หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสภาวะฉุกเฉิน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EUNQ-317A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสภาวะฉุกเฉิน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

ISCO-08 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสภาวะฉุกเฉิน โดยแก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และควบคุมการทดสอบ Black Start เพื่อรองรับ Blackout Restoration Plan ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    ข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-OC01-5-002-01

แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายสาเหตุความผิดปกติในสภาวะฉุกเฉินของลานไกไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

HPG-OC01-5-002-01.01 168374
HPG-OC01-5-002-01

แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. วิเคราะห์สาเหตุความผิดปกติในสภาวะฉุกเฉินของลานไกไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

HPG-OC01-5-002-01.02 168375
HPG-OC01-5-002-01

แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. แก้ไขความผิดปกติในสภาวะฉุกเฉินของลานไกไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

HPG-OC01-5-002-01.03 168376
HPG-OC01-5-002-01

แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

4. รายงานผลการแก้ไขความผิดปกติในสภาวะฉุกเฉินของลานไกไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

HPG-OC01-5-002-01.04 168377
HPG-OC01-5-002-02

ควบคุมการทดสอบ Black Start เพื่อรองรับ Blackout Restoration Plan

1. อธิบายหลักการและขั้นตอน Black Start เพื่อรองรับ Blackout Restoration Plan

HPG-OC01-5-002-02.01 168378
HPG-OC01-5-002-02

ควบคุมการทดสอบ Black Start เพื่อรองรับ Blackout Restoration Plan

2. ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) ของระบบในการ Black Start 

HPG-OC01-5-002-02.02 168379
HPG-OC01-5-002-02

ควบคุมการทดสอบ Black Start เพื่อรองรับ Blackout Restoration Plan

3. ตรวจสอบปัญหาระหว่างทดสอบ  Black Start 

HPG-OC01-5-002-02.03 168380
HPG-OC01-5-002-02

ควบคุมการทดสอบ Black Start เพื่อรองรับ Blackout Restoration Plan

4. รายงานผลการทดสอบ Blackout Restoration

HPG-OC01-5-002-02.04 168381

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2.    ทักษะการใช้งานระบบ Distributed Control System (DCS) หรือระบบ Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA)

3.    ทักษะการวิเคราะห์ในการปฏิบัติงาน

4.    ทักษะการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน

5.    ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

6.    ทักษะการบันทึก จัดทำรายงานและรายงานผล

7.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

8.    ทักษะการติดต่อประสานงานมีความสามารถทางด้านการสื่อสาร

9.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

10.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

11.    ทักษะความเป็นผู้นำ (Leader ship)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้ากำลัง(Power Generation System)

2.    ความรู้เกี่ยวกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Transmission System) 

3.    ความรู้เกี่ยวกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution System)

4.    การใช้งานระบบ Distributed Control System (DCS) หรือระบบ Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA)

5.    ความรู้เรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฏหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

6.    ขั้นตอนและหลักการ Start-up โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้แก่ Generator Mode, Synchronous Condenser Mode และ Pump Mode

7.    ขั้นตอนและหลักการ การ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ในสภาวะต่างๆ เช่น Emergency Shutdown, Excitation Mode และ Turbine Mode 

8.    ข้อกำหนดการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Code) การใช้บริการโครงข่ายไฟฟ้า การปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้าในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA)

9.    ความรู้ด้านสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA)

10.    ความรู้ความสามารถด้านอุปกรณ์ และระบบป้องกัน (Protection System)

11.    ความรู้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของเหตุการณ์เมื่อเกิด Blackout หรือเกิดไฟฟ้าดับทั่วประเทศ

12.    หลักการและเงื่อนไขในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยตัวเอง (Black Start Concept)

13.    ความรู้ในการ Charge Line

14.    ความรู้ในการขนานระบบ หลักการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าระบบไฟฟ้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการควบคุมการเดินระบบในสภาวะฉุกเฉิน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในสภาวะฉุกเฉิน และการควบคุมการนำเครื่องกำเนิด และระบบส่ง กลับสู่ระบบหลังแก้ไขเหตการณ์ให้เป็นปกติ การควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่าง Blackout Restoration  การตรวจสอบ Switching Order

(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยต้องทราบถึงหลักการควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าในสภาวะดังกล่าว และขั้นตอนวิธีการปฏิบัติกรณีเกิดเหตุ Black out

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. สภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) หมายถึง เหตุการณ์ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วน โดยไม่อาจคาดคิดหรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้เช่น เหตุขัดข้องจากระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า เป็นเหตุให้การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมระบบให้อยู่ในภาวะปกติได้หรือเหตุการณ์ที่อาจจะทําให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งนี้ให้รวมถึงกรณีอุบัติเหตุ เหตุสุดวิสัย ภัยธรรมชาติโดยต้องดําเนินการแก้ไขสถานการณ์อย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นอาจทําให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง

2. ความผิดปกติในสภาวะฉุกเฉินของลานไกไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้า หมายถึง สภาพความเป็นไปที่ไม่เป็นปกติ เกิดขึ้นกับ ลานไกไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้า ซึ่งการเกิดความผิดปกติในสภาวะฉุกเฉิน อาจเกิดจาก ฟอลต์ในระบบ ความผิดพร่องที่เกิดจากการลัดวงจร หรือ การทำงานในสภาวะไม่ปกติ เช่น Overload, Overcurrent ฟ้าผ่า สายส่งขาด เสาแรงสูงล้ม ซึ่งอาจทำให้ให้เกิดผลเสียหายต่อระบบผลิตไฟฟ้า, ส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า  หรือทำให้ไฟฟ้าดับ อุปกรณ์ และระบบป้องกันในลานไกไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ในลานไกไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้า เช่น

