หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-SFPK-325A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

ISCO-08 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดยระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้า และกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreements: PPA)10.2    พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 256110.3    กฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-OC01-6-005-01

ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-6-005-01.01 168448
HPG-OC01-6-005-01

ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. ประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-6-005-01.02 168449
HPG-OC01-6-005-01

ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. รายงานผลประเมินความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-6-005-01.03 168450
HPG-OC01-6-005-02

กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายแนวทางจัดการความเสี่ยงที่มีต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-6-005-02.01 168451
HPG-OC01-6-005-02

กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. กำหนดแผนควบคุมความเสี่ยงที่มีผลต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-6-005-02.02 168452
HPG-OC01-6-005-02

กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. รายงานผลควบคุมความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-6-005-02.03 168453

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง

2.    ทักษะการรายงานและสรุปผล

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

3.    ทักษะการประสานงาน

4.    ทักษะการทำงานเป็นทีม

5.    ทักษะด้านการเป็นผู้นำ (Leadership)

6.    ทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษ

7.    ทักษะด้านการจัดทำแผน (Risk management Plan)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เช่น ระบบและอุปกรณ์โรงไฟฟ้า และระบบผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

2.    ความรู้ความเสี่ยงรูปแบบต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้า และการควบคุม

3.    วิธีการกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

 (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะควบคุมการระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และ กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องมีความสามารถในการอธิบายปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ประเมิน จัดทำแผนป้องกัน ควบคุมความเสี่ยง ติดตามและรายงานผลอย่างต่อเนื่อง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่จะส่งผลกระทบทําให้วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเบี่ยงเบนไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบหรือทําให้การดําเนินงานไม่ประสบความสําเร็จตามวัตถุประสงค์เป้าประสงค์และเป้าหมายขององค์กร โดยการวัดจากผลกระทบ (Impact) ที่ได้รับและโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) ของเหตุการณ์

2. ปัจจัยเสี่ยง (Risk Factor) หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทําให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหนเมื่อใด เกิดขึ้นได้อย่างไรและทําไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกําหนดมาตรการลดความเสี่ยงในภายหลังได้อย่างถูกต้อง

3. ปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อระบบผลิต หมายถึง สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้กำลังการผลิตลดลง

4. ระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หมายถึง ทรัพยากรต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ทั้งสิ่งก่อสร้าง เขื่อและอ่างเก็บน้ำ เครื่องจักรอุปกรณ์ บุคลากร รวมถึงสายส่งไฟฟ้าที่รับกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านำส่งถึงผู้ใช้บริการ

5. ประเมินความเสี่ยง เป็นการวิเคราะห์และจัดลําดับความเสี่ยง โดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง (Impact) ต่อการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของส่วนงานหรือหน่วยงานภายในส่วนงาน

6. รายงานผลประเมินความเสี่ยง หมายถึง เอกสารรายงานที่ได้ทําการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยงตามปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ และได้มีการจัดแนวทางรับมือความเสี่ยงและรายงานผลการติดตามการบริหารความเสี่ยง

7. แนวทางรับมือความเสี่ยง  หมายถึง กระบวนการวางแผนการบริหารและการจัดการความเสี่ยงให้องค์กรสามารถปรับตัวรับมือได้ทัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

18.2 เครื่องมือประเมิน กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

 



ยินดีต้อนรับ