หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำกับงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-OCFZ-321A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำกับงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

ISCO-08 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถกำกับงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดยให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาสถานการณ์ในสภาพเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉินในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ วางแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้สอดคล้องกับแผนการระบายน้ำและความต้องการใช้น้ำ กำกับงบประมาณของหน่วยงานเดินเครื่อง รายงานเหตุการณ์อุบัติเหตุ/อุบัติการในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ รวมถึงกำกับการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching) ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreements: PPA)10.2    พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 256110.3    กฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-OC01-6-001-01

ให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาสถานการณ์ในสภาพเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉินในโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

1. อธิบายแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดกับการเดินเครื่องแต่ละรูปแบบได้อย่างถูกต้อง

HPG-OC01-6-001-01.01 168408
HPG-OC01-6-001-01

ให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาสถานการณ์ในสภาพเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉินในโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

2. วิเคราะห์แนวทางและความเสี่ยงในการแก้ไขปัญหาที่เกิดกับการเดินเครื่อง

HPG-OC01-6-001-01.02 168409
HPG-OC01-6-001-01

ให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาสถานการณ์ในสภาพเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉินในโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

3. ตัดสินใจแก้ปัญหาสถานการณ์ในสภาพเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉินได้

HPG-OC01-6-001-01.03 168410
HPG-OC01-6-001-01

ให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาสถานการณ์ในสภาพเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉินในโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

4. สรุปและรายงานผลการแก้ไขปัญหา

HPG-OC01-6-001-01.04 168411
HPG-OC01-6-001-02

วางแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้สอดคล้องกับแผนการระบายน้ำ และความต้องการใช้น้ำ

1. คำนวณปริมาณและระยะเวลาการระบายน้ำให้เพียงพอสำหรับผู้ใช้น้ำและเหมาะสมตามฤดูกาล ไม่มีผลกระทบกับผู้ใช้น้ำ

HPG-OC01-6-001-02.01 168412
HPG-OC01-6-001-02

วางแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้สอดคล้องกับแผนการระบายน้ำ และความต้องการใช้น้ำ

2. ประสานงานการปรับปรุงขั้นตอนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้เหมาะสม

HPG-OC01-6-001-02.02 168413
HPG-OC01-6-001-02

วางแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้สอดคล้องกับแผนการระบายน้ำ และความต้องการใช้น้ำ

3. สรุปรูปแบบการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าและการใช้ทรัพยากรการผลิตไฟฟ้า

HPG-OC01-6-001-02.03 168414
HPG-OC01-6-001-03

กำกับงบประมาณของหน่วยงานเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำปีของหน่วยงานเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-6-001-03.01 168415
HPG-OC01-6-001-03

กำกับงบประมาณของหน่วยงานเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. จัดทำแผนปรับปรุงงบประมาณของหน่วยงานเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าพลังน้ำในกรณีมีความจำเป็น

HPG-OC01-6-001-03.02 168416
HPG-OC01-6-001-03

กำกับงบประมาณของหน่วยงานเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. สรุปงบประมาณประจำปีของหน่วยงานเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อเสนอจัดตั้งงบประมาณ

HPG-OC01-6-001-03.03 168417
HPG-OC01-6-001-04

รายงานเหตุการณ์อุบัติเหตุ/อุบัติการ ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. วิเคราะห์หาสาเหตุของอุบัติเหตุ/อุบัติการในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-6-001-04.01 168418
HPG-OC01-6-001-04

รายงานเหตุการณ์อุบัติเหตุ/อุบัติการ ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. ตัดสินใจแก้ปัญหาของอุบัติเหตุ/อุบัติการในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-6-001-04.02 168419
HPG-OC01-6-001-04

รายงานเหตุการณ์อุบัติเหตุ/อุบัติการ ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. รายงานผลการแก้ไขปัญหาในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-6-001-04.03 168420
HPG-OC01-6-001-05

กำกับการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

1. ตรวจสอบ Switching Order ให้มีขั้นตอนและลำดับการปลด-สับ อุปกรณ์ให้ถูกต้อง และตรงกับจุดทำงานและงานที่ทำใน Request for Outage 

HPG-OC01-6-001-05.01 168421
HPG-OC01-6-001-05

กำกับการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

2. กำกับการทำ Switching และขั้นตอนได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล และปลอดภัย

HPG-OC01-6-001-05.02 168422
HPG-OC01-6-001-05

กำกับการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

3. ตรวจสอบสภาพระบบสภาพการจ่ายไฟก่อนทำ Switching ปรับระดับแรงดัน 

HPG-OC01-6-001-05.03 168423
HPG-OC01-6-001-05

กำกับการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

4. วิเคราะห์ผลกระทบต่อระบบหลัง Switching ปลดอุปกรณ์

HPG-OC01-6-001-05.04 168424

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการตัดสินใจเชิงเทคนิคในการแก้ไขปัญหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ

2.    ทักษะการวิเคราะห์แนวทางและความเสี่ยงในการแก้ไขปัญหา 

3.    ทักษะการ Switching ระบบไฟฟ้า

4.    ทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่างหรืออุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลต่าง ๆ

