หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาเครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-VUUA-395A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาเครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า

ISCO-08 3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องมือวัดและควบคุม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษา การถอดประกอบ การตรวจสอบและสรุปผลงานบำรุงรักษา เครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer) แบบต่างๆ ได้แก่ Oxygen Analyzer , Gas Analyzer , PH Conductivity และอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.2 กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศ - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 254810.3 กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานที่สูง- กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานที่สูง 10.4 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-MC06-5-004-01

บำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector)

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องตรวจจับ (Detector)

HPG-MC06-5-004-01.01 168988
HPG-MC06-5-004-01

บำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector)

2. ถอดประกอบเครื่องตรวจจับ (Detector)

HPG-MC06-5-004-01.02 168989
HPG-MC06-5-004-01

บำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector)

3. ตรวจสอบเครื่องตรวจจับ (Detector)

HPG-MC06-5-004-01.03 168990
HPG-MC06-5-004-01

บำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector)

4. สรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector

HPG-MC06-5-004-01.04 168991
HPG-MC06-5-004-02

บำรุงรักษา Analyzer Module

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer Module)

HPG-MC06-5-004-02.01 168996
HPG-MC06-5-004-02

บำรุงรักษา Analyzer Module

2. ถอดประกอบ Analyzer Module

HPG-MC06-5-004-02.02 168997
HPG-MC06-5-004-02

บำรุงรักษา Analyzer Module

3. ตรวจสอบ Analyzer Module

HPG-MC06-5-004-02.03 168998
HPG-MC06-5-004-02

บำรุงรักษา Analyzer Module

4. สรุปผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ Analyzer Module

HPG-MC06-5-004-02.04 168999

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์จำพวก เครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer) การจำแนกประเภทและคุณลักษณะ

12.2 ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางเคมีเบื้องต้น 

12.3 ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer)

12.4 ความรู้เรื่องวัสดุ (Material)

12.5 ทฤษฎีสัญญาณมาตรฐานของอุปกรณ์เครื่องมือวัด (Instrument Signal) 

12.6 ความรู้เกี่ยวกับ P&I Diagram and Schematic Diagram

12.7 ความรู้เกี่ยวกับเครื่องพื้นฐานทั่วไป และเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการใช้เครื่องมือในการตัดแยก และถอดประกอบ  เครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า  (Analyzer)

2. ทักษะการตรวจสอบและการวิเคราะห์ความผิดปกติของ เครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer) 

3. ทักษะการปรับตั้ง (Calibrate) Sensor & Controller เครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer)

4. ทักษะการทดสอบของ Sensor & Controller เครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer) 

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

5. ทักษะการติดต่อประสานงาน

6. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

7. ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

8. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

9. ทักษะการนำเสนอผลงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการและทฤษฎี เครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer)  และ การแปลงหน่วย (Unit Conversion) 

2. การอ่าน P&I Diagram และ Schematic Diagram 

3. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของระบบ (System Process) เครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer)

4. ความรู้เกี่ยวกับสารเคมี และ Standard Reference เช่น Gas , Chemical  สำหรับการปรับตั้งเครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer)  

5. วิธีการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษา (เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ) เครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer)

6. การเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ

7. การจัดเตรียม Spart part


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ความสามารถปฏิบัติงาน) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสม (ความรู้) 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในเรื่องโครงสร้างและหลักการทำงาน รวมทั้งขั้นตอนในการบำรุงรักษา และการสรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer) แบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาเครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer) โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการบำรุงรักษาดังกล่าว

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. บำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector)

- อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องตรวจจับ (Detector) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องตรวจจับ (Detector) เช่น Gas Detector และอื่น ๆ รวมถึงการนำอุปกรณ์ไปใช้งาน ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

- ถอดประกอบเครื่องตรวจจับ (Detector) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนการถอดนำอุปกรณ์ออกจากระบบ และประกอบเครื่องตรวจจับ (Detector) ติดตั้งเข้าระบบได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย โดยไม่ทำให้อุปกรณ์ชำรุด เสียหาย และอุปกรณ์สามารถใช้งานได้ตามปกติ

- ตรวจสอบเครื่องตรวจจับ (Detector) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนวิธีการตรวจสอบเครื่องตรวจจับ (Detector) ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

- สรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและชี้แจงรายละเอียดสาเหตุของปัญหา (ถ้ามี) รวมทั้งสรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector) ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

2. บำรุงรักษา Analyzer Module

- อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer Module) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องมือวิเคราะห์การทำงานของระบบโรงไฟฟ้า (Analyzer Module) รวมถึงการนำอุปกรณ์ไปใช้งานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

- ถอดประกอบอุปกรณ์ Analyzer Module : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนการถอดนำอุปกรณ์ออกจากระบบ และประกอบอุปกรณ์ Analyzer Module ติดตั้งเข้าระบบได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย โดยไม่ทำให้อุปกรณ์ชำรุด เสียหาย และอุปกรณ์สามารถใช้งานได้ ตามปกติ

- ตรวจสอบอุปกรณ์ Analyzer Module : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนวิธีการตรวจสอบและวิธีการปรับแต่ง (Calibrate) อุปกรณ์ Analyzer Module ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

- สรุปผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ Analyzer Module : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและชี้แจงรายละเอียดสาเหตุของปัญหา (ถ้ามี) รวมทั้งสรุปผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ Analyzer Module ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector) 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector) 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector)

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องตรวจจับ (Detector) 

18.2 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษา Analyzer Module 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษา Analyzer Module  

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษา Analyzer Module

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษา Analyzer Module



ยินดีต้อนรับ