หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-LFHP-320A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

ISCO-08 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ โดยระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ และปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-OC01-5-005-01

ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อระบบและอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-005-01.01 168402
HPG-OC01-5-005-01

ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. ประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยต่อระบบและอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำตามรายการ

HPG-OC01-5-005-01.02 168403
HPG-OC01-5-005-01

ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. รายงานผลประเมินความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-005-01.03 168404
HPG-OC01-5-005-02

ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อระบบผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-005-02.01 168405
HPG-OC01-5-005-02

ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. ประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยต่อระบบผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำตามรายการ

HPG-OC01-5-005-02.02 168406
HPG-OC01-5-005-02

ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. รายงานผลประเมินความเสี่ยงต่อระบบผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-005-02.03 168407

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะวิเคราะห์ความเสี่ยง

2.    ทักษะประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางรับมือความเสี่ยง

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

3.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความเสี่ยงรูปแบบต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้า

2.    วิธีกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยง

3.    ความรู้เกี่ยวกับระบบและอุปกรณ์โรงไฟฟ้า และระบบผลิตไฟฟ้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

  (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ และกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิต

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดยต้องทราบถึงหลักการควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าดังกล่าว

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่จะส่งผลกระทบทําให้วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเบี่ยงเบนไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบหรือทําให้การดําเนินงานไม่ประสบความสําเร็จตามวัตถุประสงค์เป้าประสงค์และเป้าหมายขององค์กร โดยการวัดจากผลกระทบ(Impact) ที่ได้รับและโอกาสที่จะเกิด (Likelihood)  ของเหตุการณ์

2. ปัจจัยเสี่ยง (Risk Factor) หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทําให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหนเมื่อใด เกิดขึ้นได้อย่างไรและทําไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกําหนดมาตรการลดความเสี่ยงในภายหลังได้อย่างถูกต้อง

3. ปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อระบบและอุปกรณ์ หมายถึง สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย

4. ปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อระบบผลิต หมายถึง สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้กำลังการผลิตลดลง

5. ระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หมายถึง ทรัพยากรต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ทั้งสิ่งก่อสร้าง เขื่อและอ่างเก็บน้ำ เครื่องจักรอุปกรณ์ บุคลากร รวมถึงสายส่งไฟฟ้าที่รับกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านำส่งถึงผู้ใช้บริการ

6. ระบุความเสี่ยง เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานร่วมกันระบุความเสี่ยง และปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อความสําเร็จของยุทธศาสตร์ขององค์กร เพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อการบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์โดยคํานึงถึง

1) สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนงานและหน่วยงานภายในส่วนงาน เช่นนโยบายมหาวิทยาลัย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ เป็นต้น

2) สภาพแวดล้อมภายใน เช่น รูปแบบการบริหารสั่งการ การมอบหมายอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบ โครงสร้างของส่วนงานหรือหน่วยงานภายในส่วนงานวิธีการและเทคนิคในการระบุความเสี่ยง มีหลายวิธีซึ่งแต่ละหน่วยงาน อาจเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้

-    การระบุความเสี่ยง โดยการรวมกลุ่มระดมสมอง เพื่อให้ได้ความเสี่ยงที่หลากหลาย

-    การระบุความเสี่ยง โดยการใช้ Checklist

-    การระบุความเสี่ยง โดยการวิเคราะห์สถานการณ์จากการตั้งคําถาม “What-if”

-    การระบุความเสี่ยง โดยการวิเคราะห์ขั้นตอนการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนที่สําคัญ

7. ประเมินความเสี่ยง เป็นการวิเคราะห์และจัดลําดับความเสี่ยง โดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง (Impact) ต่อการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของส่วนงานหรือหน่วยงานภายในส่วนงาน

8. รายงานผลประเมินความเสี่ยง หมายถึง เอกสารรายงานที่ได้ทําการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยงตามปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ และได้มีการจัดแนวทางรับมือความเสี่ยงและรายงานผลการติดตามการบริหารความเสี่ยง

9. แนวทางรับมือความเสี่ยง  หมายถึง กระบวนการวางแผนการบริหารและการจัดการความเสี่ยงให้องค์กรสามารถปรับตัวรับมือได้ทัน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

18.2 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

 



ยินดีต้อนรับ