หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบ เครื่องจักรกลแบบหมุน (Rotating Machine) ทางไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-XNLR-421A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบ เครื่องจักรกลแบบหมุน (Rotating Machine) ทางไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงภาคสนาม คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4

ISCO-08 3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถทดสอบ เครื่องจักรกลแบบหมุน (Rotating Machine) ทางไฟฟ้า โดยสามารถจัดเตรียมเครื่องมือทดสอบและเอกสารสำหรับงานทดสอบทางไฟฟ้า และสามารถทดสอบ Generator และ Motor ทางไฟฟ้า และรวมถึงรายงานผลการทดสอบทางไฟฟ้าเบื้องต้น    

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 IEEE 43-2000 “Recommended Practice for Testing Insualtion Resistance of Rotating Machinery”10.2 IEEE 56-1997 “Guide for Insulation Maintenance of Large Alternating current rotating Machinery (10000 kVA and Larger)”10.3 IEEE 62.2-2004  “Guide for Diagnostic Field Testing of Electric Power ApparatusElectrical Machinery” 10.4 IEEE 286-2000 “Recommended Practice for Measurement of Power Factor Tip-Up of Electric Machinery Stator Coil Insulation”10.5 IEEE 1434-2014 “Measurement of Partial Discharges in Rotating Machine”10.6 IEEE 492-1999 “Guide for Operation and Maintenance of Hydro Generator”10.7 IEEE 95-2002  “Recommended Practice for Insulation Testing of AC Electric Machinery (2300 V and Above) With High Direct Voltage”10.8 IEEE 522-1992 “Guide for Testing Turn to Turn Insulation on Form-Wound Stator Coils for Alternating Current Rotating Electric Machines”10.9 IEC 600-34 “Rotationg Electrical Machines”10.10 IEC 60270 “High Voltage of Technic Partial Discharge” 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-TC01-4-009-01

ทดสอบ Generator ทางไฟฟ้า

1. อธิบายหลักการทำงานและโครงสร้างของ Generator เบื้องต้น

EPT-TC01-4-009-01.01 169574
EPT-TC01-4-009-01

ทดสอบ Generator ทางไฟฟ้า

2. จัดเตรียมเครื่องมือทดสอบและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับงานทดสอบ Generator ทางไฟฟ้า

EPT-TC01-4-009-01.02 169575
EPT-TC01-4-009-01

ทดสอบ Generator ทางไฟฟ้า

3. ทดสอบ Generator ทางไฟฟ้า

EPT-TC01-4-009-01.03 169576
EPT-TC01-4-009-01

ทดสอบ Generator ทางไฟฟ้า

4. รายงานผลการทดสอบทางไฟฟ้าเบื้องต้น ของ Generator

EPT-TC01-4-009-01.04 169577
EPT-TC01-4-009-02

ทดสอบ Motor ทางไฟฟ้า

1. อธิบายหลักการทำงานและโครงสร้างของ Motor เบื้องต้น

EPT-TC01-4-009-02.01 169579
EPT-TC01-4-009-02

ทดสอบ Motor ทางไฟฟ้า

2. จัดเตรียมเครื่องมือทดสอบและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับงานทดสอบ Motor ทางไฟฟ้า

EPT-TC01-4-009-02.02 169580
EPT-TC01-4-009-02

ทดสอบ Motor ทางไฟฟ้า

3. ทดสอบ Motor ทางไฟฟ้า

EPT-TC01-4-009-02.03 169581
EPT-TC01-4-009-02

ทดสอบ Motor ทางไฟฟ้า

4. รายงานผลการทดสอบทางไฟฟ้าเบื้องต้น ของ Motor

EPT-TC01-4-009-02.04 169582

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ทักษะความรู้ทางไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน

12.2 ทักษะการทำงานเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป

12.3 ทักษะการใช้อุปกรณ์ และเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าทั่วไป

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะจัดเตรียมเครื่องมือทดสอบและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับงานทดสอบทางไฟฟ้า

2. ทักษะการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทดสอบทางไฟฟ้า

3. ทักษะการทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นทางไฟฟ้า

4. ทักษะการรายงานผลการทดสอบทางไฟฟ้าเบื้องต้น

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

5. ทักษะการติดต่อประสานงาน

6. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

7. ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน

8. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

9. ทักษะการรายงานและนำเสนอผลงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการทำงานเบื้องต้นและโครงสร้างของเครื่องจักรกลแบบหมุน (Rotating Machine)

2. ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคของเครื่องจักรกลแบบหมุน (Rotating Machine)

3. หลักการทดสอบของเครื่องจักรกลแบบหมุน (Rotating Machine)

4. พารามิเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการบันทึกผล  การทดสอบ เครื่องจักรกลแบบหมุน (Rotating Machine)

5. คำศัพท์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน 

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน 

4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา (ถ้ามี) 

2. หลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 

3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี) 

4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการจัดเตรียมเครื่องมือทดสอบและเอกสารสำหรับงานทดสอบทางไฟฟ้า และการทดสอบ Generator และ Motor ทางไฟฟ้า และรวมถึงรายงานผลการทดสอบทางไฟฟ้าเบื้องต้น 

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. เครื่องจักรกลแบบหมุน (Rotating Machine) ประกอบด้วย 

1.1 Generator  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยมีโครงสร้างหลัก ได้แก่ Generator Stator , Generator Rotor , Stator Core และ อุปกรณ์ประกอบการทำงาน เช่น        ชุด exciter หรืออื่นๆ 

1.2 Motor เป็นอุปกรณ์ในเพื่อใช้ประกอบในระบบต่างๆในโรงไฟฟ้า โดยมีโครงสร้าง โครงสร้างหลัก ได้แก่ HV.Motor Stator , HV.Motor Rotor , Stator Core และส่วนประกอบอื่นๆ 

2. เครื่องมือทดสอบและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับงานทดสอบ Generator ทางไฟฟ้า ดังนี้ 

2.1 เครื่องมือทดสอบ ประกอบด้วย

(1) เครื่องมือทดสอบสภาพขดลวดของ Generator ทั้งในส่วน Stator และ Rotor เช่นเครื่อง Multi function, วงจรทดสอบเพื่อจ่ายแรงดัน-กระแส (Volt amp method) , เครื่องทดสอบความต้านทานของขดลวด เป็นต้น

(2) เครื่องมือทดสอบสภาพฉนวนของ Generator ทั้งในส่วน Stator Rotor เช่นเครื่อง Insulation resistance , เครื่อง Insulation Power factor , เครื่อง Multifunction, งจรทดสอบเพื่อจ่ายแรงดัน-กระแส (Volt amp method) , เครื่องมือทดสอบ High Potential Test, เครื่องมือทดสอบ Surge Comparison  เป็นต้น

(3) เครื่องมือทดสอบสภาพแกนเหล็กของ Generator Stator เช่นเครื่องมือทดสอบ EL-CID Test , ชุดทดสอบ Core Loss เป็นต้น

2.2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 

(1) ข้อมูลรายละเอียดทางเทคนิคของ Generator ที่จะทำการทดสอบ 

(2) เอกสารคู่มือการใช้งานเครื่องมือทดสอบ 

(3) แบบฟอร์มบันทึกผลการทดสอบทางไฟฟ้าของ Generator หรือแบบฟอร์ม    รายงานผลการทดสอบ 

(4) มาตรฐานการทดสอบที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบของเอกสารหรืออิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ เป็นต้น

3. ทดสอบ Generator ทางไฟฟ้า โดยจะดำเนินการ

ทดสอบทางไฟฟ้าของขดลวด Generator ทั้งในส่วน Stator และ Rotor ได้แก่ Winding Resistance Measurement, Impedance Measurement, Voltage Drop Test, Surge Comparison Test เป็นต้น

ทดสอบทางไฟฟ้าของฉนวน Generator ทั้งในส่วน Stator และ Rotor ได้แก่ Insulation Power factor Tip-Up, Insulation Resistance test, High Potential Test, Capacitance Measurement เป็นต้น