5.    ทักษะการวางแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า

6.    ทักษะการจัดทำงบประมาณ

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

7.    ทักษะการติดต่อประสานงาน

8.    ทักษะการมีภาวะผู้นำ (Leadership)

9.    ทักษะการควบคุมงาน

10.    ทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษในการทำงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    มีความรู้เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreements: PPA)

2.    ความรู้การบริหารจัดการน้ำเบื้องต้น 

3.    หลักการและขั้นตอนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์

4.    หลักการและขั้นตอน Switching ระบบไฟฟ้า

5.    ความรู้การใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม

6.    ความรู้ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

7.    ความรู้ความปลอดภัยอาชีวะอนามัยในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

8.    ความรู้การจัดทำงบประมาณ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

 (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาสถานการณ์ในสภาพเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉินในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การวางแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้สอดคล้องกับแผนการระบายน้ำ และความต้องการใช้น้ำ การควบคุมการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching) การรายงานเหตุการณ์อุบัติเหตุ/อุบัติการ ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และกำกับงบประมาณของหน่วยงานเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ระบบต่าง ๆ ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ผ่านการปฏิบัติงานและทดสอบระบบต่างๆ ของกังหันน้ำในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ สามารถให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ กับผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้ ควรมีความรู้ด้านการวางแผน การบริหารจัดการน้ำเบื้องต้น มีความรู้ความเข้าใจระบบวงจรไฟฟ้าแรงสูงที่อยู่ในลานไกไฟฟ้า สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุสิ่งผิดปกติ แก้ไขและรายงาน เมื่อเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติการขึ้นภายในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ รวมถึงการกำกับงบประมาณด้านเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. รูปแบบการเดินเครื่อง หมายถึง การควบคุมให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานตามหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

1.1 Generator Mode คือ การเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในสภาวะปกติ ให้แรงดันน้ำผลักกังหันน้ำให้หมุนแล้วผลิตกระแสไฟฟ้าส่งเข้าสู่สายส่งไฟฟ้าเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าต่อไป

1.2 Synchronous Condenser Mode คือ การเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในสภาวะปกติ เช่นเดียวกันกับรูปแบบ Generator Mode เพียงแต่เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานเข้ากับระบบส่งไฟฟ้าแล้ว จะปิดบานประตูน้ำไม่ให้มีน้ำไหลเข้าสู่กังหันน้ำ จะทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกาะไปกับระบบไฟฟ้า ไม่ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าให้ระบบ แต่จะช่วยระบบในการ รับ-จ่าย Var เท่านั้น

1.3 Pump Mode คือ การเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในสภาวะปกติ แต่สลับการทำงานจากผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นการนำไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้ามาฉุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานเป็นเครื่องสูบน้ำ (Pump) เพื่อนำน้ำหมุนเวียนกลับขึ้นไปเก็บไว้บนอ่างเก็บน้ำสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าในรอบต่อไป

2. แผนการระบายน้ำ หมายถึง แผนที่กำหนดโดยผู้กำกับการระบายน้ำ แจ้งให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำปฏิบัติการตามแผนระบายน้ำนั้น โดยประกอบด้วย แผนรายปี รายเดือน รายสัปดาห์ และรายวัน

3. ทรัพยากรการผลิตไฟฟ้า หมายถึง น้ำ ซึ่งเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์สนับสนุน ทั้งสององค์ประกอบต้องมีความพร้อมเพื่อการผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง

4. อุบัติเหตุ/อุบัติการ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในโรงไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อเกิดอุบัตเหตุจะทำให้สูญเสียการผลิตไฟฟ้าหรือทรัพย์สินของโรงไฟฟ้า กรณีเกิดอุบัติการณ์เป็นเหตุการณ์ที่เกือบจะสูญเสียการผลิต แต่ยังสามารถเดินเครื่องต่อไปได้ปกติ แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ค้นหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ในอนาคต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาสถานการณ์ในสภาพเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉินในโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

(1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาสถานการณ์ในสภาพเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉินในโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาสถานการณ์ในสภาพเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉินในโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

18.2 เครื่องมือประเมิน วางแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้สอดคล้องกับแผนการระบายน้ำ และความต้องการใช้น้ำ

(1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการวางแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้สอดคล้องกับแผนการระบายน้ำ และความต้องการใช้น้ำ

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการวางแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้สอดคล้องกับแผนการระบายน้ำ และความต้องการใช้น้ำ

18.3 เครื่องมือประเมิน กำกับงบประมาณของหน่วยงานเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการกำกับงบประมาณของหน่วยงานเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการกำกับงบประมาณของหน่วยงานเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

18.4 เครื่องมือประเมิน รายงานเหตุการณ์อุบัติเหตุ/อุบัติการ ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการรายงานเหตุการณ์อุบัติเหตุ/อุบัติการ ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการรายงานเหตุการณ์อุบัติเหตุ/อุบัติการ ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

18.5 เครื่องมือประเมิน กำกับการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

(1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการกำกับการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการกำกับการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)



ยินดีต้อนรับ