หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-VXBF-367A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

ISCO-08 3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) โดยปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลักและอุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข (CM) ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    กฎกระทรวงกำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 255010.2    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 255210.3    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีว อนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 255610.4    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.5    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 256210.6    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 256310.7    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลายและจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564 10.8    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 255210.9    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน10.10    ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-MC04-4-002-01

ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM)

1. อ่านแบบไฟฟ้า (Electrical Drawing), Schematic Diagram, แบบ P&ID, แบบเครื่องกล (Mechanical Drawing) และคู่มือประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก)  

HPG-MC04-4-002-01.01 169031
HPG-MC04-4-002-01

ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM)

2. เตรียมเครื่องมือ, Spare Part และเอกสารสำหรับการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM) 

HPG-MC04-4-002-01.02 169032
HPG-MC04-4-002-01

ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM)

3. ตรวจสอบสภาพการทำงานและความผิดปกติของอุปกรณ์เบื้องต้นพร้อมทั้งรายงานรายละเอียดงานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM)

HPG-MC04-4-002-01.03 169033
HPG-MC04-4-002-01

ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM)

4. ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM) ตามแผนที่ได้รับมอบหมาย 

HPG-MC04-4-002-01.04 169034
HPG-MC04-4-002-01

ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM)

5. รายงานผลบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM) พร้อมทั้งบันทึกในเอกสารและระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

HPG-MC04-4-002-01.05 169035
HPG-MC04-4-002-02

ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข  (CM)

1. อ่านแบบไฟฟ้า (Electrical Drawing), Schematic Diagram, แบบ P&ID, แบบเครื่องกล (Mechanical Drawing) และคู่มือประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน)  

HPG-MC04-4-002-02.01 169044
HPG-MC04-4-002-02

ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข  (CM)

2. เตรียมเครื่องมือ, Spare Part และเอกสารสำหรับการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข (CM) 

HPG-MC04-4-002-02.02 169045
HPG-MC04-4-002-02

ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข  (CM)

3. ตรวจสอบสภาพการทำงานและความผิดปกติของอุปกรณ์เบื้องต้นพร้อมทั้งรายงานรายละเอียดงานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข (CM)

HPG-MC04-4-002-02.03 169046
HPG-MC04-4-002-02

ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข  (CM)

4. ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข (CM) ตามแผนที่ได้รับมอบหมาย 

HPG-MC04-4-002-02.04 169047
HPG-MC04-4-002-02

ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข  (CM)

5. รายงานผลบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข (CM) พร้อมทั้งบันทึกในเอกสารและระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS) 

HPG-MC04-4-002-02.05 169048

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการอ่านแบบไฟฟ้า (Electrical Drawing), Schematic Diagram, แบบ P&ID, แบบเครื่องกล (Mechanical Drawing) 

2.    ทักษะการสังเกตเพื่อรวบรวมปัญหาและหาสาเหตุ ด้วยวิธีสังเกต ได้ยิน ได้กลิ่น และประสาทสัมผัส เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เป็นต้น

3.    ทักษะการตรวจสอบสภาพการทำงานและความผิดปกติของอุปกรณ์เบื้องต้น เช่น อุณหภูมิสูงของเครื่องจักร  การสั่นสะเทือนของเครื่องจักร เป็นต้น

4.    ทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง หรืออุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดหรือปืนวัดอุณหภูมิ (Infrared Thermometer)  มัลติมิเตอร์ (Multimeter)  และประแจ เป็นต้น

5.    ทักษะการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

6.    ทักษะการเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

7.    ทักษะการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

8.    ทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment : PPE) ประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection)  อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Safety Glasses)  อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection)  อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection)  และอุปกรณ์ป้องกันเท้า (Safety Footwear) 

9.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

10.    ทักษะการติดต่อประสานงาน

11.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

12.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

13.    ทักษะการรายงานผลและนำเสนอ  

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

2.    หลักการทำงาน ขั้นตอน และคู่มือประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้า (อุปกรณ์หลักและอุปกรณ์สนับสนุน) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน เช่น Standard IEEE, ANSI , IEC เป็นต้น

4.    ความรู้เกี่ยวกับงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (CM)

5.    วิธีการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

6.    หลักการอ่านรหัส Kraftwerk Kennzeichen System (KKS CODE) ของอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

7.    หลักการขั้นตอนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

8.    วิธีการใช้เครื่องมือในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้อย่างปลอดภัย

