตรวจสอบเครื่องมือ การตรวจสอบอุปกรณ์ และทบทวนวิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานหรืออุปกรณ์พิเศษ ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ประเภทรอกและสลิง รวมถึงอุปกรณ์ประกอบและอำนวยความสะดวกอย่างปลอดภัย เช่น นั่งร้าน

- ระบุความเสี่ยงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกล โรงไฟฟ้าที่เกี่ยวกับรอกและสลิง : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจข้อกำหนดการทำงานที่ต้องปฏิบัติเมื่อต้องทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า โดยการใช้รอกและสลิง เพื่อการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ และมีความเข้าใจในนโยบายงานอื่นที่แทรกอยู่ระหว่างพื้นที่ทำงาน เข้าใจวิธึการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง การสรุปงานก่อนปฏิบัติงานควรจะเป็นการมองไปข้างหน้า หรือการคาดการณ์ เป็นการทดสอบ พนักงานอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานเข้าใจเรื่องของความปลอดภัยที่สูงที่ตัวเองเกี่ยวข้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลของโรงไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

(1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลของโรงไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลของโรงไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย 

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลของโรงไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

18.2 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าบนที่สูงตามหลักความปลอดภัย

(1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าบนที่สูงตามหลักความปลอดภัย 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าบนที่สูงตามหลักความปลอดภัย

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าบนที่สูงตามหลักความปลอดภัย

18.3 เครื่องมือประเมิน ใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

(1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย 

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย



ยินดีต้อนรับ