หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) (Improvement Maintenance/Renovation)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-RYYN-414A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) (Improvement Maintenance/Renovation)

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5

ISCO-08 3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปรับปรุงระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) (Improvement Maintenance/Renovation) โดยสามารถรื้อถอนระบบป้องกันไฟฟ้า ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้า ทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้าและระบบส่งหลังปรับปรุง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย    อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.2 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-MC03-5-004-01

รื้อถอนระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

1. ถอนระบบไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

EPT-MC03-5-004-01.01 169613
EPT-MC03-5-004-01

รื้อถอนระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

2. ถอนอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

EPT-MC03-5-004-01.02 169614
EPT-MC03-5-004-01

รื้อถอนระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

3. ถอนอุปกรณ์ประกอบของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

EPT-MC03-5-004-01.03 169615
EPT-MC03-5-004-02

ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

1. ติดตั้งระบบไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

EPT-MC03-5-004-02.01 169616
EPT-MC03-5-004-02

ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

2. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

EPT-MC03-5-004-02.02 169617
EPT-MC03-5-004-02

ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

3. ติดตั้งอุปกรณ์ประกอบของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

EPT-MC03-5-004-02.03 169618
EPT-MC03-5-004-03

ทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้าหลังปรับปรุง

1. อธิบายหลักการและมาตรฐานการทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

EPT-MC03-5-004-03.01 169619
EPT-MC03-5-004-03

ทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้าหลังปรับปรุง

2. อธิบายหลักการและมาตรฐานการทดสอบอุปกรณ์ประกอบ

EPT-MC03-5-004-03.02 169620
EPT-MC03-5-004-03

ทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้าหลังปรับปรุง

3. ทดสอบการทำงานของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าตามฟังก์ชัน

EPT-MC03-5-004-03.03 169621
EPT-MC03-5-004-03

ทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้าหลังปรับปรุง

4. เสนอผลการปรับปรุงระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

EPT-MC03-5-004-03.04 169622
EPT-MC03-5-004-04

ทดสอบระบบป้องกันระบบส่งหลังปรับปรุง

1. อธิบายหลักการและมาตรฐานการทดสอบระบบป้องกันระบบส่ง

EPT-MC03-5-004-04.01 169623
EPT-MC03-5-004-04

ทดสอบระบบป้องกันระบบส่งหลังปรับปรุง

2. อธิบายหลักการและมาตรฐานการทดสอบอุปกรณ์ประกอบ

EPT-MC03-5-004-04.02 169624
EPT-MC03-5-004-04

ทดสอบระบบป้องกันระบบส่งหลังปรับปรุง

3. ทดสอบการทำงานของระบบป้องกันระบบส่งตามฟังก์ชัน

EPT-MC03-5-004-04.03 169625
EPT-MC03-5-004-04

ทดสอบระบบป้องกันระบบส่งหลังปรับปรุง

4. เสนอผลการปรับปรุงระบบป้องกันระบบส่ง

EPT-MC03-5-004-04.04 169626

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัด เช่น การจําแนกประเภทและคุณลักษณะ การวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เป็นต้น

12.2 ทฤษฎีพลังงาน เช่น หลักการเปลี่ยนรูปพลังงานไฟฟ้าและพลังงานกล

12.3 หลักการทํางานของเครื่องจักรกลไฟฟ้าชนิดหมุน เช่น โครงสร้างและหลักการทํางานของเครื่องจักรกลไฟฟ้า เครื่องจักรกลไฟฟ้าซิงโครนัสเครื่องจักรกลไฟฟ้าเหนียวนํา การป้องกันเครื่องจักรกลไฟฟ้า

12.4 ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้ากําลัง เช่น โครงสร้างของระบบไฟฟ้ากําลัง วงจรไฟฟ้ากําลังกระแสสลับ คุณลักษณะและแบบจําลองของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เป็นต้น

12.5 หลักการของการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง เซอร์กิตอินเตอร์รับเตอร์  อุปกรณ์ตัดตอนอัตโนมัติ ฟิวส์ หม้อแปลงกระแสและหม้อแปลงแรงดัน

12.6 หลักการ โครงสร้างและคุณลักษณะของรีเลย์ระบบป้องกัน

12.7 การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ ไฟฟ้า บัส หม้อแปลง สายส่ง และสายป้อน

