หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทดสอบความพร้อมโรงไฟฟ้าพลังน้ำในงานบำรุงรักษา

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-FLHY-318A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทดสอบความพร้อมโรงไฟฟ้าพลังน้ำในงานบำรุงรักษา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ISCO-08 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถควบคุมการทดสอบความพร้อมโรงไฟฟ้าพลังน้ำในงานบำรุงรักษา โดยควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข  (Corrective Maintenance) และควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    กฎกระทรวงกำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 255010.2    กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.3    สัญญาประกันภัยโรงไฟฟ้า10.4    ข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement หรือ PPA) 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-OC01-5-003-01

ควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายหลักการเตรียมความพร้อมสำหรับงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-003-01.01 168382
HPG-OC01-5-003-01

ควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. สนับสนุนงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-003-01.02 168383
HPG-OC01-5-003-01

ควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. ควบคุมการตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ในระบบทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ  (Planned Outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ พร้อมทั้งรายงานผล

HPG-OC01-5-003-01.03 168384
HPG-OC01-5-003-02

ควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข  (Corrective Maintenance) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายขั้นตอนการทดสอบอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance)

HPG-OC01-5-003-02.01 168385
HPG-OC01-5-003-02

ควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข  (Corrective Maintenance) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. ตัดสินใจความพร้อมสำหรับการทดสอบอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance)

HPG-OC01-5-003-02.02 168386
HPG-OC01-5-003-02

ควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข  (Corrective Maintenance) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์หลังจากการทดสอบพร้อมทั้งรายงานผล

HPG-OC01-5-003-02.03 168387
HPG-OC01-5-003-03

ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายขั้นตอนการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-003-03.01 168388
HPG-OC01-5-003-03

ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. ทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) ตามขั้นตอนที่กำหนดของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-003-03.02 168389
HPG-OC01-5-003-03

ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test)

HPG-OC01-5-003-03.03 168390
HPG-OC01-5-003-03

ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

4. รายงานผลการทดสอบความพร้อมระบบ (Function test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-003-03.04 168391

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการตัดสินใจและประเมินความพร้อม                        

2.    ทักษะวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา                            

3.    ทักษะการบันทึก จัดทำรายงานและรายงานผล                    

4.    ทักษะการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

5.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน

6.    ทักษะการตรวจสอบสถานะตำแหน่งอุปกรณ์ด้านไฟฟ้า

7.    ทักษะการตรวจสอบสถานะตำแหน่งอุปกรณ์ด้านเครื่องกล

8.    ทักษะการตรวจวัดเครื่องมือวัดอุปกรณ์ประกอบและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ        

9.    ทักษะการตรวจสอบและควบคุมอุปกรณ์ระบบส่งไฟฟ้าแรงสูง

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

10.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

11.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

12.    ทักษะการสอนงานเบื้องต้น

13.    ทักษะการเป็นผู้นำ (Leadership)    

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    วิธีการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage)

2.    วิธีการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข  (Corrective maintenance) 

3.    วิธีการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage)                                    

4.    วิธีการทดสอบอุปกรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ            

5.    ความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชัน (Function) การทำงานอุปกรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ

6.    ความรู้เรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง                                

7.    การใช้งานระบบ Distributed Control System (DCS) และระบบ SCDA (Supervisory Control and Data Acquisition)         

8.    ความรู้การใช้โปรแกรมสำนักงาน                

9.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

 (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) โรงไฟฟ้าพลังน้ำ  การควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข  (Corrective maintenance)  ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ,การควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข  (Corrective maintenance) และการควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดยต้องทราบถึงหลักการควบคุมการปฏิบัติงานดังกล่าว

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การเตรียมความพร้อมสำหรับงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) เป็นการติดต่อประสานงาน และประชุมร่วมกัน ของทุกๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบร่วมกันว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์โรงไฟฟ้าใดจะมีการหยุดใช้งานเพื่อทำการซ่อมบำรุงรักษา เมื่อไหร่ ระยะเวลาหยุดซ่อมเท่าไร เมื่อถึงเวลาที่กำหนดหยุดซ่อมหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านต่างๆ จึงดำเนินการปลดอุปกรณ์นั้น ๆ ออกจากระบบร่วมกันเพื่อจะให้หน่วยงานบำรุงรักษาเข้าดำเนินการ บำรุงรักษาอุปกรณ์ตามแผน

2. งานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) หมายถึง การหยุดเครืองทีมีการวางแผนและกําหนดระยะเวลาไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว ตามปกติมักทําเพียง 1-2 ครั้งต่อปีเท่านั้น

3. การตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์  เป็นการตรวจสภาพทั่วไปของอุปกรณ์หากมีการชำรุด เสียหายหรือเมื่ออุปกรณ์ทำงานแล้วค่าต่าง ๆ ขณะทำงานมีค่าไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ได้แก่ ความถี่ แรงดัน  Phase Power Factor กระแสไฟฟ้า Vibration อุณหภูมิ เสียง เป็นต้น ถือว่าอุปกรณ์นั้นมีสภาพผิดปกติ

