หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจติดตามสมรรถนะและความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GOVO-326A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจติดตามสมรรถนะและความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานควบคุมและตรวจสอบประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

ISCO-08 3119 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมควบคุมประสิทธิภาพ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถตรวจติดตามสมรรถนะและความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดยติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) และค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำดัชนีสมรรถนะให้ได้ตามเป้าหมายได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-OC02-6-001-01

ติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) ให้ได้ตามเป้าหมาย

1. อธิบายคำจัดกัดความของ Performance Index

HPG-OC02-6-001-01.01 168454
HPG-OC02-6-001-01

ติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) ให้ได้ตามเป้าหมาย

2. รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC02-6-001-01.02 168455
HPG-OC02-6-001-01

ติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) ให้ได้ตามเป้าหมาย

3. ใช้งานโปรแกรมคำนวณสำหรับหาประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้อย่างถูกต้อง

HPG-OC02-6-001-01.03 168456
HPG-OC02-6-001-01

ติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) ให้ได้ตามเป้าหมาย

4. คำนวณหาสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำและติดตามพารามิเตอร์ที่ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC02-6-001-01.04 168457
HPG-OC02-6-001-01

ติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) ให้ได้ตามเป้าหมาย

5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการ Performance Index และข้อมูลในรูปแบบเชิงสถิติของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC02-6-001-01.05 168458
HPG-OC02-6-001-01

ติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) ให้ได้ตามเป้าหมาย

6. ติดตามผลการแก้ไขเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC02-6-001-01.06 168459
HPG-OC02-6-001-02

ติดตามค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำดัชนีสมรรถนะให้ได้ตามเป้าหมาย

1. คำนวณดัชนีสมรรถนะของโรงไฟฟ้าพลังน้ำตามมาตรฐาน

HPG-OC02-6-001-02.01 168460
HPG-OC02-6-001-02

ติดตามค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำดัชนีสมรรถนะให้ได้ตามเป้าหมาย

2. รวบรวมข้อมูลการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC02-6-001-02.02 168461
HPG-OC02-6-001-02

ติดตามค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำดัชนีสมรรถนะให้ได้ตามเป้าหมาย

3. ประเมินความเสี่ยงที่มีผลต่อความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC02-6-001-02.03 168462
HPG-OC02-6-001-02

ติดตามค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำดัชนีสมรรถนะให้ได้ตามเป้าหมาย

4. รายงานค่าเป้าหมายความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

HPG-OC02-6-001-02.04 168463

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการจัดการข้อมูล

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

2.    ทักษะการสื่อสาร

3.    ทักษะการประสานงาน

4.    ทักษะการวางแผน และจัดลำดับความสำคัญข้อมูล

1.    ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2.    ความรู้ด้านประสิทธิภาพการผลิต

3.    ความรู้ด้านตัวชี้วัดตั้งแต่หน่วยงานย่อย จนถึงระดับผู้บริหาร (Performance Agreement: PA)

4.    ความรู้ด้านการใช้งานโปรแกรมคำนวณประสิทธิภาพรงไฟฟ้าพลังน้ำ

5.    ความรู้ด้านการคำนวณสมรรถนะโรงไฟฟ้า

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2.    ความรู้ด้านประสิทธิภาพการผลิต

3.    ความรู้ด้านตัวชี้วัดตั้งแต่หน่วยงานย่อย จนถึงระดับผู้บริหาร (Performance Agreement: PA)

4.    ความรู้ด้านการใช้งานโปรแกรมคำนวณประสิทธิภาพรงไฟฟ้าพลังน้ำ

5.    ความรู้ด้านการคำนวณสมรรถนะโรงไฟฟ้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจำเป็นต้องแสดงวิธีการ และขั้นตอนการติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) ความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำดัชนีสมรรถนะให้ได้ตามเป้าหมาย

