หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-DMNS-442A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงในห้องปฏิบัติการ คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4

ISCO-08 3113 พนักงานประจำห้องปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้า

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถจัดเตรียมงานก่อนการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลพิกัดและสภาพเบื้องต้นของหม้อแปลงไฟฟ้า รายการเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ สภาวะแวดล้อมและเงื่อนไขในการทดสอบได้ และสามารถทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าประเภท Routine Tests, Type Tests และ Special Tests โดยสามารถจัดเตรียมวงจรทดสอบ ปฏิบัติตามขั้นตอนการทดสอบ สังเกตสิ่งผิดปกติระหว่างการทดสอบ บันทึกผลทดสอบ และจัดทำรายงานผลทดสอบได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 มาตรฐาน Power transformers – Part 1: General (IEC 60076-1:2011, Edition 3.0) 10.2 มาตรฐาน Power transformers – Part 2: Temperature rise for liquid-immersed transformers (IEC 60076-2:2011, Edition 3.0) 10.3 มาตรฐาน Power transformers – Part 3: Insulation levels, dielectric Tests and external clearances in air (IEC 60076-3:2013, Edition 3.0)10.4 มาตรฐาน Power transformers – Part 10: Determination of sound level (IEC 60076-10:2016, Edition 3.0)10.5 มาตรฐาน Power transformers – Part 11: Dry-type transformers (IEC 60076-11:2018, Edition 3.0)10.6 มาตรฐาน Power transformers – Part 18: Measurement of frequency response (IEC 60076-18:2012, Edition 1.0)  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-TC01-4-003-01

จัดเตรียมงานก่อนการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า

1. ตรวจสอบข้อมูลพิกัดและสภาพเบื้องต้นของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ต้องการทดสอบ

EPT-TC01-4-003-01.01 169832
EPT-TC01-4-003-01

จัดเตรียมงานก่อนการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า

2. ตรวจสอบรายการเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ 

EPT-TC01-4-003-01.02 169833
EPT-TC01-4-003-01

จัดเตรียมงานก่อนการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า

3. ตรวจสอบสภาวะแวดล้อมและเงื่อนไขในการทดสอบ

EPT-TC01-4-003-01.03 169834
EPT-TC01-4-003-02

ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Routine Tests

1. จัดเตรียมวงจรทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Routine Tests 

EPT-TC01-4-003-02.01 169835
EPT-TC01-4-003-02

ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Routine Tests

2. ปฏิบัติตามขั้นตอนการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Routine Tests

EPT-TC01-4-003-02.02 169836
EPT-TC01-4-003-02

ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Routine Tests

3. บันทึกผลทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Routine Tests

EPT-TC01-4-003-02.03 169837
EPT-TC01-4-003-03

ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Type Tests

1. จัดเตรียมวงจรทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Type Tests

EPT-TC01-4-003-03.01 169841
EPT-TC01-4-003-03

ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Type Tests

2. ปฏิบัติตามขั้นตอนการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Type Tests 

EPT-TC01-4-003-03.02 169842
EPT-TC01-4-003-03

ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Type Tests

3. บันทึกผลทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Type Tests

EPT-TC01-4-003-03.03 169843
EPT-TC01-4-003-04

ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Special Tests

1. จัดเตรียมวงจรทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Special Tests 

EPT-TC01-4-003-04.01 169847
EPT-TC01-4-003-04

ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Special Tests

2. ปฏิบัติตามขั้นตอนการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Special Tests 

EPT-TC01-4-003-04.02 169848
EPT-TC01-4-003-04

ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Special Tests

3. บันทึกผลทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Special Tests


EPT-TC01-4-003-04.03 169849

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้เรื่องเครื่องจักรกลไฟฟ้า (Electrical Machines) 

12.2 ความรู้เรื่องวงจรไฟฟ้า (Electric Circuits) 

12.3 ความรู้เรื่องวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage Engineering) 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการระบุข้อมูลพิกัดและสภาพเบื้องต้นของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ต้องการทดสอบ 

2. ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือทดสอบและเครื่องมือวัดสำหรับการทดสอบ 

3. ทักษะการอ่านมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อระบุเงื่อนไขในการทดสอบ 

