หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันของอุปกรณ์ไฟฟ้าตามวาระ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-CCGO-437A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันของอุปกรณ์ไฟฟ้าตามวาระ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันของอุปกรณ์ไฟฟ้า

ISCO-08 3111 พนักงานประจำห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันของอุปกรณ์ไฟฟ้าตามวาระ โดยสามารถกำหนดรายการที่ใช้ในการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมัน ได้แก่ Dissolved Gas Analysis (DGA), Interfacial Tension (IFT), Power Factor, Dielectric Breakdown Voltage, Water Content, Acidity และ Color กำหนดแผนสอบเทียบและบำรุงรักษาเครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการทดสอบฉนวนน้ำมัน ควบคุมการทดสอบฉนวนน้ำมัน วิเคราะห์ผลทดสอบและให้คำแนะนำการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงควบคุมการทดสอบให้เป็นไปตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 255510.2 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 255410.3 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 10.4 มาตรฐาน ASTM D3612-02(2017) Standard Test Method for Analysis of Gases Dissolved in Electrical Insulating Oil by Gas Chromatography หรือมาตรฐาน IEC 60567:2011 Oil-filled electrical equipment - Sampling of gases and analysis of free and dissolved gases – Guidance10.5 มาตรฐาน ASTM D971-20 Standard Test Method For Interfacial Tension Of Insulating Liquids Against Water By The Ring Method หรือมาตรฐาน IEC 62961:2018 Insulating liquids - Test methods for the determination of interfacial tension of insulating liquids - Determination with the ring method10.6 มาตรฐาน ASTM D924-15 Standard Test Method for Dissipation Factor (or Power Factor) and Relative Permittivity (Dielectric Constant) of Electrical Insulating Liquids หรือมาตรฐาน IEC 60247:2004 Insulating liquids - Measurement of relative permittivity, dielectric dissipation factor (tan d) and d.c. resistivity10.7 มาตรฐาน ASTM D877/D877M-19 Standard Test Method for Dielectric Breakdown Voltage of Insulating Liquids Using Disk Electrodes หรือมาตรฐาน ASTM D1816-12(2019) Standard Test Method for Dielectric Breakdown Voltage of Insulating Liquids Using VDE Electrodes หรือมาตรฐาน IEC 60156:2018 Insulating liquids - Determination of the breakdown voltage at power frequency - Test method10.8 มาตรฐาน ASTM D1533-20 Standard Test Method for Water in Insulating Liquids by Coulometric Karl Fischer Titration หรือมาตรฐาน IEC 60814:1985 Insulating liquids - Oil-impregnated paper and pressboard - Determination of water by automatic coulometric Karl Fischer titration10.9 มาตรฐาน ASTM D664-18e2 Standard Test Method for Acid Number of Petroleum Products by Potentiometric Titration หรือมาตรฐาน IEC 62021-1:2003 Insulating liquids - Determination of acidity - Part 1: Automatic potentiometric titration10.10 มาตรฐาน ASTM D1500-12(2017) Standard Test Method for ASTM Color of Petroleum Products (ASTM Color Scale) หรือมาตรฐาน ISO 2049:1996 Petroleum products — Determination of colour (ASTM scale)10.11 มาตรฐาน IEEE Std C57.104-2019 IEEE Guide for the Interpretation of Gases Generated in Mineral Oil-Immersed Transformers10.12 มาตรฐาน IEEE Std C57.106-2015 IEEE Guide for Acceptance and Maintenance of Insulating Mineral Oil in Electrical Equipment หรือมาตรฐาน IEC 60422:2013 Mineral insulating oils in electrical equipment – Supervision and maintenance guidance10.13 อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-TC02-5-002-01

ควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

1. วางแผนสอบเทียบและบำรุงรักษาเครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

EPT-TC02-5-002-01.01 169321
EPT-TC02-5-002-01

ควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

2. กำหนดรายการที่ใช้ในการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

EPT-TC02-5-002-01.02 169322
EPT-TC02-5-002-01

ควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

3. ควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระให้เป็นไปตามที่ได้รับมอบหมาย

EPT-TC02-5-002-01.03 169323
EPT-TC02-5-002-01

ควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

4. ให้ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขระหว่างการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

EPT-TC02-5-002-01.04 169324
EPT-TC02-5-002-02

วิเคราะห์สภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

1. วิเคราะห์ผลการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

EPT-TC02-5-002-02.01 169325
EPT-TC02-5-002-02

วิเคราะห์สภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

2. เปรียบเทียบผลการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระกับค่าเกณฑ์ตามรายการที่มาตรฐานกำหนด

EPT-TC02-5-002-02.02 169326
EPT-TC02-5-002-02

วิเคราะห์สภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

3. จัดทำรายงานสรุปวิเคราะห์ผลทดสอบฉนวนน้ำมันตามวาระ และแนวทางการแก้ไข

EPT-TC02-5-002-02.03 169327

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้พื้นฐานการทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

12.2 ความรู้ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

12.3 ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

12.4 EPT-TC02-4-002 รับตัวอย่างน้ำมันของอุปกรณ์ไฟฟ้า

12.5 EPT-TC02-4-003 ทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันของอุปกรณ์ไฟฟ้าตามวาระ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

2. ทักษะการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์

3. ทักษะการเลือกใช้/การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

4. ทักษะการสื่อสาร

5. ทักษะทางการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ

6. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

7. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน

8. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

9. ทักษะการติดต่อประสานงาน

10. ทักษะการสังเกตสิ่งผิดปกติ ความผิดปกติของเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่ออันตราย ประกายไฟ

11. ทักษะการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ

2. การคำนวณผลทดสอบตามมาตรฐานการทดสอบ

3. การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบ (method validation)

4. ความรู้พื้นฐานหม้อแปลงและน้ำมันหม้อแปลง

5. วิธีการทดสอบ Dissolved Gas Analysis (DGA) ตามมาตรฐาน ASTM D3612-02(2017) Standard Test Method for Analysis of Gases Dissolved in Electrical Insulating Oil by Gas Chromatography หรือมาตรฐาน IEC 60567 Oil-filled electrical equipment - Sampling of gases and analysis of free and dissolved gases – Guidance

6. วิธีการทดสอบ Interfacial Tension (IFT) ตามมาตรฐาน ASTM D971-20 Standard Test Method For Interfacial Tension Of Insulating Liquids Against Water By The Ring Method หรือมาตรฐาน IEC 62961:2018 Insulating liquids - Test methods for the determination of interfacial tension of insulating liquids - Determination with the ring method

7. วิธีการทดสอบ Power Factor ตามมาตรฐาน ASTM D924-15 Standard Test Method for Dissipation Factor (or Power Factor) and Relative Permittivity (Dielectric Constant) of Electrical Insulating Liquids หรือมาตรฐาน IEC 60247:2004 Insulating liquids - Measurement of relative permittivity, dielectric dissipation factor (tan d) and d.c. resistivity

8. วิธีการทดสอบ Dielectric Breakdown Voltage ตามมาตรฐาน ASTM D877/D877M-19 Standard Test Method for Dielectric Breakdown Voltage of Insulating Liquids Using Disk Electrodes หรือมาตรฐาน ASTM D1816-12(2019) Standard Test Method for Dielectric Breakdown Voltage of Insulating Liquids Using VDE Electrodes หรือมาตรฐาน IEC 60156:2018 Insulating liquids - Determination of the breakdown voltage at power frequency - Test method

9. วิธีการทดสอบ Water Content ตามมาตรฐาน ASTM D1533-20 Standard Test Method for Water in Insulating Liquids by Coulometric Karl Fischer Titration หรือมาตรฐาน IEC 60814:1985 Insulating liquids - Oil-impregnated paper and pressboard - Determination of water by automatic coulometric Karl Fischer titration

10. วิธีการทดสอบ Acidity ตามมาตรฐาน ASTM D664-18e2 Standard Test Method for Acid Number of Petroleum Products by Potentiometric Titration หรือมาตรฐาน IEC 62021-1:2003 Insulating liquids - Determination of acidity - Part 1: Automatic potentiometric titration

11. วิธีการทดสอบ Color ตามมาตรฐาน ASTM D1500-12(2017) Standard Test Method for ASTM Color of Petroleum Products (ASTM Color Scale) หรือมาตรฐาน ISO 2049:1996 Petroleum products — Determination of colour (ASTM scale)

12. วิธีวิเคราะห์ผลตามมาตรฐาน IEEE Std C57.104-2019 IEEE Guide for the Interpretation of Gases Generated in Mineral Oil-Immersed Transformers หรือมาตรฐาน IEC 60599

13. วิธีวิเคราะห์ผลตามมาตรฐาน IEEE Std C57.106-2015 IEEE Guide for Acceptance and Maintenance of Insulating Mineral Oil in Electrical Equipment หรือมาตรฐาน IEC 60422:2013 Mineral insulating oils in electrical equipment – Supervision and maintenance guidance


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการควบคุมงานทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันของอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยพิจารณาจากความเข้าใจในหัวข้อทดสอบฉนวนน้ำมันแต่ละรายการ ได้แก่ Dissolved Gas Analysis (DGA), Interfacial Tension (IFT),  Power Factor, Dielectric Breakdown Voltage, Water Content, Acidity และ Color การควบคุมงานทดสอบฉนวนน้ำมันให้เป็นไปตามมาตรฐาน และการวิเคราะห์ผลทดสอบน้ำมัน พร้อมสามารถให้คำแนะนำในการบำรุงรักษาต่อไปได้

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินความสามารถในการทดสอบความรู้ Dissolved Gas Analysis (DGA), Interfacial Tension (IFT),  Power Factor, Dielectric Breakdown Voltage, Water Content, Acidity และ Color ตามมาตรฐานสากลที่ระบุ

2. ผู้เข้ารับการประเมินควรนำเครื่องคิดเลขมาใช้ในการเข้ารับการประเมิน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ ได้แก่ Gas chromatography (GC), Tensiometer, Oil tan delta tester, Oil tester, Karl Fischer titrator, Potentiometric titrator, Color tester

2. ทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ ได้แก่ Dissolved Gas Analysis (DGA), Interfacial Tension (IFT), Power Factor, Dielectric Breakdown Voltage, Water Content, Acidity และColor

3. เปรียบเทียบผลการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระกับค่าเกณฑ์ตามรายการที่มาตรฐานกำหนด โดยจะดำเนินการนำผลทดสอบแต่ละหัวข้อมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสากลของฉนวนน้ำมัน เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ผลทดสอบต่อไป

4. จัดทำรายงานสรุปวิเคราะห์ผลทดสอบฉนวนน้ำมันตามวาระ และแนวทางการแก้ไข โดยจะดำเนินการนำผลทดสอบมาจัดทำรายงาน พร้อมระบุเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการตัดสิน และแนะแนวทางในการบำรุงรักษาฉนวนน้ำมันและอุปกรณ์ไฟฟ้า ในกรณีที่ผลทดสอบน้ำมันไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

18.2 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์สภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพฉนวนน้ำมันตามวาระ



ยินดีต้อนรับ