หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ตามวาระ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-ZBAS-412A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ตามวาระ

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5

ISCO-08 3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ตามวาระ โดยสามารถเตรียมการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้าและระบบส่ง การตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า การตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง รวมถึงการเสนอผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย    อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.2 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-MC03-5-002-01

เตรียมการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

EPT-MC03-5-002-01.01 169665
EPT-MC03-5-002-01

เตรียมการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

2. อธิบายคุณลักษณะระบบ/อุปกรณ์ไฟฟ้าและหลักการทำงานของระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

EPT-MC03-5-002-01.02 169666
EPT-MC03-5-002-01

เตรียมการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

3. ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษในงานตรวจการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

EPT-MC03-5-002-01.03 169667
EPT-MC03-5-002-01

เตรียมการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

4. ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษในงานตรวจการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง

EPT-MC03-5-002-01.04 169668
EPT-MC03-5-002-02

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

1. อ่านแบบทางไฟฟ้า และสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ในระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

EPT-MC03-5-002-02.01 169676
EPT-MC03-5-002-02

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

2. ตรวจสอบ Electromagnetic Protective Relay ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

EPT-MC03-5-002-02.02 169677
EPT-MC03-5-002-02

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

3. ตรวจสอบ Static Protective Relay ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

EPT-MC03-5-002-02.03 169678
EPT-MC03-5-002-02

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

4. ตรวจสอบ Digital Protective Relay ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

EPT-MC03-5-002-02.04 169679
EPT-MC03-5-002-02

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

5. ทดสอบฟังก์ชันเฉพาะ (Individual Test) พร้อมปรับค่าพารามิเตอร์ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

EPT-MC03-5-002-02.05 169680
EPT-MC03-5-002-02

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

6. ทดสอบระบบรวม (Commissioning) ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

EPT-MC03-5-002-02.06 169681
EPT-MC03-5-002-03

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง

1. อ่านแบบทางไฟฟ้า และสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ในระบบป้องกันระบบส่ง

EPT-MC03-5-002-03.01 169689
EPT-MC03-5-002-03

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง

2. ตรวจสอบ Electromagnetic Protective Relay ของระบบป้องกันระบบส่ง

EPT-MC03-5-002-03.02 169690
EPT-MC03-5-002-03

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง

3. ตรวจสอบ Static Protective Relay ของระบบป้องกันระบบส่ง

EPT-MC03-5-002-03.03 169691
EPT-MC03-5-002-03

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง

4. ตรวจสอบ Digital Protective Relay ของระบบป้องกันระบบส่ง

EPT-MC03-5-002-03.04 169692
EPT-MC03-5-002-03

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง

5. ทดสอบฟังก์ชันเฉพาะ (Individual Test) พร้อมปรับค่าพารามิเตอร์ของระบบป้องกันระบบส่ง

EPT-MC03-5-002-03.05 169693
EPT-MC03-5-002-03

ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง

6. ทดสอบระบบรวม (Commissioning) ของระบบป้องกันระบบส่ง

EPT-MC03-5-002-03.06 169694
EPT-MC03-5-002-04

เสนอผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

1. วิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

EPT-MC03-5-002-04.01 169695
EPT-MC03-5-002-04

เสนอผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

2. เสนอรายงานสรุปผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) สำหรับการวางแผนบำรุงรักษา

EPT-MC03-5-002-04.02 169696
EPT-MC03-5-002-04

เสนอผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

3. ให้ข้อเสนอแนะการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

EPT-MC03-5-002-04.03 169697

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัด เช่น การจําแนกประเภทและคุณลักษณะ การวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เป็นต้น