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือพื้นฐาน (เครื่องมือช่าง และเครื่องมือวัด) และเครื่องมือพิเศษสำหรับปฏิบัติงานกับบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

2. ทักษะการตรวจสอบและการวิเคราะห์ความผิดปกติ

3. ทักษะการแก้ไขการทำงานของระบบป้องกันไฟฟ้าที่เกิดเหตุผิดปกติ

4. ทักษะการแปรผลและการวิเคราะห์ผลทดสอบ

5. ทักษะการ Calculation Setting ของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

6. ทักษะการปรับแต่ง Protective Relay Parameter Setting 

7. ทักษะการทดสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

8. ทักษะการติดต่อประสานงาน

9. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

10. ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

11. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

12. ทักษะการนำเสนอผลงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับการรื้อถอนระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

2. ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นที่ได้จากการวัดในการรื้อถอนระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) และอุปกรณ์ประกอบ

3. หลักการทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้าหลังปรับปรุงและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง

4. หลักการทดสอบระบบป้องกันระบบส่งหลังปรับปรุงและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง

5. ความรู้สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)และอุปกรณ์ประกอบ 

6. วิธีการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)และอุปกรณ์ประกอบ

7. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)และอุปกรณ์ประกอบ

8. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)และอุปกรณ์ประกอบ

9. การเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับปริญญาตรี (ถ้ามี)

3. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (ถ้ามี)

5. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

6. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ควมรู้) 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการดำเนินการตรวจสอบและทดสอบ บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือแบบพิเศษสำหรับการรื้อถอนระบบไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) การติดตั้งระบบไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) การติดตั้งอุปกรณ์ประกอบของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) มาตรฐานการทดสอบระบบป้องกันไฟฟ้าและมาตรฐานการทดสอบอุปกรณ์ประกอบ การทดสอบการทำงานของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ตามฟังก์ชั่นรวมถึงการนำเสนอผลการปรับปรุงระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)และอธิบายหลักการและมาตรฐานการทดสอบระบบป้องกันไฟฟ้า

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านปรับปรุงระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) (Improvement Maintenance/Renovation) โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการบำรุงรักษาดังกล่าว

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. รื้อถอนระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

- ถอนระบบไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจขั้นตอนและมาตรฐานในการวางแผนขั้นตอนสำหรับการรื้อถอนโครงสร้างเพื่อควบคุมความเสี่ยงจากการรื้อถอน ปลอดภัย และสามารถควบคุมความเสี่ยงต่อสุขอนามัยของชุมชนและบุคลากรที่ทำงานในการรื้อถอน รวมถึงผู้ที่อยู่ใกล้ในพื้นที่ข้างเคียงเพื่อควบคุมความเสี่ยงต่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มีเอกสารข้อกำหนดต่างๆ ที่ต้องจัดหา จัดทำเพื่อพิจารณาในความเกี่ยวข้องในการถอนระบบไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) อาทิเช่น  มาตรฐานความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน ข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน หลักการออกแบบอุปกรณ์ที่จะทำการรื้อถอน การตรวจสอบอุปกรณ์และค่า Calculation Setting เดิมที่จะถูกรื้อถอน การทดสอบ การตรวจสอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การป้องกันโครงสร้างส่วนที่ไม่ได้ถูกรื้อถอน แต่โครงสร้างนั้นอยู่ติดหรืออยู่ใกล้กับส่วนที่จะถูกรื้อถอน ป้ายเตือนภัย อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงาน การควบคุมและป้องกันอัคคีภัย การกองเก็บวัสดุอุปกรณ์ การจัดวางเครื่องจักรเครื่องมือและการขนส่ง

- ถอนอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจขั้นตอนและมาตรฐานการบริหารจัดการในการทำงานถอนอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า มีการใช้แนวทางในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร การจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยใช้แนวทางตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับมาจัดทำเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อให้นายจ้าง และผู้ปฏิบัติงานทราบถึงอันตรายและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการทำงาน การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง และให้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงาน เช่น ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ช่วยเหลือ เป็นต้น พร้อมทั้งให้บุคลากรเหล่านี้ร่วมวางแผนและกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสาหรับการปฏิบัติงาน โดยใช้แนวคิดการป้องกันและยับยั้งอันตรายจากระบบไฟฟ้าตามมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในการทำงานในการกำหนดระเบียบปฏิบัติงานเพื่อจัดการความเสี่ยง และควบคุมอันตรายตามมาตรฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน รวมไปถึงการพิจารณาเลือกใช้ระบบป้องกันภัยส่วนบุคคล การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน การตรวจสอบ การบำรุงรักษา และการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินอย่างเป็นระบบ

