หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำและลานไก ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและคำสั่งการของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-XWFI-319A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำและลานไก ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและคำสั่งการของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

ISCO-08 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำและลานไก ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและคำสั่งการของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) โดยควบคุมคุณภาพพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นไปตามค่าสมรรถนะและคุณลักษณะในการทํางานของหน่วยผลิตไฟฟ้า (Contracted Operating Characteristics : COC) ปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ และควบคุมการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching) ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    ข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA)10.2    ข้อกําหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟผ (Operation Code)10.3    ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Connection Code) ของ กฟผ.10.4    ข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Service Code) ของ กฟผ. 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-OC01-5-004-01

ควบคุมคุณภาพพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นไปตามค่าสมรรถนะและคุณลักษณะในการทำงานของหน่วยผลิตไฟฟ้า (Contracted Operating Characteristics : COC)

1. อธิบายปัจจัยที่ส่งผลกับคุณภาพพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-004-01.01 168392
HPG-OC01-5-004-01

ควบคุมคุณภาพพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นไปตามค่าสมรรถนะและคุณลักษณะในการทำงานของหน่วยผลิตไฟฟ้า (Contracted Operating Characteristics : COC)

2. ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

HPG-OC01-5-004-01.02 168393
HPG-OC01-5-004-01

ควบคุมคุณภาพพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นไปตามค่าสมรรถนะและคุณลักษณะในการทำงานของหน่วยผลิตไฟฟ้า (Contracted Operating Characteristics : COC)

3. ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำให้มีความพร้อมจ่ายและมีประสิทธิภาพ

HPG-OC01-5-004-01.03 168394
HPG-OC01-5-004-01

ควบคุมคุณภาพพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นไปตามค่าสมรรถนะและคุณลักษณะในการทำงานของหน่วยผลิตไฟฟ้า (Contracted Operating Characteristics : COC)

4. ควบคุมการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายไฟฟ้าระหว่างโรงไฟฟ้าพลังน้ำให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Code)

HPG-OC01-5-004-01.04 168395
HPG-OC01-5-004-02

ปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ

1. อธิบายเกี่ยวกับข้อกำหนดในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

HPG-OC01-5-004-02.01 168396
HPG-OC01-5-004-02

ปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ

2. ติดต่อประสานงานระหว่างโรงไฟฟ้าพลังน้ำกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC)

HPG-OC01-5-004-02.02 168397
HPG-OC01-5-004-02

ปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ

3. เดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำตามคำสั่งของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC)

HPG-OC01-5-004-02.03 168398
HPG-OC01-5-004-03

ควบคุมการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

1. อธิบายเกี่ยวกับข้อกำหนดในการทำ Switching และขั้นตอนได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล

HPG-OC01-5-004-03.01 168399
HPG-OC01-5-004-03

ควบคุมการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

2. ติดต่อประสานงานระหว่างโรงไฟฟ้าพลังน้ำกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ ในการทำ Switching

HPG-OC01-5-004-03.02 168400
HPG-OC01-5-004-03

ควบคุมการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

3. ปฏิบัติตามคำสั่งของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) อย่างถูกต้อง ปลอดภัย

HPG-OC01-5-004-03.03 168401

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2.    ทักษะการใช้งานระบบ Distributed Control System (DCS)  หรือ การใช้งานระบบ Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA)

3.    ทักษะการวิเคราะห์ในการปฏิบัติงาน

4.    ทักษะการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน

5.    ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

6.    ทักษะการบันทึก จัดทำรายงานและรายงานผล

7.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

8.    ทักษะการติดต่อประสานงานและการสื่อสาร

9.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

10.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

11.    ทักษะการสอนงานเบื้องต้น

12.    ทักษะการควบคุมงาน

13.    ทักษะความเป็นผู้นำ

14.    ทักษะการนำเสนอผลงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้ากำลัง (Power Generation System)

2.    ความรู้เกี่ยวกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Transmission System) 

3.    ความรู้เกี่ยวกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution System)

4.    การใช้งานระบบ Distributed Control System (DCS)  หรือ การใช้งานระบบ Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA)

5.    ความรู้เรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

6.    ขั้นตอนและหลักการ Start-up โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้แก่ Generator Mode, Synchronous Condenser Mode และ Pump Mode

7.    ขั้นตอนและหลักการ การ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ในสภาวะต่างๆ เช่น Emergency Shutdown, Excitation Mode และ Turbine Mode

8.    ข้อกำหนดการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Code) การใช้บริการโครงข่ายไฟฟ้า การปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้าในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA)

9.    ความรู้ด้านสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA)

10.    หลักการควบคุมประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

11.    ความรู้การใช้โปรแกรมสำนักงาน

12.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น SAP, Balloon Office เป็นต้น

13.    คำศัพท์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

 (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการควบคุมคุณภาพพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นไปตามค่าสมรรถนะและคุณลักษณะในการทํางานของหน่วยผลิตไฟฟ้า (Contracted Operating Characteristics : COC) การปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) และการควบคุมการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายระบบไฟฟ้าได้อย่างมีคุณภาพ ประสานงานและปฏิบัติการตามคำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการทำ Switching ตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หมายถึงการควบคุมกระบวนการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้า และการส่งจ่ายพลังงานให้เป็นไปตามแผนสั่งการเดินเครื่อง และพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของโรงไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตามที่ระบุไว้ในคู่มือ

2. คุณภาพพลังงานไฟฟ้า หมายถึงคุณลักษณะกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าและความถี่ไฟฟ้าตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนดไว้ทั้งในกรณีเหตุปกติและกรณีเหตุผิดปกติ

3. Contracted Operating Characteristics : (COC) หมายถึงสมรรถนะและคุณลักษณะในการทำงานของหน่วยผลิตไฟฟ้า ซึ่งโรงไฟฟ้าได้ทำไว้กับ กฟผ.

