หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-WAMA-401A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5

ISCO-08 3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถควบคุมการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง โดยจะควบคุมการปฏิบัติงานบนที่สูง การปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้า และการปฏิบัติงานกับระบบดับเพลิงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูงได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 255510.2 ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 255910.3 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 255410.4 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 254910.5 มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (มปอ.402:2561) 10.6 มาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (มปอ.401:2561)10.7 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง (มปอ.101:2561)10.8 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 10.9 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 255910.10 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย 255510.11 มาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล กระทรวงแรงงาน10.12 กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 255110.13 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 256410.14 อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-MC02-5-001-01

ควบคุมการปฏิบัติงานบนที่สูงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

1. ควบคุมให้ปฏิบัติงานบนที่สูงด้านความปลอดภัย

EPT-MC02-5-001-01.01 169706
EPT-MC02-5-001-01

ควบคุมการปฏิบัติงานบนที่สูงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

2. ควบคุมการปฏิบัติงานตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยสำหรับการทำงานบนที่สูงในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-MC02-5-001-01.02 169707
EPT-MC02-5-001-01

ควบคุมการปฏิบัติงานบนที่สูงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

3. ควบคุมการใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานบนที่สูงด้านความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-MC02-5-001-01.03 169708
EPT-MC02-5-001-01

ควบคุมการปฏิบัติงานบนที่สูงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

4. กำกับการรายงานเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง

EPT-MC02-5-001-01.04 169709
EPT-MC02-5-001-02

ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

1. ควบคุมการทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage) ด้วยความปลอดภัย

EPT-MC02-5-001-02.01 169710
EPT-MC02-5-001-02

ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

2. ควบคุมให้สวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ในการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน

EPT-MC02-5-001-02.02 169711
EPT-MC02-5-001-02

ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

3. ปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุอันเนื่องจากการทำงานกับระบบไฟฟ้าตามขั้นตอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

EPT-MC02-5-001-02.03 169712
EPT-MC02-5-001-02

ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

4. แก้ไขปัญหา/แจ้งผู้เกี่ยวข้องกรณีที่พบผู้ประสบอุบัติเหตุจากไฟฟ้า

EPT-MC02-5-001-02.04 169713
EPT-MC02-5-001-02

ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

5. กำกับการรายงานเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่เกี่ยวข้องกับการระบบไฟฟ้า

EPT-MC02-5-001-02.05 169714
EPT-MC02-5-001-03

ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบดับเพลิงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

1. ควบคุมให้ปฏิบัติงานกับระบบดับเพลิงด้านความปลอดภัย

EPT-MC02-5-001-03.01 169715
EPT-MC02-5-001-03

ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบดับเพลิงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

2. ควบคุมให้ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยสำหรับการทำงานกับระบบดับเพลิงในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-MC02-5-001-03.02 169716
EPT-MC02-5-001-03

ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบดับเพลิงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

3. ควบคุมการใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบดับเพลิงความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-MC02-5-001-03.03 169717
EPT-MC02-5-001-03

ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบดับเพลิงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

4. กำกับการรายงานเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่เกี่ยวข้องกับระบบดับเพลิง

EPT-MC02-5-001-03.04 169718

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

12.2 ความรู้การทำงานกับไฟฟ้าเบื้องต้น

12.3 ความรู้การป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการเลือกใช้/การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2. ทักษะการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน

3. ทักษะการตัดสินใจโดยการประมวลผลจากเหตุการณ์เฉพาะเหน้า

4. ทักษะการสังเกตสิ่งผิดปกติ ความผิดปกติของเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่ออันตราย ประกายไฟ

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

5. ทักษะการสื่อสาร เช่น รายงานผลด้วยวาจาโดยการสื่อสารด้วยภาษาที่ถูกต้อง/ชัดเจน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และนโยบายด้านความปลอดภัยขององค์กร เช่น 

- ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

- ความปลอดภัยในการใช้สารเคมีที่เกี่ยวข้องในสถานีไฟฟ้า

- มาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล กระทรวงแรงงาน

2. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามลักษะงาน

3. ความรู้เกี่ยวกับอันตราย/ความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

4. ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสถานีไฟฟ้าแรงสูง

5. ความรู้ในวิธีการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นกับสถานีไฟฟ้าแรงสูง

6. ความรู้ในการดูแลสุขอนามัยของตนเองในการปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

7. ความรู้เกี่ยวกับป้าย และเครื่องหมายความปลอดภัยในพื้นที่สถานีไฟฟ้าแรงสูง

8. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์กำหนดพื้นที่การทำงานสำหรับสถานีไฟฟ้าแรงสูง

9. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และระงับอัคคีภัยสำหรับสถานีไฟฟ้าแรงสูง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4. ใบรับรองเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับหัวหน้างาน (ต้องมี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการควบคุมการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง โดยพิจารณาจากควบคุมการปฏิบัติงานบนที่สูง ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้า และควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบดับเพลิงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูงได้

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การปฏิบัติงานบนที่สูง หมายถึง การทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานที่สูงจากพื้นดิน หรือพื้นอาคาร    ตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ซึ่งลูกจ้างอาจพลัดตกลงมาได้ตามกฎหมาย กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564

2. เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานบนที่สูง คือ อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง เช่น หมวกเซฟตี้ เข็มขัดกันตกแบบเต็มตัว เชือกเซฟตี้และตะขอเกาะเกี่ยว แบบ 2 ตะขอ รองเท้าหุ้มส้น เป็นต้น

3. ไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage) คือ ระบบไฟฟ้าที่มีระดับแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไฟฟ้าสูงเกินกว่า 1,000 โวลล์ขึ้นไป

4. อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ในการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้า เช่น หมวกนิรภัย (Safety Helmet) ถุงมือยางกันไฟฟ้า (Insulating Gloves) รองเท้าป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า (Electrical Hazard (EH) Footwear) เป็นต้น

5. เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบดับเพลิง เช่น ควันเทียมสำหรับทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน ชุดทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ และเครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น

6. ระบบดับเพลิง ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 

6.1 ส่วนของระบบป้องกันอัคคีภัย หมายถึง อุปกรณ์ที่ป้องกันการเกิดอัคคีภัยหรืออุปกรณ์แจ้งเหตุ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Call Point) อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง (Strobe Light) และอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง (Bell) เป็นต้น

6.2 ส่วนอุปกรณ์ระบบระงับอัคคีภัย หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมและดับอัคคีภัย เช่น ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงแบบอัตโนมัติ (Sprinkler System) สายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire Hose Cabinet) ถังดับเพลิง (Fire Extinguisher) และระบบก๊าซดับเพลิง (Fire Suppression System) เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการปฏิบัติงานบนที่สูงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานบนที่สูงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานบนที่สูงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานบนที่สูงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

18.2 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

18.3 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบดับเพลิงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบดับเพลิงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบดับเพลิงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานกับระบบดับเพลิงตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

 



ยินดีต้อนรับ