- ถอนอุปกรณ์ประกอบของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีการควบคุมเชิงบริหารจัดการ และนำการบริหารจัดการมาใช้ในการควบคุมร่วมกับมาตรการอื่น ๆ เช่น ระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัย การฝึกอบรม การกำหนดพื้นที่ควบคุม ระบบการขออนุญาตทำงาน การจัดระบบและลาดับของงาน ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย การบันทึก และควบคุมเอกสาร เป็นต้น

2. ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

- ติดตั้งระบบไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องศึกษาและเข้าใจระเบียบขั้นตอนปฏิบัติติดตั้งระบบไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า ด้านความปลอดภัย นายจ้าง ผู้ควบคุมงาน ผู้ปฏิบัติงาน ผู้อนุญาต ผู้ช่วยเหลือ และบุคคลที่เกี่ยวข้องในงานการทำงาน การขออนุญาตทำงาน (The Permit to Work System) ระบบการขออนุญาตทำงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า (Work at EleCTrical Permit) เป็นมาตรการที่จำเป็นในพื้นที่ที่มีอันตรายจากการทำงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่ผ่านการอบรมเข้าปฏิบัติงานเท่านั้นควรมีการปรึกษาหารือเพื่อกำหนดระเบียบปฏิบัติงานในการทำงานในประเด็นดังต่อไปนี้ เอกสารการติดตั้งจากผู้ผลิต การออกแบบ และวางแผนด้านความปลอดภัยสำหรับการทำงาน การประเมินความเสี่ยง และควบคุมความเสี่ยงในการทำงาน การกำหนดวิธีการทำงานอย่างปลอดภัย และให้มีการปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำงานที่เหมาะสม มาตรการป้องกันการถูกไฟฟ้าดูด เช่น การตรวจติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันการทำงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า การจัดเตรียมข้อมูล คำแนะนา และการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า มีแผนและขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อตอบโต้เหตุฉุกเฉินของการทำงานกับระบบไฟฟ้า นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงานต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงเพราะหากมีปัญหาทางสุขภาพหรือโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติงานและอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจคัดกรองทางสุขภาพก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

- ติดตั้งเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในการฝึกอบรมให้สำหรับผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้า เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความตระหนักต่ออันตรายของการการทำงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า มีความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานในระบบต่าง ๆ และต้องผ่านการฝึกอบรมข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าของระบบป้องกันไฟฟ้าของหน่วยงานหรือบริษัทผู้ผลิตที่ได้รับการยอมรับ

- ติดตั้งอุปกรณ์ประกอบของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และเข้าใจวิธีการจัดทำพื้นที่ควบคุม การปฏิบัติงานติดตั้งอุปกรณ์ประกอบของระบบป้องกันไฟฟ้า การกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมซึ่งเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีอันตรายจากกระแสไฟฟ้า ต้องรู้การใช้ป้ายเตือนอย่างเพียงพอเพื่อเตือนก่อนเข้าในบริเวณที่มีอันตรายจากการปฏิบัติงาน ต้องสามารถให้ข้อมูลและคำแนะนาแก่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ควบคุมและมีการดูแลอย่างเพียงพอ มิให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าในพื้นที่ควบคุม

3. ทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้าหลังปรับปรุง

- อธิบายหลักการและมาตรฐานการทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจบทบาทของอุปกรณ์ป้องกัน สามารถอธิบายพื้นฐานของรีเลย์ป้องกัน ข้อกำหนดของรีเลย์ป้องกัน โครงสร้าง และคุณลักษณะของรีเลย์ป้องกัน การคำนวณในระบบที่ลัดวงจร ขีดจำกัดของระบบป้องกัน การเลือกหม้อแปลงแรงดันสูง ระบบสายดิน การป้องกันกระแสเกินในสายส่งไฟฟ้า การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และบัสบาร์ การป้องกันแบบดิฟเฟอเรนเชียล ต้องมีความเข้าใจหลักการทดสอบฟังก์ชั่นเฉพาะ (Individual Test) สามารถทดสอบรีเลย์สำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วไปด้วยการปรับแต่งแบบสภาวะคงตัว (Steady-state Test) พร้อมปรับค่าพารามิเตอร์ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าได้ สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติ (ไม่เกิดการผิดพร่องหรือการผิดพร่องนั้นอยู่นอกขอบเขตการป้องกัน) กับสภาวะที่เกิดการผิดพร่องได้ สามารถตรวจสอบการเชื่อมต่อกับระบบการแสดงผลที่เป็นดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ สามารถทำการตรวจสอบการปรับตั้งค่าได้ สามารถฟังก์ชั่นการทำงานที่ครอบคลุมเงื่อนไขที่กำหนดได้ สามารถเข้าใจการทำงานและการโปรแกรมเป็นอย่างดี สามารถทดสอบสมรรถนะของรีเลย์ตามมาตรฐานที่กำหนดได้ อาทิเช่น  วิธีการทดสอบแบบสภาวะคงตัว (Steady-State Test) สภาวะไดนามิก (Dynamic Test) และทรานเชี้ยนท์ (Trfansient Test)

- อธิบายหลักการและมาตรฐานการทดสอบอุปกรณ์ประกอบ : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจการจัดระบบและลำดับของงานตามหลักการและมาตรฐานการทดสอบอุปกรณ์ประกอบมีความสามารถในการตรวจสอบให้มั่นใจว่า งานได้มีการจัดระบบเพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่อการทดสอบอุปกรณ์ประกอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น )   สามารถทดสอบระบบรวม ( Overall FunCTion Test ) ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ต้องทำการการทดสอบการทำงานทั้งระบบ เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าการทำงานของทั้งระบบพร้อมกันถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสัญญารวมไปถึงการตรวจสอบตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมทั้งนี้เพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า  ลดเวลาการหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้า (Plant Outage) ทำให้โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น  รวมไปถึงการให้คำปรึกษาในการวางแผนการจัดหา Spare Part  จนทำให้โรงไฟฟ้าเหล่านั้นมีให้มีความปลอดภัย (Safety) และความพร้อมจ่ายสูงขึ้น

- ทดสอบการทำงานของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าตามฟังก์ชั่น : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานในทดสอบการทำงานของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าตามฟังก์ชั่นได้อย่างถูกต้องปลอดภัย การควบคุมเชิงบริหารจัดการ ที่อธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างปลอดภัยมีความสามารถในการตรวจสอบให้มั่นใจว่า งานได้มีการจัดระบบเพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่อการทดสอบอุปกรณ์ประกอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น สามารถทดสอบระบบรวม ( Overall FunCTion Test ) ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ต้องทำการการทดสอบการทำงานทั้งระบบ เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าการทำงานของทั้งระบบพร้อมกันถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสัญญารวมไปถึงการตรวจสอบตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมทั้งนี้เพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า  ลดเวลาการหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้า (Plant  Outage) ทำให้โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

- เสนอผลการปรับปรุงระบบป้องกันโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจการบันทึก และควบคุมเอกสารการนำเสนอผลการปรับปรุงระบบป้องกันโรงไฟฟ้า สามารถจัดทำบันทึกให้ชัดเจนว่างานใดที่ใช้การปรับปรุงในพื้นที่ใด ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และให้มีการทบทวนอย่างสม่าเสมอเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานดังกล่าวได้อย่างถูกต้องชัดเจน

