หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแผนการจัดการเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-NIHD-448A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแผนการจัดการเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงในห้องปฏิบัติการ คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5

ISCO-08 3113 พนักงานประจำห้องปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้า

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถจัดทำแผนการตรวจสอบเครื่องมือ แผนการบำรุงรักษาเครื่องมือ และแผนการสอบเทียบเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ โดยสามารถกำหนดรอบการตรวจสอบเครื่องมือ วางแผนการดำเนินงาน จัดทำข้อกำหนดด้านการบำรุงรักษาและสอบเทียบเครื่องมือ และทวนสอบผลการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัดได้อย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 มาตรฐาน Quality management systems – Requirements (ISO 9001:2015, Edition 5)10.2 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการบริหารงานคุณภาพ – ข้อกำหนด (มอก. 9001-2559) 10.3 มาตรฐาน General requirements for the competence of testing and calibration laboratories (ISO/IEC 17025:2017, Edition 3.0)10.4 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบ (มอก. 17025-2561)  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-TC01-5-002-01

จัดทำแผนการตรวจสอบเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

1. กำหนดรอบการตรวจสอบเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

EPT-TC01-5-002-01.01 169925
EPT-TC01-5-002-01

จัดทำแผนการตรวจสอบเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

2. วางแผนการตรวจสอบเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

EPT-TC01-5-002-01.02 169926
EPT-TC01-5-002-01

จัดทำแผนการตรวจสอบเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

3. ตรวจสอบระหว่างใช้งานของเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

EPT-TC01-5-002-01.03 169927
EPT-TC01-5-002-02

จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

1. กำหนดรอบการบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

EPT-TC01-5-002-02.01 169931
EPT-TC01-5-002-02

จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

2. วางแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

EPT-TC01-5-002-02.02 169932
EPT-TC01-5-002-02

จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

3. จัดทำข้อกำหนดด้านการบำรุงรักษาของเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด

EPT-TC01-5-002-02.03 169933
EPT-TC01-5-002-03

จัดทำแผนการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด

1. กำหนดรอบการสอบเทียบของเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด

EPT-TC01-5-002-03.01 169934
EPT-TC01-5-002-03

จัดทำแผนการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด

2. วางแผนการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด

EPT-TC01-5-002-03.02 169935
EPT-TC01-5-002-03

จัดทำแผนการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด

3. จัดทำข้อกำหนดด้านการสอบเทียบของเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด

EPT-TC01-5-002-03.03 169936
EPT-TC01-5-002-03

จัดทำแผนการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด

4. ทวนสอบผลสอบเทียบของเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด

EPT-TC01-5-002-03.04 169937

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการวางแผนและจัดทำแผนงาน 

2. ทักษะการประเมินสภาพเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 

3. ทักษะการสื่อสารเพื่อการติดต่อประสานงาน  

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด (Testing Equipment and Measuring Instruments)

2. ความรู้ด้านการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบ 

3. ความรู้ด้านการทวนสอบผลการสอบเทียบ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้ 

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ 

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ  

2. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ 

1. หลักฐานการศึกษา 

2. หลักฐานการอบรมในหลักสูตรด้านระบบการบริหารงานคุณภาพ ด้านการสอบเทียบเครื่องมือ ด้านการทวนสอบผลการสอบเทียบเครื่องมือ (ถ้ามี) 

3. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน 

4. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ 

(ง) วิธีการประเมิน 

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรม 

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการจัดทำแผนการตรวจสอบและแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก การจัดทำแผนการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด 

(ก) คำแนะนำ 

N/A 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด  

1. เครื่องมือทดสอบ ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงในห้องปฏิบัติการ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องมือจ่ายแรงดันไฟฟ้า เครื่องมือจ่ายกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

2. เครื่องมือวัด ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้วัดหรือใช้แสดงค่าจากการทดสอบ ยกตัวอย่างเช่น วงจรแบ่งแรงดันไฟฟ้า (Voltage Divider) วงจรแบ่งกระแสไฟฟ้า (Current Divider) มัลติมิเตอร์ (Multimeter) เป็นต้น

3. อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ประกอบด้วย เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ใช้อำนวยความสะดวกในกระบวนการทดสอบ ยกตัวอย่างเช่น ปั้นจั่น เครน รถยก เป็นต้น

4. จัดทำข้อกำหนดด้านการสอบเทียบของเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด หมายถึง การระบุรายละเอียดที่จำเป็นที่จะส่งผลต่อคุณภาพของผลการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบไว้ในร่างขอบเขตงาน (Term of Reference: TOR) ยกตัวอย่างเช่น ค่าความไม่แน่นอนของการวัด (Uncertainty of Measurement) ของหน่วยงานที่รับสอบเทียบเครื่องมือนั้นๆ จุดสอบเทียบที่ต้องการ สภาวะแวดล้อมที่ต้องใช้ในการสอบเทียบ เป็นต้น

5. ทวนสอบผลสอบเทียบของเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด หมายถึง การยืนยันโดยการตรวจสอบรายงานผลการสอบเทียบ ว่าเครื่องมือทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคที่ระบุไว้ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อระบุสถานะเครื่องมือทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง เช่น ใช้งานได้ปกติหรือยกเลิกใช้งาน เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน จัดทำแผนการตรวจสอบเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย ได้แก่ ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 

18.2 เครื่องมือประเมิน จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย ได้แก่ ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 

18.3 เครื่องมือประเมิน จัดทำแผนการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย ได้แก่ ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดทำแผนการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัด

 



ยินดีต้อนรับ