12.2 ทฤษฎีพลังงาน เช่น หลักการเปลี่ยนรูปพลังงานไฟฟ้าและพลังงานกล

12.3 หลักการทํางานของเครื่องจักรกลไฟฟ้าชนิดหมุน เช่น โครงสร้างและหลักการทํางานของเครื่องจักรกลไฟฟ้า เครื่องจักรกลไฟฟ้าซิงโครนัสเครื่องจักรกลไฟฟ้าเหนียวนํา การป้องกันเครื่องจักรกลไฟฟ้า

12.4 ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้ากําลัง เช่น โครงสร้างของระบบไฟฟ้ากําลัง วงจรไฟฟ้ากําลังกระแสสลับ คุณลักษณะและแบบจําลองของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เป็นต้น

12.5 หลักการของการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง เซอร์กิตอินเตอร์รับเตอร์  อุปกรณ์ตัดตอนอัตโนมัติ ฟิวส์ หม้อแปลงกระแสและหม้อแปลงแรงดัน

12.6 หลักการ โครงสร้างและคุณลักษณะของรีเลย์ระบบป้องกัน

12.7 การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ ไฟฟ้า บัส หม้อแปลง สายส่ง และสายป้อน

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือพื้นฐาน (เครื่องมือช่าง และเครื่องมือวัด) และเครื่องมือพิเศษสำหรับปฏิบัติงานกับบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

2. ทักษะการตรวจสอบและการวิเคราะห์ความผิดปกติ

3. ทักษะการแก้ไขการทำงานของระบบป้องกันไฟฟ้าที่เกิดเหตุผิดปกติ

4. ทักษะการแปรผลและการวิเคราะห์ผลทดสอบ

5. ทักษะการ Calculation Setting ของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

6. ทักษะการปรับแต่ง Protective Relay Parameter Setting 

7. ทักษะการทดสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

8. ทักษะการติดต่อประสานงาน

9. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

10. ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

11. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

12. ทักษะการนำเสนอผลงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ผลการทดสอบงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

2. ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นที่ได้จากการวัดในการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)และอุปกรณ์ประกอบ

3. หลักการคำนวณพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่นการคำนวนหาค่ากระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าที่พิกัดของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง

4. ความรู้สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)และอุปกรณ์ประกอบ 

5. วิธีการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)และอุปกรณ์ประกอบ

6. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)และอุปกรณ์ประกอบ

7. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) และอุปกรณ์ประกอบ

8. การเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับปริญญาตรี (ถ้ามี)

3. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

5. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

6. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ความรู้) 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการดำเนินการตรวจสอบและทดสอบ บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือแบบพิเศษสำหรับการตรวจสอบและการทดสอบ การเตรียมการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) การตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า (Generator, Motor, Transformer, Switchgear) การตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง รวมถึงการเสนอผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) การวิเคราะห์ผลการทดสอบ และการพิจารณาส่วนชิ้นอะไหล่ (Spare Part) ที่ใช้สำหรับการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)  และอุปกรณ์ประกอบ 

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการบำรุงรักษาดังกล่าว

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. เตรียมการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

- อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง): ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจ ดังนี้

ระบบป้องกันโรงไฟฟ้า มีความรู้ความเข้าใจสาเหตุและสถิติของการเกิดความผิดพลาดของระบบไฟฟ้า บทบาทของอุปกรณ์ป้องกัน พื้นฐานของรีเลย์ป้องกัน ข้อกำหนดของรีเลย์ป้องกัน โครงสร้าง และคุณลักษณะของรีเลย์ป้องกัน การคำนวณในระบบที่ลัดวงจร ขีดจำกัดของระบบป้องกัน การเลือกหม้อแปลงแรงดันสูง ระบบสายดิน การป้องกันกระแสเกินในสายส่งไฟฟ้า การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และบัสบาร์ การป้องกันแบบดิฟเฟอเรนเชียล 

ระบบป้องกันระบบส่ง มีความรู้ความเข้าใจโครงสร้างของระบบไฟฟ้ากําลัง ระบบแบบเรเดียล หรือแบบแขนง และระบบแบบโครงข่าย การจัดวางบัสในสถานีไฟฟ้าย่อย สาเหตุและสถิติการเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า ค่ากระแสลัดวงจรในระบบไฟฟ้ากำลัง

