หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมงานบำรุงรักษาโยธาของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) โดยการตรวจสภาพเขื่อนของโรงไฟฟ้าพลังน้ำด้วยเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน (Dam Instrument Inspection)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-NIPJ-359A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมงานบำรุงรักษาโยธาของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) โดยการตรวจสภาพเขื่อนของโรงไฟฟ้าพลังน้ำด้วยเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน (Dam Instrument Inspection)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

ISCO-08 3112 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมโยธา

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสมารถปฏิบัติงานควบคุมงานตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน ควบคุมงานตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน ควบคุมตรวจวัดปริมาณการรั่วซึมของเขื่อน ควบคุมงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน และควบคุมงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 254710.2    มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง (มปอ.101:2561) 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-MC03-5-002-01

ควบคุมงานตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน

1. จัดทำแผนงานเก็บข้อมูลตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน 

HPG-MC03-5-002-01.01 168868
HPG-MC03-5-002-01

ควบคุมงานตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน

2. จัดทำเอกสารประกอบงานเก็บข้อมูลตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน 

HPG-MC03-5-002-01.02 168869
HPG-MC03-5-002-01

ควบคุมงานตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน

3. แก้ไขปัญหาที่เกิดระหว่างงานเก็บข้อมูลตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน 

HPG-MC03-5-002-01.03 168870
HPG-MC03-5-002-01

ควบคุมงานตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน

4. เสนอแนวทางแก้ไขความผิดปกติจากงานเก็บข้อมูลตรวจแรงดันน้ำในตัวเขื่อน

HPG-MC03-5-002-01.04 168871
HPG-MC03-5-002-01

ควบคุมงานตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน

5. สรุปรายงานผลข้อมูลตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน

HPG-MC03-5-002-01.05 168872
HPG-MC03-5-002-02

ควบคุมงานตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

1. จัดทำแผนงานเก็บข้อมูลตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-02.01 168873
HPG-MC03-5-002-02

ควบคุมงานตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

2. จัดทำเอกสารประกอบงานเก็บข้อมูลตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-02.02 168874
HPG-MC03-5-002-02

ควบคุมงานตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

3. แก้ไขปัญหาที่เกิดระหว่างงานเก็บข้อมูลตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-02.03 168875
HPG-MC03-5-002-02

ควบคุมงานตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

4. เสนอแนวทางแก้ไขความผิดปกติจากงานเก็บข้อมูลตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-02.04 168876
HPG-MC03-5-002-02

ควบคุมงานตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

5. สรุปรายงานผลข้อมูลตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-02.05 168877
HPG-MC03-5-002-03

ควบคุมงานตรวจวัดปริมาณการรั่วซึมของเขื่อน

1. จัดทำแผนงานเก็บข้อมูลตรวจวัดการรั่วซึมของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-03.01 168882
HPG-MC03-5-002-03

ควบคุมงานตรวจวัดปริมาณการรั่วซึมของเขื่อน

2. จัดทำเอกสารประกอบงานเก็บข้อมูลตรวจวัดการรั่วซึมของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-03.02 168883
HPG-MC03-5-002-03

ควบคุมงานตรวจวัดปริมาณการรั่วซึมของเขื่อน

3. แก้ไขปัญหาที่เกิดระหว่างงานเก็บข้อมูลตรวจวัดการรั่วซึมของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-03.03 168884
HPG-MC03-5-002-03

ควบคุมงานตรวจวัดปริมาณการรั่วซึมของเขื่อน

4. เสนอแนวทางแก้ไขความผิดปกติจากงานเก็บข้อมูลตรวจวัดการรั่วซึมของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-03.04 168885
HPG-MC03-5-002-03

ควบคุมงานตรวจวัดปริมาณการรั่วซึมของเขื่อน

5. สรุปรายงานผลข้อมูลตรวจวัดการรั่วซึมของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-03.05 168886
HPG-MC03-5-002-04

ควบคุมงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

1. จัดทำแผนงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-04.01 168887
HPG-MC03-5-002-04

ควบคุมงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

2. จัดทำเอกสารประกอบงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-04.02 168888
HPG-MC03-5-002-04

ควบคุมงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

3. แก้ไขปัญหาที่เกิดระหว่างงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-04.03 168889
HPG-MC03-5-002-04

ควบคุมงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

4. เสนอแนวทางแก้ไขความผิดปกติจากงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-04.04 168890
HPG-MC03-5-002-04

ควบคุมงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

5. สรุปรายงานผลงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-04.05 168891
HPG-MC03-5-002-05

ควบคุมงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

1. จัดทำแผนงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-05.01 168898
HPG-MC03-5-002-05

ควบคุมงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

2. จัดทำเอกสารประกอบงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-05.02 168899
HPG-MC03-5-002-05

ควบคุมงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

3. แก้ไขปัญหาที่เกิดระหว่างงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-05.03 168900
HPG-MC03-5-002-05

ควบคุมงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

4. เสนอแนวทางแก้ไขความผิดปกติจากงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-05.04 168901
HPG-MC03-5-002-05

ควบคุมงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

5. สรุปรายงานผลงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

HPG-MC03-5-002-05.05 168902

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการจัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยเขื่อน 

2.    ทักษะการวิเคราะห์หาสาเหตุของข้อบกพร่องจากงานตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน (Dam Instrument Inspection)

3.    ทักษะการหาแนวทางแก้ไขของข้อบกพร่องที่ตรวจพบจากงานตรวจตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน (Dam Instrument Inspection)

4.    ทักษะการรายงานสรุปการตรวจสอบเขื่อนและโรงไฟฟ้า

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

5.    ทักษะในการติดต่อประสานงาน

6.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

7.    ทักษะการนำเสนอผลงาน

8.    ทักษะการควบคุมงาน

9.    ทักษะการเป็นผู้นำ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบด้านความปลอดภัยเขื่อน

2.    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์สาเหตุของความบกพร่องของเขื่อนและโรงไฟฟ้า

3.    ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติเมื่อตรวจพบความบกพร่องของเขื่อนและโรงไฟฟ้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist  รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการบำรุงรักษาโยธาของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) โดยการตรวจสภาพเขื่อน อาคารประกอบ และอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำด้วยเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน (Dam Instrument Inspection)

(ก)     คำแนะนำ 

 N/A

(ข)     คำอธิบายรายละเอียด

1.    เขื่อนและอาคารประกอบ ประกอบด้วย ตัวเขื่อน อาคารระบายน้ำล้น (Spillway) อาคารรับน้ำ (Intake)

2.    อาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ประกอบด้วย หลังคา ผนัง พื้น และเพดาน ฐานรองรับเครื่องกลต่าง ๆและระบบระบายน้ำ

3.    เอกสารประกอบ เช่น เอกสารรายการตรวจสอบ (Check list) แบบบันทึกผลการตรวจ แบบของเขื่อน และอาคารประกอบ กระดานบอกรายละเอียดจุดตรวจ ประวัติการตรวจสอบและบำรุงรักษา และ Work Permit เป็นต้น

4.    รายการตรวจสอบ (Check list) ในการปฏิบัติงานตรวจสภาพเขื่อนและอาคารประกอบด้วยเครื่องมือ (Instrument inspection) รายละเอียดดังนี้

1)    สันเขื่อน ได่แก่ การตรวจวัดการทรุดตัว/เคลื่อนตัว และการตรวจวัดแรงดันน้ำในหลุมวัดน้ำ

2)    ลาดท้ายน้ำ ได่แก่ การตรวจวัดการทรุดตัว

3)    ไหล่เขื่อนทั้งสองด้าน ได้แก่ การตรวจวัดแรงดันน้ำในหลุมวัดน้ำ

4)    ฐานเขื่อนด้านท้ายน้ำ ได้แก่ การตรวจวัดแรงดันน้ำในหลุมวัดน้ำ

5)    อุโมงค์ผันน้ำ (River Outlet) ได้แก่ การตรวจวัดปริมาณการรั่วซึม

6)    อุโมงค์ฐานรากเขื่อน (Grouting Gallery) ได้แก่ การตรวจวัดปริมาณการรั่วซึม

5.    จำแนกความจำเป็นเร่งด่วนในการซ่อมของจุดบกพร่อง 

    จำแนกความจำเป็นเร่งด่วน ในการจำแนกความจำเป็นเร่งด่วนให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานหรือคู่มือที่หน่วยงานนั้น ๆ นำมาปฏิบัติ เช่น มาตรฐานการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน (ฝ่ายบำรุงรักษาโยธา กฟผ.) คู่มือการประเมินสภาพเขื่อนโดยวิธีดัชนีสภาพ (กรมชลประทาน) เป็นต้น

ตัวอย่าง เกณฑ์การจำแนกความจำเป็นเร่งด่วนของ กฟผ.