(ก)    คำแนะนำ 

    ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินความสามารถในการติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) ให้ได้ตามเป้าหมาย และการติดตามค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำดัชนีสมรรถนะให้ได้ตามเป้าหมาย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    สมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) คือ ค่าดัชนีต่างๆที่วัดจากอุปกรณ์ และระบบผลิตไฟฟ้า เพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการผลิต และเหตุขัดข้องต่างๆ เช่น ค่าความสั่นสะเทือน ค่าพลังงานที่อุปกรณ์ใช้งาน และปล่อยออก ค่าอุณภูมิต่างๆ ค่าอัตราการไหลของระบบของเหลวต่างๆ ค่าการถ่ายเทความร้อน เป็นต้น

2.    Performance Index หมายถึง ค่าดัชนีที่ถูกคัดกรองมาแล้วผ่านกระบวนการคำนวนทางสมการคณิตศาสตร์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลของการดำเนินงานด้านการผลิต โดยข้อมูลดังกล่าวนำมาจากการดำเนินงานจริง (Actual Value)

3.    ข้อมูลการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เช่น ปริมาณการใช้น้ำ กำลังการผลิตไฟฟ้า ชั่วโมงการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องจักร อุบัติเหตุ/อุบัติการณ์การเดินเครื่อง พารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิต เช่น Vibration, Temperature, Flow Rate Heat Exchanger, Air Pressure Control System Electric Current เป็นต้น 

4.    ค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หรือ AP (Availability Payment) เป็นค่าไฟฟ้าที่จะจ่ายให้ “เมื่อโรงไฟฟ้ามีความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (Available)” ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่มีข้อตกลงทางด้านสัญญาว่า จะจ่ายไฟฟ้าได้มั่นคง และมีเสถียรภาพให้แก่ระบบรวมของประเทศ สาเหตุที่มีการจ่ายค่า AP ก็เพื่อเป็นเงื่อนไขให้โรงไฟฟ้าต้องเตรียมโรงไฟฟ้าให้มีความพร้อมจ่ายไฟฟ้าตลอดเวลา เพื่อรองรับการสั่งการจากศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการสำรองให้มีกระแสไฟฟ้าพร้อมจ่ายในระบบเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศในกรณีที่มีข้อขัดข้องเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า หรือระบบส่งเชื้อเพลิงต่างๆ รวมทั้งช่วยเสริมความมั่นคงของระบบจากการจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงแดด พลังงานลม ชีวมวล และชีวภาพ ซึ่งมีความผันผวนของเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตกระแสไฟฟ้าตลอดเวลา

5.    ดัชนีสมรรถนะ หมายถึง ตัวแปรที่สามารถแสดงสมรรถนะและประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า และการรักษาค่าความพร้อมจ่ายพลังงานไฟฟ้าตามข้อตกลงที่ได้ทำกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ ดัชนีสมรรถนะดังกล่าวประกอบด้วย ตัวชี้วัดค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (Equialent Avialability Factor : EAF), จำนวนชั่วโมงการหยุดเครื่องฉุกเฉิน (Force Outage Rate : FOR), จำนวนครั้งที่ผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าระบบหลักได้ตามคำสั่งของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (Startup Reliability : SR) เป็นต้น

6.    จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเดินเครื่อง บำรุงรักษา เคมีและประสิทธิภาพ จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน และรายงานความก้าวหน้า รวมถึงบันทึกเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นกับการดำเนินงานที่ส่งผลต่อค่าดัชนีสมรรถนะของโรงไฟฟ้า แนวทางการแก้ไขและ ป้องกันไม่ให้เหตุเกิดซ้ำ

7.    ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ ทำหน้าที่ในการวางแผนและดำเนินการควบคุมการผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้า ของโรงไฟฟ้าของกฟผ. และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลโดยมีใบอนุญาตควบคุมระบบไฟฟ้าเป็นเงื่อนไขและ ข้อกำหนดในการดำเนินงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) ให้ได้ตามเป้าหมาย

(1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) ให้ได้ตามเป้าหมาย

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการติดตามค่าสมรรถนะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) ให้ได้ตามเป้าหมาย

18.2 เครื่องมือประเมิน ติดตามค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำดัชนีสมรรถนะให้ได้ตามเป้าหมาย

(1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการติดตามค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำดัชนีสมรรถนะให้ได้ตามเป้าหมาย

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการติดตามค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำดัชนีสมรรถนะให้ได้ตามเป้าหมาย



ยินดีต้อนรับ