-    Circuit Breaker อุปกรณ์ตัดตอนอัตโนมัติซึ่งมีความสามารถในการ Open/Close ได้ทุกสภาวะกล่าวคือ ทั้งในกรณีที่เกิดฟอลต์หรือในเหตุการณ์ปกติ ที่แสดงผ่านทาง Distributed Control System (DCS) หรือ Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA)

-    Disconnecting switch

-    Transformer & Tap Changer

-    Instrument transformer (CT&PT)

-    Shunt Reactor

-    Capacitor Bank

-    Lightning Arrester

-    ระบบส่งไฟฟ้า (Transmission System) และระบบส่งไฟฟ้าย่อย (Sub transmission System)

-    Protection System

-    Tele communication

3. ความผิดปกติในสภาวะฉุกเฉินของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง เหตุผิดปกติ/ความผิดปกติ หมายถึงเหตุการณใด ๆ สภาพการทำงานที่ไม่เป็นปกติ ที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือคุณภาพไฟฟ้า เช่นความผิดพร่องที่เกิดจากการลัดวงจร และการทำงานในสภาวะไม่ปกติ เช่น Overload, Overcurrent, Over/Under voltage, Overheating, Unbalance loading, Reverse power เป็นต้น

4. วิเคราะห์สาเหตุความผิดปกติ เป็นการวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริง (Root Cause) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบหรือปรากฏการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น (Effect) ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน

5. วินิจฉัยสาเหตุความผิดปกติของระบบผลิตไฟฟ้าจากระบบ DCS/SCADA เป็นการหาสาเหตุความผิดปกติของดรงไฟฟ้าด้วย Logic Control 

6. วิเคราะห์ความเสี่ยงก่อนเข้าพื้นที่ เป็นการตรวจสอบพื้นที่ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยก่อนอนุมัติใบอนุญาตเข้าทำงาน (Work Permit)

7. แก้ไขความผิดปกติในสภาวะฉุกเฉินของลานไกไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็น    การควบคุม การประสานงานในการแก้ไขความผิดปกติของระบบลานไกไฟฟ้า สายส่ง และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้กลับมามีความพร้อมโดยเร็วและปลอดภัยที่สุด

8. รายงานผลการแก้ไขความผิดปกติในสภาวะฉุกเฉิน เป็นการรายงานปัญหาและความผิดปกติ กระบวนการในการแก้ปัญหาและจัดการต่อความผิดปกติต่าง ๆ รวมถึงวิธีการแก้ไข ป้องกันมิให้ปัญหาดังกล่าวเกิดซ้ำขึ้นอีก

9. Blackout Restoration Plan หมายถึง แผนการนําระบบกลับคืนสู่สภาวะปกติเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศ หรือ เหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง โดยการสร้างมาตรการและแผนการรองรับเหตุการณ์เพื่อให้สามารถนําระบบกลับเข้าจ่ายไฟได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด

10. Blackout หมายถึง มีเหตุการณ์ไฟดับหมดทุกสถานีไฟฟ้า โดยอาศัยข้อมูล kV, frequency, generation ทั้งนี้ทางศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าแต่ละภูมิภาค ต้องตรวจสอบซึ่งกันและกันว่ามีไฟดับหมด และแจ้งผ่านข่ายสื่อสารให้ทุกศูนย์ฯและโรงไฟฟ้าทราบ เมื่อระบบไฟฟ้าเกิดไฟฟ้าดับหมดทั้งประเทศ ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) จะเป็นผู้รับผิดชอบในการนำระบบไฟฟ้ากลับเข้าจ่ายไฟสู่สภาวะปกติ โดยประสานงานกับศูนย์ฯ ภูมิภาคและโรงไฟฟ้าต่าง ๆ

11. Black Start หมายถึงการ Start Up โรงไฟฟ้าขึ้นมาด้วยระบบ Emergency Diesel หรือด้วยอุปกรณ์อย่างอื่น จากสถานการณ์ที่ไมมีไฟฟ้าในระบบและใช้โรงไฟฟ้าพลังน้ำจ่ายไฟให้ Local Load และจ่ายกําลังไฟฟ้าบางส่วนให้กับอุปกรณ์ช่วย (Auxiliary Equipment) โรงไฟฟ้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

12. ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) ของระบบในการ Black start หมายถึง การควบคุมตามลำดับขั้นตอนดังนี้

1) ขั้นตอนทำ Black Start 

2) ขั้นตอนทำ Line Charge

3) ขั้นตอนนำระบบกลับสู่สภาวะปกติ

13. ตรวจสอบปัญหาระหว่างทดสอบ Black start  หมายถึง การใช้โดยใช้ความรู้ทางด้านเทคนิค เพื่อให้สามารถระบุหรือค้นหาความผิดพลาด (error) ในส่วนที่รับผิดชอบได้

14. รายงานผลการทดสอบ Blackout Restoration หมายถึง เอกสารซึ่งมีข้อความระบุถึงผลการทดสอบโดยมีรายละเอียดดังนี้

1) บทนำ ประกอบด้วย 

-    หลักการและเหตุผล

-    วัตถุประสงค์

-    คำจำกัดความ

-    หลักการและเงื่อนไขในการนำระบบกลับเข้าจ่ายไฟไฟเมื่อเกิดไฟฟ้าดับทั่วประเทศ

2) Work Flow : Blackout Restoration

3) การทดสอบ Black start โรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ

4) สรุปผลการทดสอบ Black start โรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ 

5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ

6) เอกสารแนบ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

18.2 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการทดสอบ Black Start เพื่อรองรับ Blackout Restoration Plan

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบ Black Start เพื่อรองรับ Blackout Restoration Plan

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบ Black Start เพื่อรองรับ Blackout Restoration Plan

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบ Black Start เพื่อรองรับ Blackout Restoration Plan



ยินดีต้อนรับ