หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-JLAE-415A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4

ISCO-08 7413 ช่างติดตั้งและซ่อมสายส่งกระแสไฟฟ้า

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยจะดำเนินการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ทั้งกรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) และกรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย รวมถึงตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือด้านความปลอดภัยสำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 254910.2 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 254710.3 ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. 254910.4 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 255210.5 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 255310.6 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 255310.7 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่นผูกยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 255410.8 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น10.9 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องการกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 255410.10 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดแบบแจ้งการเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือการประสบอันตรายจากการทำงาน พ.ศ. 255410.11 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องสัญลักษณ์เตือนอันตราย เครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง พ.ศ. 255410.12 ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 3)10.13 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน10.14 กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 255510.15 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้10.16 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดแบบรายงานผลการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ10.17 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 255610.18 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องแบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย10.19 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย10.20 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวะนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.21 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า สำหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า10.22 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดทำบันทึกผลการตรวจสอบและรับรอง ระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า10.23 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อนแสง และเสียง พ.ศ. 2559 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-MC01-4-001-01

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) ตามหลักความปลอดภัย

1. อธิบายกฏความปลอดภัยทั่วไป ในการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) 

EPT-MC01-4-001-01.01 169568
EPT-MC01-4-001-01

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) ตามหลักความปลอดภัย

2. อธิบายกฏเฉพาะงานในการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) 

EPT-MC01-4-001-01.02 169569
EPT-MC01-4-001-01

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) ตามหลักความปลอดภัย

3. อธิบายความหมายของสัญลักษณ์ ป้ายเตือนต่าง ๆ ในการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized)

EPT-MC01-4-001-01.03 169570
EPT-MC01-4-001-01

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) ตามหลักความปลอดภัย

4. ใช้งานอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) 

EPT-MC01-4-001-01.04 169571
EPT-MC01-4-001-01

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) ตามหลักความปลอดภัย

5. ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงสำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) 

EPT-MC01-4-001-01.05 169572
EPT-MC01-4-001-01

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) ตามหลักความปลอดภัย

6. ใช้งานอุปกรณ์ช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ในการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

EPT-MC01-4-001-01.06 169573
EPT-MC01-4-001-01

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) ตามหลักความปลอดภัย

7. ปฏิบัติการช่วยชีวิต กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) 

EPT-MC01-4-001-01.07 169578
EPT-MC01-4-001-02

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย

1. อธิบายกฏความปลอดภัยทั่วไป ในการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized)

EPT-MC01-4-001-02.01 169583
EPT-MC01-4-001-02

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย

2. อธิบายกฏเฉพาะงานในการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized)

EPT-MC01-4-001-02.02 169584
EPT-MC01-4-001-02

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย

3. อธิบายความหมายของสัญลักษณ์ ป้ายเตือนต่าง ๆ ในการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized)

EPT-MC01-4-001-02.03 169585
EPT-MC01-4-001-02

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย

4. ใช้งานอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)

EPT-MC01-4-001-02.04 169586
EPT-MC01-4-001-02

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย

5. ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงสำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) 

EPT-MC01-4-001-02.05 169587
EPT-MC01-4-001-02

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย

6. ใช้งานอุปกรณ์ช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ในการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

EPT-MC01-4-001-02.06 169588
EPT-MC01-4-001-02

บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย

7. ปฏิบัติการช่วยชีวิต กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) 

EPT-MC01-4-001-02.07 169589
EPT-MC01-4-001-03

ตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือด้านความปลอดภัยสำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

1. ตรวจสอบสภาพความพร้อมก่อนการใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)

EPT-MC01-4-001-03.01 169590
EPT-MC01-4-001-03

ตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือด้านความปลอดภัยสำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

2. ตรวจสอบสภาพความพร้อมก่อนการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐาน เครื่องมือพิเศษ และวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมใช้งาน 

EPT-MC01-4-001-03.02 169591
EPT-MC01-4-001-03

ตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือด้านความปลอดภัยสำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

3. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบอุปกรณ์  เครื่องมือ สำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

EPT-MC01-4-001-03.03 169592

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการทำงานด้วยความปลอดภัย

2. ทักษะการปฏิบัติงานบนที่สูง

3. ทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)

4. ทักษะด้านงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงกรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) และ กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized)

5. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการบำรุงรักษาได้ถูกต้องเหมาะสม

6. ทักษะการช่วยชีวิตบนที่สูง

7. ทักษะในการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

8. ทักษะการติดต่อประสานงาน

9. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

10.  ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

11.  ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

12.  ทักษะการนำเสนอผลงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กฎความปลอดภัยทั่วไป

2. คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

3. ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าเบื้องต้น 

4. ความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูง

5. กฎเฉพาะงาน 

6. ความหมายของสัญลักษณ์/ป้ายเตือน ต่างๆ ด้านความปลอดภัย 

7. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบก่อนการใช้งาน และคุณสมบัติ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)

8. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐาน,เครื่องมือพิเศษ และวัสดุอุปกรณ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4. หลักฐานผ่านการอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 (ต้องมี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยพิจารณาจากการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย และตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือด้านความปลอดภัยสำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. กฎควบคุมความปลอดภัยทั่วไป ของหน่วยงาน 

- ปฏิบัติตามระเบียบ คู่มือ ขั้นตอนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

- ปฏิบัติตามกฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสถาพแวดล้อมในการทำงาน ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง ประกาศ ของหน่วยงาน

- ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ตามมาตรการป้องกันความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของสายงาน

- ต้องใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ ให้ถูกกับลักษณะงาน

- ต้องจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำงาน หลังจากปฏิบัติงานแล้วเสร็จ

- ต้องดูแลสถานที่ทำงานให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ

- เมื่อเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์ รีบระงับเหตุและดำเนินการแก้ไขเบื้องต้นพร้อมแจ้งเหตุผู้บังคับบัญชาโดยด่วน

- เมื่อพบเห็นสิ่ผิดปกติ ที่อาจทำให้เกิดอันตราย ต่อชีวิตและทรัพย์สินให้รายงานผู้บังคับบัญชาหรือแจ้งหน่วยงานรักษาความปลอดภัยโดยเร็ว

2. กฎเฉพาะงานในการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 

2.1 กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized)

- งานเปลี่ยนลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า 69kV, 115 kV, 132 kV, 230 kV, 500 kV 

- งานตัดต่อสายไฟฟ้า (Conductor) บนเสาส่งไฟฟ้า

- งานซ่อมสายไฟฟ้า (Conductor)

- งานแก้ไข Jumper Loop ชำรุด

- งานแก้ไขจุดต่อร้อน (Hot Spot)

- งานแก้ไขอุปกรณ์คั่นสายไฟฟ้า (Spacer Damper) ที่ชำรุด

- งานแก้ไขสายล่อฟ้าเหนือศรีษะ (Overhead Ground Wire) ที่ชำรุด

- งานแก้ไขอุปกรณ์หน่วงการสั่นของสาย (Stockbridge Vibration Damper) ที่ชำรุด

- งานเช็ดทำความสะอาดลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า โดยวิธีดับกระแสไฟฟ้า

- งานตรวจสอบความเป็นฉนวนของลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า (Insulator Puncture Test)

- งานยกระดับสายส่ง

- งานปรับระยะหย่อน (Sag) ของสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

- งานตรวจวัดค่าสิ่งเปรอะเปื้อน (Equivalent Salt Deposit Density) ตามผิวของลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า

- งานตรวจรับสายส่งใหม่ Commissioning

2.2 กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized)

- งานเปลี่ยนลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า 69kV, 115 kV, 132 kV, 230 kV, 500 kV

- งานแก้ไข Jumper Loop ที่ชำรุด โดยวิธีไม่ดับกระแสไฟฟ้า

- งานฉีดน้ำทำความสะอาดลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าโดยวิธีไม่ดับกระแสไฟฟ้า

- งานตรวจสายส่งไฟฟ้าแรงสูงประจำปีโดยการปีนตรวจ (Climbing Inspection)

- งานติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันมูลนก (Bird Protection)

- งานตรวจหาสาเหตุสายส่งขัดข้อง

- งานป้องกันการโจรกรรมโครงสร้างเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง

- งานขับรถรับ - ส่งพนักงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

3. ความหมายของสัญลักษณ์/ป้ายเตือน ได้แก่

- ป้ายเตือนอันตรายไฟฟ้าแรงสูง

- ป้ายแสดงเฟสของสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (Phasing Sign)

- ป้ายแสดงวงจรของสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (Circuit  Name Sign)ป้าย่ง shpereผ่านสายส่ง 

- ป้ายแสดงชื่อสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

- ป้ายแสดงเบอร์เสาส่งไฟฟ้าแรงสูง

- หลักเขตแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

- สัญลักษณ์ทางอากาศ (Warning sphere)

- ป้ายอนุญาตใช้พื้นที่ 

4. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ได้แก่

- ชุดนิรภัย (Full body harness)

- อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Safety hat)

- เเว่นนิรภัย (Safety glass)

- รองเท้านิรภัย (Safety shoes)

- สายนิรภัยป้องกันการตก Y-Lanyard

- สาย Adjustable Lanyard Restrain and Work Positioning    

5. ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง คือ ข้อกำหนดหรือข้อปฏิบัติที่ระบุไว้ใน กฎความปลอดภัยทั่วไป กฎเฉพาะงาน  

6. ใช้งานอุปกรณ์ช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน คือ การใช้ อุปกรณ์ ขั้นตอน วิธีการ ช่วยผู้ปฏิบัติงาน กรณีเกิดอุบัติเหตุลงจากที่สูง

7. การช่วยชีวิต กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นการช่วยชีวิตตามหลักสูตรปฐมพยาบาลเบื้องต้น 

8. ตรวจสอบสภาพก่อนการใช้งาน เครื่องมือพื้นฐาน,เครื่องมือพิเศษ คือ การตรวจสอบสภาพภายนอก ด้วยสายตา (Visual check) เช่น อุปกรณ์ช่วยชีวิต (Rescue kit) ,อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) 

9. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบอุปกรณ์, เครื่องมือ สำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง หมายถึง การรายงานผลการตรวจสอบ อุปกรณ์, เครื่องมือ สำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง  ในรูปแบบเอกสาร, ในระบบฐานข้อมูล

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) ตามหลักความปลอดภัย

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) ตามหลักความปลอดภัย

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า (Energized) ตามหลักความปลอดภัย

18.2 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กรณีดับกระแสไฟฟ้า (De-Energized) ตามหลักความปลอดภัย

18.3 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือด้านความปลอดภัยสำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือด้านความปลอดภัยสำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือด้านความปลอดภัยสำหรับงานบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

 



ยินดีต้อนรับ