หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมงานทดสอบให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GILY-436A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมงานทดสอบให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันของอุปกรณ์ไฟฟ้า 

ISCO-08 3111 พนักงานประจำห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถควบคุมงานทดสอบให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ โดยสามารถควบคุมการปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมีตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 255510.2 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 255410.3 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 10.4 อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-TC02-5-001-01

ควบคุมการปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1. ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎความปลอดภัยทั่วไปในห้องปฏิบัติการ

EPT-TC02-5-001-01.01 169328
EPT-TC02-5-001-01

ควบคุมการปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

2. ควบคุมการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ให้เหมาะสมกับหัวข้อทดสอบ

EPT-TC02-5-001-01.02 169329
EPT-TC02-5-001-01

ควบคุมการปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

3. วางแผนการตรวจสภาพอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และอุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

EPT-TC02-5-001-01.03 169330
EPT-TC02-5-001-02

ควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมีตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1. ควบคุมการใช้งานสารเคมีตามข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS)

EPT-TC02-5-001-02.01 169331
EPT-TC02-5-001-02

ควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมีตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

2. ควบคุมการใช้งานสารเคมีให้ตรงกับวิธีการทดสอบสภาพฉนวนน้ำมันในห้องปฏิบัติการ

EPT-TC02-5-001-02.02 169332
EPT-TC02-5-001-02

ควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมีตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

3. ดำเนินการขอใบรับรองการใช้สารเคมีตามกฎหมาย

EPT-TC02-5-001-02.03 169333
EPT-TC02-5-001-02

ควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมีตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

4. ควบคุมการกำจัดของเสียอันตรายให้เป็นไปอย่างถูกวิธีและปลอดภัย

EPT-TC02-5-001-02.04 169334

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้พื้นฐานการทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

12.4 ความรู้ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

12.3 ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

12.4 EPT-TC02-4-005 ปฏิบัติงานทดสอบตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

2. ทักษะการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์

3. ทักษะการเลือกใช้/การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

4. ทักษะการสื่อสาร

5. ทักษะทางการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ

6. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

7. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน

8. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

9. ทักษะการติดต่อประสานงาน

10. ทักษะการสังเกตสิ่งผิดปกติ ความผิดปกติของเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่ออันตราย ประกายไฟ

11. ทักษะการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และนโยบายด้านความปลอดภัยขององค์กร เช่น 

- ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

- ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

2. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามลักษะงาน

3. ความรู้เกี่ยวกับอันตราย/ความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

4. ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

5. ความรู้ในวิธีการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นกับห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

6. ความรู้ในการดูแลสุขอนามัยของตนเองในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี เช่น โรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานในห้องปฏิบัติการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการควบคุมการปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมีตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินความสามารถในการทดสอบความรู้ด้านความปลอดภัยและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในห้องปฏิบัติการ 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. กฎความปลอดภัยทั่วไปในห้องปฏิบัติการ คือ ด้านระบบการจัดการสารเคมี สัญลักษณ์บนฉลากสารเคมี ด้านลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ ด้านการแต่งกาย ด้านการปฏิบัติการ 

2. ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) โดยจะดำเนินการรวบรวมรายชื่อสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ และนำข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) จัดไว้ในห้องปฏิบัติการที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงได้ และมีการทบทวนข้อมูลแก่ผู้ปฏิบัติงานอยู่เสมอ ปฏิบัติการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธีตามสารเคมีแต่ละชนิด

3. กำจัดของเสียอันตรายอย่างถูกวิธีและปลอดภัย คือ การแยกถังทิ้งสารเคมีอันตรายโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และดำเนินการจ้างบริษัทภายนอกให้กำจัดของเสียอย่างถูกวิธี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

18.2 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมีตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมีตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมีตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมีตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ



ยินดีต้อนรับ