- อธิบายคุณลักษณะระบบ/อุปกรณ์ไฟฟ้าและหลักการทำงานของระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในระบบความปลอดภัยที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบป้องกันโรงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในเหตุผลที่ระบบไฟฟ้าต้องมีความมั่นคงมีประสิทธิภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ ราคาประหยัดเหมาะสมตามหลักเศรษฐศาสตร์และผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม โดยเป็นระบบที่เป็นที่ยอมรับของสังคมท้องถิ่น และมีความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันระบบไฟฟ้าจากความผิดพลาดผ่านการตัดการเชื่อมต่อของชิ้นส่วนที่ผิดพลาดออกจากส่วนที่เหลือของเครือข่ายไฟฟ้า เข้าใจความหมายและคุณลักษณะของการป้องกันที่กล่าวถึงการป้องกันเพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพโดยแยกเฉพาะส่วนประกอบที่ผิดปกติออกจากเครือข่ายให้มากที่สุดมีความเข้าใจในการทำงานของระบบป้องกันที่เชื่อถือได้ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย

- ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษในงานตรวจการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีการใช้เครื่องมือความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติรวมถึงตระหนักในอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือในการทำงาน รู้ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ต้องมีอันเนื่องจากสภาพการทำงาน เลือกเครื่องมือให้เหมาะกับสถานที่และวิธีเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ในการทำงานที่ความปลอดภัย มีทักษะในการดำเนินการและการสื่อสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้า

- ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษในงานตรวจการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีการใช้เครื่องมือความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติรวมถึงตระหนักในอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือในการทำงาน รู้ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ต้องมีอันเนื่องจากสภาพการทำงาน เลือกเครื่องมือให้เหมาะกับสถานที่และวิธีเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ในการทำงานที่ความปลอดภัย มีทักษะในการดำเนินการและการสื่อสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้า

2. ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

- อ่านแบบทางไฟฟ้า และสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ในระบบป้องกันโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจและปฏิบัติเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบไฟฟ้าตามมาตรฐานสากล เขียนแบบงานในระบบไฟฟ้าและไฟฟ้ากำลัง เขียนแบบงานควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้าและอุปกรณ์ภายในโรงไฟฟ้า เขียนแบบวงจร One line Diagram, Schematic Diagram, Working Diagram Design Diagram Shop Diagram และ Asbuilt Diagram

- ตรวจสอบ Electromagnetic Protective Relay ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีเข้าใจหลักการทำงานรีเลย์ชนิดสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติ (ไม่เกิดการผิดพร่องหรือการผิดพร่องนั้นอยู่นอกขอบเขตการป้องกัน) กับสภาวะที่เกิดการผิดพร่องได้ มีความเข้าใจการใช้หลักการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กจากการไหลของกระแสไฟฟ้าและสามารถตรวจสอบ Electromagnetic Protective Relay ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

- ตรวจสอบ Static Protective Relay ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีเข้าใจหลักการทำงานรีเลย์ชนิดอิเล็กทรอนิกส์หรือแบบโซลิดสเตท ซึ่งใช้เทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ในการทำงานของรีเลย์และสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติ (ไม่เกิดการผิดพร่องหรือการผิดพร่องนั้นอยู่นอกขอบเขตการป้องกัน) กับสภาวะที่เกิดการผิดพร่องได้ นอกจากนี้ต้องสามารถตรวจสอบชุดจ่ายไฟที่เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์

