หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-OEHW-411A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5

ISCO-08 3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) โดยสามารถบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) และบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้าตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย    อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.2 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PT-MC03-5-001-01

บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้า

PT-MC03-5-001-01.01 169698
PT-MC03-5-001-01

บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

2. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานกับระบบไฟฟ้าสำหรับงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

PT-MC03-5-001-01.02 169699
PT-MC03-5-001-01

บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้าด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

PT-MC03-5-001-01.03 169700
PT-MC03-5-001-01

บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

4. หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

PT-MC03-5-001-01.04 169701
PT-MC03-5-001-02

บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้าตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานตามหลักการยศาสตร์พื้นฐาน

PT-MC03-5-001-02.01 169702
PT-MC03-5-001-02

บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้าตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

2. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานสำหรับงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

PT-MC03-5-001-02.02 169703
PT-MC03-5-001-02

บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้าตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

PT-MC03-5-001-02.03 169704
PT-MC03-5-001-02

บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้าตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

4. หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ที่เกี่ยวกับงานที่ตามหลักการยศาสตร์พื้นฐาน

PT-MC03-5-001-02.04 169705

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นรวมถึงอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลจากไฟฟ้า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

2. ทักษะการหาปัจจัยความเสี่ยงในงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

3. ทักษะการติดต่อประสานงาน

4. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

5. ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

6. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

7. ทักษะการนำเสนอผลงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้า

2. ขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติการทำงานตามหลักการยศาสตร์

3. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) เช่น การทำงานกับระบบไฟฟ้า การทำงานตามหลักการยศาสตร์

4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษในงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) เช่น การทำงานกับระบบไฟฟ้า การทำงานตามหลักการยศาสตร์

5. ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงาจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ความสามารถปฏิบัติงาน)

4. หลักฐานการผ่านการอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 (ต้องมี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา 

2. ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับปริญญาตรี (ถ้ามี)

3. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี) 

5. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

6. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสม (ความรู้) 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานกับระบบไฟฟ้าสำหรับงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) อีกทั้งยังสามารถใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้าด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) รวมถึงหาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการบำรุงรักษาดังกล่าว

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

- อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้า : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับระบบไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความระมัดระวังและให้ความสนใจกับความปลอดภัยในงานที่ปฏิบัติ มีความตระหนักในงานที่มีอันตรายจากไฟฟ้าอยู่โดยรอบในพื้นที่ทำงาน เข้าใจวิธีปฏิบัติงานหรือข้อกำหนดการทำงานของสถานประกอบการอย่างชัดเจนและปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของงานที่ทำอยู่ มีความเข้าใจในความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงเหตุผลที่ต้องปฏิบัติ และต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยที่จำเป็น สำหรับการทำงานแต่ละอย่างที่เกี่ยวข้อง

- ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานกับระบบไฟฟ้าสำหรับงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการทำงาน ต้องมีข้อกำหนดการทำงานที่ชัดเจน มีการทบทวนและปรับปรุงข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย เช่น ปีละครั้ง มีการตั้งคำถาม-คำตอบที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยในการทำงานกับระบบไฟฟ้า มีการสนับสนุนการซักถาม และมีคำตอบจากผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างเหมาะสม รวดเร็ว และขยายความอย่างชัดเจน ต้องไม่ตอบคำถามใด ๆ ที่ไม่มีความรู้หรือไม่ทราบ แน่ชัด

- ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้าด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องใช้เครื่องมือความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติรวมถึงตระหนักในอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือในการทำงาน รู้ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ต้องมีอันเนื่องจากสภาพการทำงาน เลือกเครื่องมือให้เหมาะกับสถานที่และวิธีเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ในการทำงานที่ความปลอดภัย มีทักษะในการดำเนินการและการสื่อสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้า

- หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า  : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจข้อกำหนดการทำงานที่ต้องปฏิบัติเมื่อต้องทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าต่อเนื่องที่เกี่ยวกับระบบป้องกันไฟฟ้า และมีความเข้าใจในนโยบายงานอื่นที่แทรกอยู่ระหว่างพื้นที่ทำงาน  งานอื่นที่เกี่ยวข้องกับวงจรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเดียวกัน เข้าใจวิธึการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง การสรุปงานก่อนปฏิบัติงานควรจะเป็นการมองไปข้างหน้า หรือการคาดการณ์ เป็นการทดสอบ พนักงานอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานเข้าใจเรื่องของความปลอดภัยที่ตัวเองเกี่ยวข้อง

2. บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้าตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

- อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานตามหลักการยศาสตร์พื้นฐาน : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และเข้าใจในขั้นตอนของการทำงาน โดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงงานหรือสภาวะของงานให้เข้ากับแต่ละบุคคลระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรและเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกในการทำงานที่มีองค์ประกอบทั้งลักษณะท่าทางในการทำงานและขนาดรูปร่างของผู้ปฏิบัติงานให้มีลักษณะท่าทางการทำงาน ในการทำงานโดยทั่วไปที่มั่นคงและสบายไม่ขัดหรือฝืนไปในทางที่ไม่ปกติ โดยเฉพาะขณะที่มีการออกแรงในระหว่างปฏิบัติงาน

- ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานสำหรับงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการทำงานตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานสำหรับงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า ต้องมีข้อกำหนดการทำงานตามหลักหลักการยศาสตร์พื้นฐานที่ชัดเจน มีการทบทวนและปรับปรุงข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย เช่น ปีละครั้ง มีการตั้งคำถาม-คำตอบที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยในการทำงานกับระบบไฟฟ้า มีการสนับสนุนการซักถาม และมีคำตอบจากผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างเหมาะสม รวดเร็ว และขยายความอย่างชัดเจนในเนื้อหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานและให้ความสำคัญของการปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในลักษณะท่าทางที่เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละลักษณะงาน ได้แก่การยืนทำงานบนพื้นที่มีความคงที่และมั่นคง ลักษณะท่าทางการทำงานของร่างกายที่ดี ลักษณะท่าทางการทำงานจะต้องสัมพันธ์กับการมองเห็นของ สายตา เป็นต้น

- ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) : เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจในเครื่องมือและอุปกรณ์ควบคุมเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพของการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตตามต้องการ มีการออกแบบและเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีความเหมาะสม ได้รับการออกแบบตามหลักการยศาสตร์ อาทิเช่น ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพควรเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการออกแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น บริเวณหัวไหล่ แขน ขา มากกว่าการ ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณข้อมือ และนิ้วมือ หลีกเลี่ยงการหยิบจับเครื่องมืออุปกรณ์ในท่าทางที่ต้องเอี้ยว บิดหรือ งอข้อมือ รวมทั้งการถือยกเครื่องมืออุปกรณ์เป็นเวลานานๆ เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีด้ามจับยาวพอเหมาะกับการใช้งาน เพื่อช่วยลดแรงกดทับของฝ่ามือและนิ้วมือ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีช่องว่างระหว่างด้ามจับ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุบริเวณนิ้วมือขึ้นระหว่างการทำงานได้ เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้ถนัดทั้งมือซ้ายและมือขวา ด้ามจับควรมีฉนวนกันไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีไม่มีแง่มุมที่แหลมคม และมีวัสดุกันลื่นหุ้มด้ามจับด้วย เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีน้ำหนักสมดุลเสมอกันและใช้ในตำแหน่งที่เหมาะสม มีการดูแลบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกต้องเหมาะสม

- หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) ที่เกี่ยวกับงานที่ตามหลักการยศาสตร์พื้นฐาน : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจในลักษณะงานที่ปฏิบัติเพื่อนำมาประเมินความเสี่ยงงานบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้า และสถานที่ทำงานเพื่อพิจารณาถึงขนาดและลักษณะโครงสร้างร่างกายของคนเข้ามาประกอบ พิจารณาความแตกต่างกันของบุคคลในแต่ละเชื้อชาติ เพื่อให้การทำงานนั้นเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีการออกแบบงาน และบริเวณสถานที่ทำงานให้มีความเหมาะสม มีการตรวจสอบด้านจิตวิทยาการยศาสตร์ เพื่อให้เหมาะสมในการปฏิบัติงานตามขนาดของเครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักรให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับขนาดรูปร่างและท่าทางในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน มีการสำรวจเพื่อการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และหาแนวทางในการแก้ไข โดยการใช้แบบสำรวจในการประเมินความเสี่ยง (Risk Checklist) โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คณะกรรมการความปลอดภัยของหน่วยงาน หรือพนักงานตรวจแรงงานจากหน่วยงานราชการ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

18.2 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้าตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้าตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้าตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง)

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบป้องกันไฟฟ้าตามหลักการยศาสตร์พื้นฐานตามหลักความปลอดภัย (โรงไฟฟ้าและระบบส่ง) 

 



ยินดีต้อนรับ