4. เหตุผิดปกติ/ความผิดปกติ เหตุการณใด ๆ ที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบตอระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งพลังงานไฟฟ้า โครงขายไฟฟา หรือการปฏิบัติการระบบโครงขายไฟฟ้า หรือคุณภาพไฟฟ้า ทั้งในกรณีที่มีไฟฟ้าดับและไม่มีไฟฟ้าดับ

5. บำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective maintenance) คือ การดำเนินการเพื่อการดัดแปลง ปรับปรุงแก้ไขอุปกรณ์, ระบบควบคุมต่างๆของระบบการผลิตไฟฟ้า และระบบส่งพลังงานไฟฟ้าเพื่อ

  1.  ขจัดเหตุขัดข้องเรื้อรังของระบบการผลิตไฟฟ้า และระบบส่งพลังงานไฟฟ้าให้หมดไปโดยสิ้นเชิง     (การแก้ไขปรับปรุงเพื่อที่จะลดความเสียหายจากการเสื่อมสภาพ หรือทำงานไม่ถูกต้อง)

  2.  ปรับปรุงสมรรถภาพของระบบการผลิตไฟฟ้า และระบบส่งพลังงานไฟฟ้าให้สามารถทำงาน ได้ด้วยคุณภาพ และหรือปริมาณที่สูงขึ้น

6. ควบคุมการทดสอบความพร้อมสำหรับการทดสอบอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective maintenance)  หมายถึงการควบคุมการทดสอบหลังจากการดำเนินการเพื่อการดัดแปลง ปรับปรุงแก้ไขอุปกรณ์,ระบบควบคุมต่างๆของระบบการผลิตไฟฟ้า และระบบส่งพลังงานไฟฟ้า การควบคุมการทดสอบนี้เพื่อยืนยันความถูกต้องในการทำงานของอุปกรณ์หรือระบบ หลังจากการแก้ไข เพื่อตรวจสอบการทำงาน คุณสมบัติต่างๆของอุปกรณ์หรือระบบที่ถูกแก้ไขแล้ว ว่ามีความเหมาะสมเป็นไปตามความต้องการและพร้อมที่จะนำเข้าใช้งาน

7. ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ  หมายถึง การควบคุมกระบวนการทดสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องในการทำงานของแต่ละอุปกรณ์และระบบต่างๆ หลังจากนั้นจะดำเนินการทดสอบรวมทุกระบบ เพื่อตรวจสอบการทำงาน คุณสมบัติต่างๆของเครื่อง อุปกรณ์ และระบบทั้งหมด ว่ามีความเหมาะสมเป็นไปตามความต้องการและพร้อมที่จะนำเข้าใช้งานได้ ซึ่งการทดสอบจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1. Pre-rotational Test หรือ Dry Test เป็นการทดสอบย่อยแต่ละอุปกรณ์ แต่ละระบบ

2 . Watering เป็นขั้นตอนที่เติมน้ำเข้า Water Path ทั้งหมด นับตั้งแต่ Power conduit, Turbine casing cooling water line, Draft tube เตรียมนำน้ำเข้า Turbine

3. Rotational Test หรือ Wet Test Wet Test (ทดสอบการ Operation, Function, Performance, Capacity, etc.) ของเครื่อง ซึ่งในการดาเนินการ ต้องมีขั้นตอนที่ชัดเจน และต้องมีการประสานงานกับ Working Group ต่างๆ โดยชั้นคุณวุฒิที่ 5 มีหน้าที่โดยตำแหน่งคือผู้ช่วย Test Commander (หัวหน้ากะ)

8. รายงานผลการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) เป็นการรายงานผลการทดสอบต่างๆ ว่ามีความเหมาะสมเป็นไปตามความต้องการอย่างไร และพร้อมที่จะนำเข้าใช้งานได้  ปัญหา อุปสรรค์ สิ่งที่ต้องปรับปรุง และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อันได้แก่ ความถี่  แรงดัน Phase  Power factor  กระแส Vibration อุณหภูมิ เสียง เป็นต้น ที่ได้หลังจากที่ได้ทำการทดสอบไปแล้วมารายงานให้ที่ประชุมและผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ ในรูปแบบการแจ้งรายงานข้อมูลหรือรายงานเอกสารประประกอบเพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ ไปเก็บไว้เป็นข้อมูลอ้างอิง และหากผลการทดสอบมีความบกพร่องผู้ร่วมประชุมหรือผู้ที่รับผิดชอบก็จะได้นำมาพิจารณาเพื่อจะทำการปรับปรุง แก้ไขร่วมกัน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

18.2 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข  (Corrective Maintenance) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข  (Corrective Maintenance) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข  (Corrective Maintenance) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข  (Corrective Maintenance) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

18.3 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

 



ยินดีต้อนรับ