4. ประสิทธิภาพพลังงานไฟฟ้า คือสัดส่วนพลังงานด้านออกของระบบ (พลังงานไฟฟ้า)เทียบกับพลังงานด้านเข้า (พลังน้ำ (พลังงานจลน์)) หรือคือความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานน้ำให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ให้มีค่าสูงสุด คือการใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่โรงไฟฟ้าควรจะทำได้ 

5. ความพร้อมจ่าย หมายถึงประสิทธิผลการรักษาระดับความสามารถด้านการผลิตไฟฟ้า และการรักษาความพร้อมในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า โดยโรงไฟฟ้าจะต้องสามารถผลิตพลงไฟฟ้าได้เต็มความสามารถและรักษาความพร้อมที่จะผลิตพลังไฟฟ้าเพื่อเข้าสู่ระบบไฟฟ้าตามแผนการผลิตที่ได้ระบุไว้ใน (Power Purchase Agreement หรือ PPA)

6. สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement หรือ PPA) เป็นสัญญาระหว่าง กฟผ. กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนและโรงไฟฟ้า กฟผ. ที่กล่าวถึงการผลิตและขายไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนและโรงไฟฟ้า กฟผ. ให้กับ กฟผ. สัญญาฉบับนี้จะระบุถึงข้อปฏิบัติใน การเดินเครื่อง (operating characteristics) ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (availability payments) ค่าพลังงานไฟฟ้า (energy payments) มาตรฐานทางสิ่งแวดล้อม (environmental quality standards) แผนงานก่อสร้าง ระบบส่งเชื่อมโยงระหว่างโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนกับระบบของ กฟผ. (new transmission facilities and construction schedule) กำหนดการณ์ สำคัญตามสัญญา(contracted milestones) ค่าเสียหายกรณีผิดสัญญา (liquidated damages) เหตุสุดวิสัย (force majeures) และอื่นๆ

7. มาตรฐานและเงื่อนไขทางเทคนิคเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าและการปฏิบัติการ (Grid Code)

     เป็นเอกสารที่ระบุข้อกำหนดทั่วไปของระบบและความต้องการต่างๆ รวมถึงระเบียบวิธีการเชื่อมโยง การเดินเครื่องโรงไฟฟ้า และการจ่ายไฟฟ้า ซึ่งผู้ผลิต ไฟฟ้าเอกชน จำเป็นจะต้องปฏิบัติตาม หัวข้อหลักที่ใช้ในการคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ปี 2537

8. ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) หมายถึง หน่วยงานที่รับผิดชอบการวางแผนการผลิต และเป็นผู้สั่งการให้โรงไฟฟ้าทุกแห่งในระบบ เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าในเวลาต่างๆ รวมทั้งควบคุมการซื้อขายไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้การผลิตไฟฟ้ามีความสมดุลกับการต้องการใช้ และควบคุมการจ่ายไฟและคุณภาพของไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดของกระทรวงพลังงาน    9. คำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ หมายถึงคำสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ตามเอกสาร Dispatch Instruction   

10. ระบบโครงข่ายไฟฟ้า หมายถึง ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

11. ข้อกําหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟผ. หมายถึงประกาศการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ 25/2562 กําหนดให้ผู้ที่เชื่อมต่อเข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าทุกรายรับทราบหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และตามข้อกําหนดทางเทคนิคด้านการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า ณ จุดเชื่อมต่อ เพื่อให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้ามีคุณภาพการจ่ายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มีความมั่นคงปลอดภัย โดยไม่ทําให้ผู้ใช้ไฟฟ้าและส่วนรวมเสียประโยชน์รวมถึงแนวทางปฏิบัติอย่างเสมอภาคต่อผู้เชื่อมต่อทุกราย หรือเพื่อไม่ให้เกิดการกีดกันผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ประกอบกิจการพลังงานรายอื่น ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ควบคุมคุณภาพพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นไปตามค่าสมรรถนะและคุณลักษณะในการทํางานของหน่วยผลิตไฟฟ้า (Contracted Operating Characteristics : COC)

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นไปตามค่าสมรรถนะและคุณลักษณะในการทํางานของหน่วยผลิตไฟฟ้า (Contracted Operating Characteristics : COC)

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นไปตามค่าสมรรถนะและคุณลักษณะในการทํางานของหน่วยผลิตไฟฟ้า (Contracted Operating Characteristics : COC)

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นไปตามค่าสมรรถนะและคุณลักษณะในการทํางานของหน่วยผลิตไฟฟ้า (Contracted Operating Characteristics : COC)

18.2 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ

18.3 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการตัดตอนและการสลับการทำงานในลานไกไฟฟ้าและสายส่ง (Switching)

 



ยินดีต้อนรับ