- ตรวจสอบ Digital Protective Relay ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีเข้าใจหลักการทำงานรีเลย์ชนิด Digital Protective Relay สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติ (ไม่เกิดการผิดพร่องหรือการผิดพร่องนั้นอยู่นอกขอบเขตการป้องกัน) กับสภาวะที่เกิดการผิดพร่องได้ สามารถตรวจสอบการเชื่อมต่อกับระบบการแสดงผลที่เป็นดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ สามารถทำการตรวจสอบการปรับตั้งค่าได้ สามารถฟังก์ชั่นการทำงานที่ครอบคลุมเงื่อนไขที่กำหนดได้ สามารถเข้าใจการทำงานและการโปรแกรมเป็นอย่างดี 

- ทดสอบฟังก์ชันเฉพาะ (Individual Test) พร้อมปรับค่าพารามิเตอร์ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีเข้าใจหลักการทดสอบฟังก์ชั่นเฉพาะ (Individual Test) สามารถทดสอบรีเลย์สำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วไปด้วยการปรับแต่งแบบสภาวะคงตัว (Steady-state Test) พร้อมปรับค่าพารามิเตอร์ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าได้ สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติ (ไม่เกิดการผิดพร่องหรือการผิดพร่องนั้นอยู่นอกขอบเขตการป้องกัน) กับสภาวะที่เกิดการผิดพร่องได้ สามารถตรวจสอบการเชื่อมต่อกับระบบการแสดงผลที่เป็นดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ สามารถทำการตรวจสอบการปรับตั้งค่าได้ สามารถฟังก์ชั่นการทำงานที่ครอบคลุมเงื่อนไขที่กำหนดได้ สามารถเข้าใจการทำงานและการโปรแกรมเป็นอย่างดี สามารถทดสอบสมรรถนะของรีเลย์ตามมาตรฐานที่กำหนดได้ อาทิเช่น  วิธีการทดสอบแบบสภาวะคงตัว (Steady-State Test) สภาวะไดนามิก (Dynamic Test) และทรานเชี้ยนท์ (Transient Test)

- ทดสอบระบบรวม (Commissioning) ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องการทดสอบการทำงานทั้งระบบ เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าการทำงานของทั้งระบบพร้อมกันถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสัญญารวมไปถึงการตรวจสอบตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมทั้งนี้เพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า ลดเวลาการหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้า (Plant  Outage) ทำให้โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมไปถึงการให้คำปรึกษาในการวางแผนการจัดหา Spare Part จนทำให้โรงไฟฟ้าเหล่านั้นมีให้มีความปลอดภัย (Safety) และความพร้อมจ่ายสูงขึ้น

3. ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง

- อ่านแบบทางไฟฟ้า และสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ในระบบป้องกันระบบส่ง : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจและปฏิบัติเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบไฟฟ้าตามมาตรฐานสากล เขียนแบบงานในระบบไฟฟ้าและไฟฟ้ากำลัง เขียนแบบงานควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้าและอุปกรณ์ภายในโรงไฟฟ้า เขียนแบบวงจร One line Diagram, Schematic Diagram, Working Diagram Design Diagram Shop Diagram และ Asbuilt Diagram

- ตรวจสอบ Electromagnetic Protective Relay ของระบบป้องกันระบบส่ง : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีเข้าใจหลักการทำงานรีเลย์ของระบบป้องกันระบบส่งชนิดสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติ (ไม่เกิดการผิดพร่องหรือการผิดพร่องนั้นอยู่นอกขอบเขตการป้องกัน) กับสภาวะที่เกิดการผิดพร่องได้ มีความเข้าใจการใช้หลักการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กจากการไหลของกระแสไฟฟ้าและสามารถตรวจสอบ Electromagnetic Protective Relay ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

- ตรวจสอบ Static Protective Relay ของระบบป้องกันระบบส่ง : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีเข้าใจหลักการทำงานรีเลย์ชนิดอิเล็กทรอนิกส์หรือแบบโซลิดสเตทของระบบป้องกันระบบส่ง ซึ่งใช้เทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ในการทำงานของรีเลย์และสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติ (ไม่เกิดการผิดพร่องหรือการผิดพร่องนั้นอยู่นอกขอบเขตการป้องกัน) กับสภาวะที่เกิดการผิดพร่องได้ นอกจากนี้ต้องสามารถตรวจสอบชุดจ่ายไฟที่เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 