1)    ข้อบกพร่องที่จำเป็นต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน (Major Deficiency) รายละเอียดดังนี้

-     ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานด้านความปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบอย่างชัดเจน

-     มีผลกระทบโดยตรง ที่รุนแรงต่อความปลอดภัยของเขื่อน และอาคารประกอบ

-     เป็นข้อบกพร่องเล็กน้อยที่จำเป็นต้องแก้ไข เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันจำนวนมาก

-     ต้องดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องภายใน 24 ชั่วโมง

2)    ข้อบกพร่องเล็กน้อยที่จำเป็นต้องแก้ไข (Minor Deficiency) รายละเอียดดังนี้

-     ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานด้านความปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ

-     มีผลกระทบโดยตรงที่ไม่รุนแรงต่อความปลอดภัยของเขื่อน และอาคารประกอบ

-     ไม่เกิดขึ้นลักษณะเดียวกันเป็นจำนวนมาก

-     ต้องดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องภายใน 7 วัน

3)    ข้อแนะนำ (Suggestion) รายละเอียดดังนี้

-     ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานด้านความปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ

-     มีผลกระทบโดยอ้อมต่อความปลอดภัยของเขื่อน และอาคารประกอบ

-     เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องของบุคคล

-     เริ่มดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องภายใน 30 วัน

4)    ข้อสังเกต (Observation) รายละเอียดดังนี้

-     ไม่ใช่ข้อกำหนดของมาตรฐานด้านความปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ

-     เป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดการปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เป็นสิ่งที่เพิ่มความสะดวกสบายในการปฏิบัติงาน

-     ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องภายในระยะเวลาที่เหมาะสม



ตารางการจำแนกความจำเป็นเร่งด่วนของ กฟผ.































ระดับ ประเภทความจำเป็นเร่งด่วน ระยะเวลาการดำเนินการแก้ไข
ระดับ 1 ข้อบกพร่องที่จำเป็นต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน (Major Deficiency) ภายใน 24 ชั่วโมง
ระดับ 2 ข้อบกพร่องเล็กน้อยที่จำเป็นต้องแก้ไข (Minor Deficiency)  ภายใน 7 วัน
ระดับ 3 ข้อแนะนำ (Suggestion)  ภายใน 30 วัน
ระดับ 4 ข้อสังเกต (Observation)  ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม


6.    จุดบกพร่อง มีรายละเอียดดังนี้ 

1)    รอยแตก ได้แก่

-     รอยแตกตามยาว คือ รอยแยกที่เกิดตามความยาวบนสันเขื่อน

-     รอยแตกตามขวาง คือ รอยแยกที่เกิดในแนวเหนือน้ำ-ท้ายน้ำ

-     รอยแตกร้าว คือ การเกิดรอยหรือร่องที่มีความลึกที่ผิวองค์อาคาร

2)    การทรุดตัว คือ การเคลื่อนตัวที่ต่างกันในแนวดิ่งมีผลให้พื้นผิวเกิดระดับต่ำลง

3)    การเคลื่อนตัว คือ การเคลื่อนตัวที่เกิดขึ้นในแนวราบมีผลให้พื้นผิวเกิดการขยับไปทางเหนือน้ำหรือท้ายน้ำ

4)    การกัดเซาะ คือ กระบวนการที่ทำให้ผิวหน้าดิน หิน หลุด หรือกร่อนไปโดยตัวกลางทางธรรมชาติรวมถึงการกัดกร่อนใน คอนกรีตเสริมเหล็กและการเกิดสนิมในเหล็ก

5)    การรั่วซึม คือ การไหลของน้ำผ่านช่อง รู หรือรอยแตก ที่ไม่ได้กำหนดไว้เพื่อการระบายน้ำ

6)    การเลื่อนไถล คือการที่ลาดเขื่อนหรือลาดของฐานไม่สามารถคงสภาพของลาดไว้ได้

7)    วัชพืช คือ ไม้พุ่ม วัชพืช

8)    วัสดุลอยขวาง คือขยะ วัชพืช ขอนไม้ ฯลฯ ที่ขวางทางเดินน้ำ



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ควบคุมงานตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดแรงดันน้ำในตัวเขื่อน

18.2 เครื่องมือประเมิน ควบคุมงานตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดระดับน้ำใต้ดินของเขื่อน

18.3 เครื่องมือประเมิน ควบคุมงานตรวจวัดปริมาณการรั่วซึมของเขื่อน

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดปริมาณการรั่วซึมของเขื่อน

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดปริมาณการรั่วซึมของเขื่อน

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดปริมาณการรั่วซึมของเขื่อน

18.4 เครื่องมือประเมิน ควบคุมงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดการทรุดตัวของเขื่อน

18.5 เครื่องมือประเมิน ควบคุมงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมงานตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน



ยินดีต้อนรับ