4. รายงานผลการทดสอบทางไฟฟ้าเบื้องต้น ของ Generator โดยจะดำเนินการบันทึกพารามิเตอร์ที่ได้จากเครื่องมือทดสอบโดยตรง ข้อมูลทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบทางไฟฟ้า การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และการสรุปผลการทดสอบเบื้องต้น

5. เครื่องมือทดสอบและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับงานทดสอบ Motor ทางไฟฟ้า ดังนี้ 

5.1 เครื่องมือทดสอบ ประกอบด้วย

(1) เครื่องมือทดสอบสภาพขดลวดของ Motor ทั้งในส่วน Stator และ Rotor เช่นเครื่อง Multi function, วงจรทดสอบเพื่อจ่ายแรงดัน-กระแส (Volt amp method) , เครื่องทดสอบความต้านทานของขดลวด เป็นต้น

(2) เครื่องมือทดสอบสภาพฉนวนของ Motor ทั้งในส่วน Stator Rotor เช่น เครื่อง Insulation resistance , เครื่อง Insulation Power factor , เครื่อง Multifunction, วงจรทดสอบเพื่อจ่ายแรงดัน-กระแส (Volt amp method) , เครื่องมือทดสอบ High Potential Test, เครื่องมือทดสอบ Surge Comparison เป็นต้น

(3) เครื่องมือทดสอบสภาพแกนเหล็กของ Motor Stator เช่นเครื่องมือทดสอบ    EL-CID Test, เครื่องมือทดสอบ Core Loss Test ,ชุดทดสอบ Core Loss Test เป็นต้น

5.2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

(1) ข้อมูลรายละเอียดทางเทคนิคของ Motor ที่จะทำการทดสอบ 

(2) เอกสารคู่มือการใช้งานเครื่องมือทดสอบ 

(3) แบบฟอร์มบันทึกผลการทดสอบทางไฟฟ้าของ Motor หรือแบบฟอร์ม    รายงานผลการทดสอบ 

(4) มาตรฐานการทดสอบที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบของเอกสารหรืออิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ เป็นต้น

6. ทดสอบ Motor ทางไฟฟ้า โดยจะดำเนินการ

ทดสอบทางไฟฟ้าของขดลวด Motor ทั้งในส่วน Stator และ Rotor ได้แก่ Winding Resistance Measurement, Impedance Measurement, Voltage Drop Test, Surge Comparison Test เป็นต้น

ทดสอบทางไฟฟ้าของฉนวน Motor ทั้งในส่วน Stator และ Rotor ได้แก่ Insulation Power factor Tip-Up, Insulation Resistance test, High Potential Test, Capacitance Measurement เป็นต้น

7. รายงานผลการทดสอบทางไฟฟ้าเบื้องต้น ของ Motor โดยจะดำเนินการบันทึกพารามิเตอร์ที่ได้จากเครื่องมือทดสอบโดยตรง ข้อมูลทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบทางไฟฟ้า การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และการสรุปผลการทดสอบเบื้องต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ทดสอบ Generator ทางไฟฟ้า 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมเครื่องมือทดสอบ ขั้นตอนการทดสอบ การบันทึกผลและการรายงานทดสอบผล Generator ทางไฟฟ้าเบื้องต้น

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการการจัดเตรียมเครื่องมือทดสอบ ขั้นตอนการทดสอบ การสังเกตสิ่งผิดปกติระหว่างการทดสอบ การบันทึกผลและการรายงานทดสอบผล Generator ทางไฟฟ้าเบื้องต้น 

18.2 เครื่องมือประเมิน ทดสอบ Motor ทางไฟฟ้า 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมเครื่องมือทดสอบ ขั้นตอนการทดสอบ การบันทึกผลและการรายงานทดสอบผล Motor ทางไฟฟ้าเบื้องต้น

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการการจัดเตรียมเครื่องมือทดสอบ ขั้นตอนการทดสอบ การสังเกตสิ่งผิดปกติระหว่างการทดสอบ การบันทึกผลและการรายงานทดสอบผล Motor ทางไฟฟ้าเบื้องต้น 

 



ยินดีต้อนรับ