4. ทดสอบระบบป้องกันระบบส่งหลังปรับปรุง

- อธิบายหลักการและมาตรฐานการทดสอบระบบป้องกันระบบส่ง : ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายหลักการและมาตรฐานการทดสอบระบบป้องกันระบบส่ง สามารถอธิบายพื้นฐานของรีเลย์ป้องกัน ข้อกำหนดของรีเลย์ป้องกัน โครงสร้าง และคุณลักษณะของรีเลย์ป้องกัน การคำนวณในระบบที่ลัดวงจร ขีดจำกัดของระบบป้องกัน การเลือกหม้อแปลงแรงดันสูง ระบบสายดิน การป้องกันกระแสเกินในสายส่งไฟฟ้า การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และบัสบาร์ การป้องกันแบบดิฟเฟอเรนเชียล ต้องมีความเข้าใจหลักการทดสอบฟังก์ชั่นเฉพาะ (Individual Test) สามารถทดสอบรีเลย์สำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วไปด้วยการปรับแต่งแบบสภาวะคงตัว (Steady-state Test) พร้อมปรับค่าพารามิเตอร์ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าได้ สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติ (ไม่เกิดการผิดพร่องหรือการผิดพร่องนั้นอยู่นอกขอบเขตการป้องกัน) กับสภาวะที่เกิดการผิดพร่องได้ สามารถตรวจสอบการเชื่อมต่อกับระบบการแสดงผลที่เป็นดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ สามารถทำการตรวจสอบการปรับตั้งค่าได้ สามารถฟังก์ชั่นการทำงานที่ครอบคลุมเงื่อนไขที่กำหนดได้ สามารถเข้าใจการทำงานและการโปรแกรมเป็นอย่างดี สามารถทดสอบสมรรถนะของรีเลย์ตามมาตรฐานที่กำหนดได้ อาทิเช่น  วิธีการทดสอบแบบสภาวะคงตัว (Steady-State Test) สภาวะไดนามิก (Dynamic Test) และทรานเชี้ยนท์ (Transient Test)

- อธิบายหลักการและมาตรฐานการทดสอบอุปกรณ์ประกอบ : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจการจัดระบบและลำดับของงานตามหลักการและมาตรฐานการทดสอบอุปกรณ์ประกอบมีความสามารถในการตรวจสอบให้มั่นใจว่า งานได้มีการจัดระบบเพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่อการทดสอบอุปกรณ์ประกอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น สามารถทดสอบระบบรวม ( Overall FunCTion Test ) ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ต้องทำการการทดสอบการทำงานทั้งระบบ เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าการทำงานของทั้งระบบพร้อมกันถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสัญญารวมไปถึงการตรวจสอบตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมทั้งนี้เพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า  ลดเวลาการหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้า (Plant  Outage) ทำให้โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น  รวมไปถึงการให้คำปรึกษาในการวางแผนการจัดหา Spare Part จนทำให้โรงไฟฟ้าเหล่านั้นมีให้มีความปลอดภัย (Safety) และความพร้อมจ่ายสูงขึ้น

- ทดสอบการทำงานของระบบป้องกันระบบส่งตามฟังก์ชัน : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานในทดสอบการทำงานของระบบป้องกันระบบส่งตามฟังก์ชั่นได้อย่างถูกต้องปลอดภัย การควบคุมเชิงบริหารจัดการ ที่อธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างปลอดภัยมีความสามารถในการตรวจสอบให้มั่นใจว่า งานได้มีการจัดระบบเพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่อการทดสอบอุปกรณ์ประกอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น สามารถทดสอบระบบรวม (Overall Function Test) ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ต้องทำการการทดสอบการทำงานทั้งระบบ เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าการทำงานของทั้งระบบพร้อมกันถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสัญญารวมไปถึงการตรวจสอบตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมทั้งนี้เพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า  ลดเวลาการหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้า (Plant  Outage) ทำให้โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

- เสนอผลการปรับปรุงระบบป้องกันระบบส่ง : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจการบันทึก และควบคุมเอกสารการเสนอผลการปรับปรุงระบบป้องกันระบบส่งสามารถจัดทำบันทึกให้ชัดเจนว่างานใดที่ใช้การปรับปรุงในพื้นที่ใด ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และให้มีการทบทวนอย่างสม่าเสมอเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานดังกล่าวได้อย่างถูกต้องชัดเจน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน รื้อถอนระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการรื้อถอนระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการรื้อถอนระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการรื้อถอนระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

18.2 เครื่องมือประเมิน ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)  

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

18.3 เครื่องมือประเมิน ทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้าหลังปรับปรุง 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้าหลังปรับปรุง 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้าหลังปรับปรุง

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการทดสอบระบบป้องกันโรงไฟฟ้าหลังปรับปรุง 

18.4 เครื่องมือประเมิน ทดสอบระบบป้องกันระบบส่งหลังปรับปรุง 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทดสอบระบบป้องกันระบบส่งหลังปรับปรุง 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทดสอบระบบป้องกันระบบส่งหลังปรับปรุง

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการทดสอบระบบป้องกันระบบส่งหลังปรับปรุง

 



ยินดีต้อนรับ