4. ทักษะการสังเกตสิ่งผิดปกติระหว่างการทดสอบที่อาจนำไปสู่เหตุการณ์อันตราย 

5. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น 

6. ทักษะการสื่อสารเพื่อการติดต่อประสานงานและการรายงานผล 

7. ทักษะการใช้งานโปรแกรมสำนักงานเพื่อการจัดทำรายงานผลทดสอบ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage Equipment) ของหม้อแปลงไฟฟ้า 

2. ความรู้เรื่องเทคนิคการทดสอบไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage Engineering Testing Techniques) 

3. ความรู้เรื่องเครื่องมือวัดและการวัด (Instruments and Measurements) 

4. หลักการและขั้นตอนการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Routine Tests, Type Tests และ Special Tests 

5. คำศัพท์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ 

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน 

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน 

4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม 

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ 

1. หลักฐานการศึกษา (ถ้ามี) 

2. หลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 

3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี) 

4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ 

(ง) วิธีการประเมิน 

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Routine Tests, Type Tests และ Special Tests ในห้องปฏิบัติการ

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องนำเครื่องคิดเลขมาในการเข้าสอบด้วย 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. หม้อแปลงไฟฟ้า มีขอบเขตคือ 

- หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส และ 1 เฟส รวมถึงหม้อแปลงออโต้ ที่ใช้น้ำมันเป็นฉนวน (Oil-immersed transformers) 

- หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแห้ง รวมถึงหม้อแปลงออโต้ (Dry-type transformers) 

2. รายการเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ หมายถึง 

- เครื่องมือจ่ายแรงดัน 

- เครื่องมือจ่ายกระแส 

- เครื่องมือวัด 

3. Routine Tests มีขอบเขตคือ 

- Measurement of winding resistance

- Measurement of voltage ratio and check of phase displacement

- Measurement of short-circuit impedance and load loss

- Measurement of no-load loss and current

- Dielectric routine Tests

- Check of core and frame insulation for liquid immersed transformers with core or frame insulation

- Determination of capacitances windings-to-earth and between windings

- Measurement of D.C. insulation resistance between each winding to earth and - between windings

- Measurement of dissipation factor of the insulation system capacitances

- Measurement of no-load loss and current at 90% and 110% of rated voltage 

4. Type Tests มีขอบเขตคือ 

- Temperature-rise test 

- Dielectric type Tests 

- Determination of sound levels 

5. Special Tests มีขอบเขตคือ 

- Dielectric special Tests

- Measurement of frequency response

- Ability to withstand short circuit

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน จัดเตรียมงานก่อนการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย ได้แก่ ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบข้อมูลพิกัดของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ต้องการทดสอบ รายการเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ และเงื่อนไขในการทดสอบ 

(2) การสาธิตการปฏิบัติงาน ได้แก่ ให้สาธิตการตรวจสอบข้อมูลพิกัดและสภาพเบื้องต้นของหม้อแปลงไฟฟ้า เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบตามรายการ และตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทดสอบ 

18.2 เครื่องมือประเมิน ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Routine Tests 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย ได้แก่ ทดสอบความรู้เกี่ยวกับวงจรทดสอบ ขั้นตอนการทดสอบ การบันทึกผลและการรายงานทดสอบผลหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Routine Tests 

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดเตรียมวงจรทดสอบ การปฏิบัติตามขั้นตอนการทดสอบ และการสังเกตสิ่งผิดปกติระหว่างการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Routine Tests 

18.3 เครื่องมือประเมิน ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Type Tests 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย ได้แก่ ทดสอบความรู้เกี่ยวกับวงจรทดสอบ ขั้นตอนการทดสอบ การบันทึกผลและการรายงานทดสอบผลหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Type Tests 

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดเตรียมวงจรทดสอบ การปฏิบัติตามขั้นตอนการทดสอบ และการสังเกตสิ่งผิดปกติระหว่างการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Type Tests 

18.4 เครื่องมือประเมิน ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Special Tests 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย ได้แก่ ทดสอบความรู้เกี่ยวกับวงจรทดสอบ ขั้นตอนการทดสอบ การบันทึกผลและการรายงานทดสอบผลหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Special Tests 

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดเตรียมวงจรทดสอบ การปฏิบัติตามขั้นตอนการทดสอบ และการสังเกตสิ่งผิดปกติระหว่างการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประเภท Special Tests

 



ยินดีต้อนรับ