หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-OWRQ-402A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5

ISCO-08 3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) โดยจะควบคุมการเตรียมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน ควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน และวิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
10.1 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 255510.2 กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.3 กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 255110.4 กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 255210.5 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือกลวดสลิงและรอก  พ.ศ. 2553 10.6 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553 10.7 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 10.8 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทํางานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจําปี พ.ศ. 2554 10.9 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 255410.10 มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (มปอ.402:2561)10.11 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย 255510.12 มาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล กระทรวงแรงงาน10.13 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-MC02-5-002-01

ควบคุมการเตรียมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

1. เตรียมเครื่องมือ Spare part และเอกสารสำหรับปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

EPT-MC02-5-002-01.01 169729
EPT-MC02-5-002-01

ควบคุมการเตรียมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

2. ควบคุมการตรวจสอบสภาพและความพร้อมของการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ 

EPT-MC02-5-002-01.02 169730
EPT-MC02-5-002-01

ควบคุมการเตรียมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

3. แจ้งผู้ปฏิบัติงานให้ปรับปรุงการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเพื่อลดความเสี่ยง

EPT-MC02-5-002-01.03 169731
EPT-MC02-5-002-01

ควบคุมการเตรียมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

4. ควบคุมปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

EPT-MC02-5-002-01.04 169732
EPT-MC02-5-002-02

ควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

1. อธิบายโครงสร้าง และ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของคู่มือการใช้งาน (Instruction Manual) อุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-MC02-5-002-02.01 169733
EPT-MC02-5-002-02

ควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

2. อ่านแบบทางไฟฟ้าและสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

EPT-MC02-5-002-02.02 169734
EPT-MC02-5-002-02

ควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

3. ควบคุมการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

EPT-MC02-5-002-02.03 169735
EPT-MC02-5-002-02

ควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

4. ควบคุมการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

EPT-MC02-5-002-02.04 169736
EPT-MC02-5-002-02

ควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

5. แก้ไขปัญหาที่เกิดระหว่างงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

EPT-MC02-5-002-02.05 169737
EPT-MC02-5-002-02

ควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

6. ควบคุมการทดสอบฟังก์ชั่น (Function Test) อุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-MC02-5-002-02.06 169738
EPT-MC02-5-002-03

วิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

1. ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

EPT-MC02-5-002-03.01 169739
EPT-MC02-5-002-03

วิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

2. วิเคราะห์สรุปข้อมูลผลการบำรุงรักษา อุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

EPT-MC02-5-002-03.02 169740
EPT-MC02-5-002-03

วิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

3. เสนอแนวทางแก้ไขหลังการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

EPT-MC02-5-002-03.03 169741

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการวิเคราะห์สาเหตุ (กรณีเกิดความผิดปกติ) และกําหนดแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง เช่น อุณหภูมิสูงผิดปกติ เสียงผิดปกติ เป็นต้น

2. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน

3. ทักษะการบริหารจัดการและวางแผนการทํางาน (ระยะเวลา กําลังคน อะไหล่ ฯลฯ) สําหรับงานบำรุงรักษา

4. ทักษะการบํารุงรักษาอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง

5. ทักษะการเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือสําหรับงานบํารุงรักษาอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง

6. ทักษะการอ่านแบบไฟฟ้า

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

7. ทักษะการติดต่อประสานงาน

8. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

9. ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

10. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

11. ทักษะการนำเสนอผลงาน

12. ทักษะการควบคุมงาน

13. ทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation) 

14. ทักษะความเป็นผู้นํา (Leadership)

15. ทักษะการให้คําปรึกษา สามารถให้คําปรึกษากับผู้ร่วมงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

2. หลักการทํางานของอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง (อุปกรณ์หลักและอุปกรณ์สนับสนุน) 

3. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในงานบํารุงรักษาระหว่างปฏิบัติงาน

4. วิธีการใช้เครื่องมือในงานบํารุงรักษา

5. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบทางไฟฟ้า

6. การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการบริหารงานซ่อมบํารุงและควบคุมอุปกรณ์คลังอะไหล่

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4. ใบรับรองเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับหัวหน้างาน (ต้องมี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) โดยพิจารณาจากการเตรียมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน  ควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน และรายงานผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูง 

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. อุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูง ประกอบด้วย หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) หม้อแปลงเครื่องมือวัด Instrument Transformer สถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบใช้ฉนวนก๊าซ (Gas Insulated Substation: GIS) อุปกรณ์ชดเชยกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ (VAR Compensate Equipment) อุปกรณ์ตัดวงจร (Disconnecting Switch and Power Circuit Breaker) ตู้สวิตซ์เกียร์แรงดันปานกลาง(Medium Voltage Switchgear)

2. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance : PM) หมายถึง การตรวจสอบ ทำความสะอาด ซ่อมแซมและทดลองการทำงานของอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูง เพื่อให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมในการทำงาน ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล้วงหน้า เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น  และทำให้ไม่ต้องหยุดการใช้งานสินทรัพย์หรืออุปกรณ์แบบฉุกเฉิน โดยทั่วไประยะเวลาในการบำรุงรักษาสามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้จากคู่มือของผู้ผลิตหรือคู่มือมาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน 

3. เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ เช่น ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ไขควง ประแจ เครื่องมือที่ใช้ถอดอุปกรณ์ตัดวงจร เครื่องมือขันทอร์ค เชือก เป็นต้น

4. การทดสอบฟังก์ชั่น (Function Test) หมายถึง การทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ก่อนใช้งาน หรือหลังการบำรุงรักษา หรือหลังการแก้ไข เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการทำงานตามที่ผู้ผลิตระบุไว้หรือตามที่ได้ออกแบบไว้ เช่น ทดลองการทำงานของพัดลมระบายความร้อนของหม้อแปลงไฟฟ้าตามอุณหภูมิของน้ำมันหม้อแปลง ทดลองการแจ้งเตือนเมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับถูกตัดชั่วขณะ ทดลองสั่งให้ Power Circuit Breaker ตัดหรือต่อวงจร เป็นต้น

5. ควบคุมปัจจัยความเสี่ยง หมายถึง การประเมิน และควบคุมแหล่งกำเนิดอันตรายจากการทำงาน โอกาสเกิด และผลกระทบหากเกิดอันตรายนั้นๆ ได้ เช่น ความเสี่ยงในการตกจากที่สูง จากระบบไฟฟ้า เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการเตรียมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการเตรียมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการเตรียมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการเตรียมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

18.2 เครื่องมือประเมิน ควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมงานบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

18.3 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน  

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน  

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน  

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชิงป้องกัน

 



ยินดีต้อนรับ