หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาโยธาของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-IOCX-354A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาโยธาของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

ISCO-08 3112 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมโยธา

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปฏิบัติงานปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของเขื่อนและอาคารประกอบเชิงแก้ไข (CM) และปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (CM) 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    มาตรฐานการตรวจสอบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวธิีการทดสอบแบบไม่ทาลาย                   การตรวจสอบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีตรวจพินิจ (Visual inspection method)         (มยผ.1501-51)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-MC03-4-003-01

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของเขื่อนและอาคารประกอบเชิงแก้ไข (CM)

1. อ่านแบบโยธา (Civil Drawing) และคู่มือประกอบของเขื่อนและอาคารประกอบ 

HPG-MC03-4-003-01.01 168797
HPG-MC03-4-003-01

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของเขื่อนและอาคารประกอบเชิงแก้ไข (CM)

2. เตรียมเครื่องมือและเอกสารสำหรับการปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) ของเขื่อนและอาคารประกอบ

HPG-MC03-4-003-01.02 168798
HPG-MC03-4-003-01

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของเขื่อนและอาคารประกอบเชิงแก้ไข (CM)

3. ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) ของเขื่อนและอาคารประกอบ ตามแผนที่ได้รับมอบหมาย 

HPG-MC03-4-003-01.03 168799
HPG-MC03-4-003-01

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของเขื่อนและอาคารประกอบเชิงแก้ไข (CM)

4. รายงานผลการปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) ของเขื่อนและอาคารประกอบ

HPG-MC03-4-003-01.04 168800
HPG-MC03-4-003-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (CM)

1. อ่านแบบโยธา (Civil Drawing) และคู่มือประกอบของอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

HPG-MC03-4-003-02.01 168801
HPG-MC03-4-003-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (CM)

2. เตรียมเครื่องมือและเอกสารที่สำหรับการปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) ของอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-MC03-4-003-02.02 168802
HPG-MC03-4-003-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (CM)

3. ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) ของอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ตามแผนที่ได้รับมอบหมาย 

HPG-MC03-4-003-02.03 168803
HPG-MC03-4-003-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (CM)

4. รายงานผลการปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) ของอาคารโรงไฟฟ้า

HPG-MC03-4-003-02.04 168804

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการอ่านแบบโยธา

2.    ทักษะการใช้งานเครื่องมือสำหรับงานบำรุงรักษาโยธา

3.    ทักษะการเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับงานบำรุงรักษาโยธา

4.    ทักษะการการวิเคราะห์สาเหตุ (กรณีเกิดความผิดปกติ) และกำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

5.    ทักษะในการติดต่อประสานงาน

6.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

7.    ทักษะการนำเสนอผลงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการและขั้นตอนของกระบวนการการเกิดความเสียหายและการบำรุงรักษาด้านโยธา

2.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานและหลักการทางด้านโครงสร้างอาคาร

3.    ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (CM)

4.    ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหน้าที่ของเขื่อนและอาคารประกอบ

5.    ความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist  รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการบำรุงรักษาโยธาของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแก้ไข (CM)

(ก)     คำแนะนำ 

 N/A

(ข)     คำอธิบายรายละเอียด

1.    เขื่อนและอาคารประกอบ ประกอบด้วย ตัวเขื่อน อาคารระบายน้ำล้น (Spillway) และอาคารรับน้ำ (Intake)

2.    อาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ประกอบด้วยหลังคา ผนัง พื้นและเพดาน ฐานรองรับเครื่องกลต่าง ๆและระบบระบายน้ำ

3.    เตรียมเครื่องมือและเอกสารสำหรับการปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธา เขื่อนและอาคารประกอบ /อาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เชิงแก้ไข (CM) รายละเอียดดังนี้

3.1 เอกสาร เช่น Work Order, Work Permit, CM Drawing และคู่มือหรือ Catalogues ของวัสดุที่ใช้ในงานบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (CM) เป็นต้น

3.2 เครื่องมือ เช่น เครื่องมือวัด เครื่องมืองานช่าง (งานคอนกรีต งานไม้ งานเหล็ก) และวัสดุที่ใช้ในงานบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (CM) เป็นต้น

4.    ตรวจสอบสภาพพื้นที่ ประเมินความปลอดภัยและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มงาน เช่น พื้นที่อับอากาศจะต้องประสานกับหน่วยงานควบคุมความปลอดภัยทำการตรวจวัดอากาศก่อนเข้าไปปฏิบัติงาน หรือประสานงานกับหน่วยงานเดินเครื่องในการออก Work Permit เพื่อเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 

5.    ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (CM) โดยดำเนินงานตาม คู่มือ/ขั้นตอน หรือตามแบบก่อสร้างเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) ทดสอบการแก้ไข และประสานงานกับหน่วยงานเดินเครื่องเพื่อคืนพื้นที่ปฏิบัติงาน

6.    รายงานผลการบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (CM) รายงานผลการปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (CM) รวมถึงระบุและรายงานปัญหา อุปสรรคในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาเชิงแก้ไข (CM)  ใด้ให้กับหัวหน้างาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของเขื่อนและอาคารประกอบเชิงแกไข (CM)

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาโยธาเชิงแกไข (CM) 

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาโยธาเชิงแกไข (CM)

18.2 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานบำรุงรักษาโยธาของอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงแกไข (CM)

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาโยธาเชิงแกไข (CM) 

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาโยธาเชิงแกไข (CM)



ยินดีต้อนรับ