9.    คำศัพท์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้า (อุปกรณ์หลักและสนับสนุน) เชิงแก้ไข (CM)

(ก)     คำแนะนำ 

 ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษา  โดยต้องทราบถึงหลักของการดำเนินการของงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (CM)

(ข)     คำอธิบายรายละเอียด

1.    อุปกรณ์หลัก ประกอบด้วย

•    Switchyard

-     High Voltage Transformer

-     High Voltage Circuit Breaker              

-     Disconnecting Switch

-     Potential Transformer

-     Current Transformer

-     Lightning Arrester

•    Powerhouse

-     Generator System 

-     Medium Voltage Transformer 

-     Isolated Phase Bus Duct (IPB), Segregated Phase Bus Duct (SPBD), Power Cable

-     Gas Insulated Substation (GIS)

-     Medium Voltage Switchgear 

-     Low Voltage Switchgear

-     Battery / Battery Charger

-     Inverter

-     Uninterruptible Power Supply (UPS)

-     Excitation System 

-     Turbine Control System

-     Main Unit Control System 

-     Protection System

-     Electrical Measurement

-     DC/AC Motor 

-     Auxiliary Control Panel 

-     Electrical Machine Drives

-     Air Compressor

**อุปกรณ์หลัก คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่หากเกิดปัญหาจะส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำหรือความพร้อมจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Reliability) โดยตรง

2.    อุปกรณ์สนับสนุน ประกอบด้วย

-     Emergency Diesel Generator

-     Fire Protection System

-     Grounding and Lightning Protection

-     Lighting & Power Plug

-     Cathodic Protection System

-     Air Conditioning System

-     Crane and Hoist 

-     Elevator

-     Closed Circuit Television (CCTV)

-     Intercom and Telephone

-     Service Air Compressor 

**อุปกรณ์สนับสนุน คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่หากเกิดปัญหาจะไม่ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำหรือความพร้อมจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Reliability) โดยตรง

3.    เตรียมเครื่องมือ, Spare Part และเอกสาร โดยดำเนินการเตรียมเครื่องมือ เช่น เครื่องมือวัด, Consumable Part, Spare Part เป็นต้น โดยอุปกรณ์ที่เตรียมทั้งหมดจะเป็นการเตรียมตาม Work Instruction (WI) ของงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (CM) และเอกสาร เช่น ใบงาน Work Order, Lock Out Tag Out (LOTO), Work Instruction (WI), Inspection Sheet เป็นต้น ที่เกี่ยวข้องกับงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (CM)

4.    ตรวจสอบสภาพการทำงานและความผิดปกติของอุปกรณ์เบื้องต้น ความผิดปกติของอุปกรณ์เบื้องต้น เช่น มีการสั่นสะเทือนของมอเตอร์ มอเตอร์มีเสียงดัง เกิดการอาร์คที่แปรงถ่าน (Carbon brush) ของ Exciter และการ Trip ของCircuit breaker เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องตรวจสอบพื้นที่และประเมินความปลอดภัยก่อนเริ่มปฏิบัติงาน รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน

5.    รายงานรายละเอียดงานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (CM) โดยหัวหน้างานจะมอบหมายให้เข้าไปตรวจสอบเบื้องต้นก่อน จากนั้นผู้ปฏิบัติงานจะรายงานผลการตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น แล้วจึงเปิดใบงานและ Work Permit

6.    ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (CM) โดยจะดำเนินปฏิบัติงานบำรุงรักษา ทดสอบอุปกรณ์ และประสานงานกับหน่วยงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อคืนพื้นที่ปฏิบัติงาน

7.    รายงานผลบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (CM)  โดยจะรายงานผลงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (CM) ซึ่งรวมถึงระบุและรายงานปัญหากรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (CM) ได้ เช่น ไม่มี Spare Part หรือ หน่วยงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำประเมินแล้วไม่ยินยอมให้ดำเนินการซ่อม เป็นต้น ให้กับหัวหน้างาน

8.    บันทึกในเอกสารและระบบการจัดการงานบำรุงรักษา โดยหลังจากที่หัวหน้างานเห็นชอบหรืออนุมัติรายงานผลบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (CM) แล้ว จึงทำการบันทึกผลงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (CM) ในระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM)

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM)

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์หลัก) เชิงแก้ไข (CM)

18.2    เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข (CM)

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข  (CM)

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (อุปกรณ์สนับสนุน) เชิงแก้ไข  (CM)

 



ยินดีต้อนรับ