- ตรวจสอบ Digital Protective Relay ของระบบป้องกันระบบส่ง : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีเข้าใจหลักการทำงานรีเลย์ชนิด Digital Protective Relay ของระบบป้องกันระบบส่งสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติ (ไม่เกิดการผิดพร่องหรือการผิดพร่องนั้นอยู่นอกขอบเขตการป้องกัน) กับสภาวะที่เกิดการผิดพร่องได้ สามารถตรวจสอบการเชื่อมต่อกับระบบการแสดงผลที่เป็นดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ สามารถทำการตรวจสอบการปรับตั้งค่าได้ สามารถฟังก์ชั่นการทำงานที่ครอบคลุมเงื่อนไขที่กำหนดได้ สามารถเข้าใจการทำงานและการโปรแกรมเป็นอย่างดี

- ทดสอบฟังก์ชันเฉพาะ (Individual Test) พร้อมปรับค่าพารามิเตอร์ของระบบป้องกันระบบส่ง : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีเข้าใจหลักการทดสอบฟังก์ชั่นเฉพาะ (Individual Test)ของระบบป้องกันระบบส่ง สามารถทดสอบรีเลย์สำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วไปด้วยการปรับแต่งแบบสภาวะคงตัว (Steady-state Test) พร้อมปรับค่าพารามิเตอร์ของระบบป้องกันโรงไฟฟ้าได้ สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะการทำงานปกติ (ไม่เกิดการผิดพร่องหรือการผิดพร่องนั้นอยู่นอกขอบเขตการป้องกัน) กับสภาวะที่เกิดการผิดพร่องได้ สามารถตรวจสอบการเชื่อมต่อกับระบบการแสดงผลที่เป็นดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ สามารถทำการตรวจสอบการปรับตั้งค่าได้ สามารถฟังก์ชั่นการทำงานที่ครอบคลุมเงื่อนไขที่กำหนดได้ สามารถเข้าใจการทำงานและการโปรแกรมเป็นอย่างดี สามารถทดสอบสมรรถนะของรีเลย์ตามมาตรฐานที่กำหนดได้ อาทิเช่น  วิธีการทดสอบแบบสภาวะคงตัว (Steady-State Test) สภาวะไดนามิก (Dynamic Test) และทรานเชี้ยนท์ (Transient Test)   

- ทดสอบระบบรวม (Commissioning) ของระบบป้องกันระบบส่ง : ผู้เข้ารับการประเมินต้องการทดสอบการทำงานทั้งระบบของระบบป้องกันระบบส่ง เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าการทำงานของทั้งระบบพร้อมกันถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสัญญารวมไปถึงการตรวจสอบตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมทั้งนี้เพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า  ลดเวลาการหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้า (Plant  Outage) ทำให้โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น  รวมไปถึงการให้คำปรึกษาในการวางแผนการจัดหา Spare Part  จนทำให้โรงไฟฟ้าเหล่านั้นมีให้มีความปลอดภัย (Safety) และความพร้อมจ่ายสูงขึ้น

4. เสนอผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

- วิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ตั้งแต่ระบบไฟฟ้าแรงต่ำไปสู่ระบบไฟฟ้าแรงสูงอาทิเช่น สถานีไฟฟ้าย่อย (กรณีโรงงานมีสถานีไฟฟ้าย่อย) ซึ่งประกอบด้วย Circuit Breaker, Current Transformer, Potential Transformer, Air Break Switch และจุดต่อต่างๆ ชุด Metering ของ กฟภ. หรือ กฟน. หรือ IPP และ SPP สวิตซ์ตัดตอนแรงสูง (LBS) และ Ring Main Unitหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Drop Out Fuse และ Lightning Arrestor และจุดต่อต่างๆ) Main Distribution Board ซึ่งประกอบด้วย Air Circuit Breaker, Current Transformer ,Mold Case Circuit Breaker, HRC Fuse, Busbar, Magnetic ContaCTor และ อื่นๆ Distribution Board ซึ่งประกอบด้วย Mold Case Circuit Breaker, Current Transformer , Busbar และ อื่นๆLoad Center ซึ่งประกอบด้วย Miniature Circuit Breaker, Busbar, จุดต่อสายไฟฟ้า และ อื่นๆ

- เสนอรายงานสรุปผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) สำหรับการวางแผนบำรุงรักษา : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถเสนอรายงานสรุปผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ให้มีความต่อเนื่องและในกรณีที่โรงไฟฟ้าและระบบส่งมีหลายอาคารและหลายอุปกรณ์ต้องสามารถทำรายงานการตรวจสอบครบทุกอุปกรณ์เพื่อป้องกันความสับสนในการทำรายงาน และสามารถตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่กล่าวข้างต้นได้ตั้งแต่ระบบไฟฟ้าแรงต่ำไปสู่ระบบไฟฟ้าแรงสูงอาทิเช่น สถานีไฟฟ้าย่อย (กรณีโรงงานมีสถานีไฟฟ้าย่อย) ซึ่งประกอบด้วย Circuit Breaker, Current Transformer, Potential Transformer, Air Break Switchและจุดต่อต่างๆ ชุด Metering ของ กฟภ. หรือ กฟน. หรือ IPP และ SPP สวิตซ์ตัดตอนแรงสูง (LBS) และ Ring Main Unitหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Drop Out Fuse และ Lightning Arrestor และจุดต่อต่างๆ) Main Distribution Board ซึ่งประกอบด้วย Air Circuit Breaker, CT ,Mold Case Circuit Breaker, HRC Fuse, Busbar, Magnetic ContaCTor และ อื่นๆ Distribution Board ซึ่งประกอบด้วย Mold Case Circuit Breaker, Current Transformer , Busbar และ อื่นๆLoad Center ซึ่งประกอบด้วย Miniature Circuit Breaker, Busbar, จุดต่อสายไฟฟ้า และ อื่นๆ

- ให้ข้อเสนอแนะการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถให้ข้อเสนอแนะการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ได้ตั้งแต่ระบบไฟฟ้าแรงต่ำไปสู่ระบบไฟฟ้าแรงสูงอาทิเช่น สถานีไฟฟ้าย่อย (กรณีโรงงานมีสถานีไฟฟ้าย่อย)ซึ่งประกอบด้วย Circuit Breaker, Current Transformer, Potential Transformer, Air Break Switchและจุดต่อต่างๆ ชุด Metering ของ กฟภ. หรือ กฟน. หรือ IPP และ SPP สวิตซ์ตัดตอนแรงสูง (LBS) และ Ring Main Unitหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Drop Out Fuse และ Lightning Arrestor และจุดต่อต่างๆ) Main Distribution Board ซึ่งประกอบด้วย Air Circuit Breaker, Current Transformer ,Mold Case Circuit Breaker, HRC Fuse, Busbar, Magnetic ContaCTor และ อื่นๆ Distribution Board ซึ่งประกอบด้วย Mold Case Circuit Breaker, Current Transformer , Busbar และ อื่นๆ Load Center ซึ่งประกอบด้วย Miniature Circuit Breaker, Busbar, จุดต่อสายไฟฟ้า และ อื่นๆ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน เตรียมการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเตรียมการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเตรียมการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเตรียมการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันโรงไฟฟ้า 

18.3 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบการทำงานระบบป้องกันระบบส่ง 

18.4 เครื่องมือประเมิน เสนอผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเสนอผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเสนอผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเสนอผลการตรวจสอบระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

 



ยินดีต้อนรับ