หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสภาวะปกติ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-YKCV-316A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสภาวะปกติ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

ISCO-08 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสภาวะปกติ โดยควบคุมการเดินระบบในสภาวะปกติ ควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในกระบวนการ Start-up  และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และประสานงานกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) เพื่อควบคุมการระบายน้ำให้เหมาะสมตามความต้องการได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    กฎกระทรวงกำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 255010.2    กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๘10.3    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน10.4    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 255210.5    สัญญาประกันภัยโรงไฟฟ้า 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-OC01-5-001-01

ควบคุมการเดินระบบในสภาวะปกติของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายหลักการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-001-01.01 168361
HPG-OC01-5-001-01

ควบคุมการเดินระบบในสภาวะปกติของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. ควบคุมการเดินเครื่องผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-001-01.02 168362
HPG-OC01-5-001-01

ควบคุมการเดินระบบในสภาวะปกติของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. วินิจฉัยสาเหตุความผิดปกติของระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-001-01.03 168363
HPG-OC01-5-001-01

ควบคุมการเดินระบบในสภาวะปกติของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

4. ประสานงานกับหน่วยงานบำรุงรักษาเพื่อออกใบแจ้งซ่อม

HPG-OC01-5-001-01.04 168364
HPG-OC01-5-001-01

ควบคุมการเดินระบบในสภาวะปกติของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

5. จัดทำรายงานสถานะระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำประจำวัน และประวัติการปฏิบัติงาน และการส่งมอบกะ

HPG-OC01-5-001-01.05 168365
HPG-OC01-5-001-02

ควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในกระบวนการ Start-up  และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายหลักการและขั้นตอน Start-up โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

HPG-OC01-5-001-02.01 168366
HPG-OC01-5-001-02

ควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในกระบวนการ Start-up  และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. อธิบายหลักการและขั้นตอน Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

HPG-OC01-5-001-02.02 168367
HPG-OC01-5-001-02

ควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในกระบวนการ Start-up  และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. ควบคุมการ Start-up โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์

HPG-OC01-5-001-02.03 168368
HPG-OC01-5-001-02

ควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในกระบวนการ Start-up  และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

4. ควบคุมการ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์

HPG-OC01-5-001-02.04 168369
HPG-OC01-5-001-02

ควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในกระบวนการ Start-up  และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

5. ตรวจสอบความผิดปกติก่อนและระหว่างการ Start-up และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-5-001-02.05 168370
HPG-OC01-5-001-03

ประสานงานกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) เพื่อควบคุมการระบายน้ำให้เหมาะสมตามความต้องการ

1. อธิบายความสำคัญและข้อจำกัดในการระบายน้ำในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนได้

HPG-OC01-5-001-03.01 168371
HPG-OC01-5-001-03

ประสานงานกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) เพื่อควบคุมการระบายน้ำให้เหมาะสมตามความต้องการ

2. อธิบายขั้นตอนการประสานงานควบคุมการระบายน้ำ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละภาคส่วนให้มากที่สุด

HPG-OC01-5-001-03.02 168372
HPG-OC01-5-001-03

ประสานงานกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) เพื่อควบคุมการระบายน้ำให้เหมาะสมตามความต้องการ

3. ประสานงานเพื่อควบคุมการระบายน้ำ ผ่านศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC)

HPG-OC01-5-001-03.03 168373

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2.    ทักษะการวิเคราะห์สาเหตุ (กรณีเกิดความผิดปกติ) การกำหนดแนวทางป้องกัน และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ทางกล อุปกรณ์ระบบควบคุมและเครื่องมือวัด

3.    ทักษะการใช้งานระบบ Distributed Control System (DCS) หรือระบบ Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA)

4.    ทักษะการอ่านแบบ P&ID

5.    ทักษะการอ่านแบบไฟฟ้าและแบบเครื่องกล

6.    ทักษะการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน

7.    ทักษะการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์( CMMS)

8.    ทักษะการบันทึก จัดทำรายงานและรายงานผล

9.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

12.    ทักษะการติดต่อประสานงานและการสื่อสาร

13.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

14.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

15.    ทักษะความเป็นผู้นำ (Leader ship)

16.    ทักษะการสอนงาน

17.    ทักษะการนำเสนอผลงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ

2.    หลักการทำงานของอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้า (อุปกรณ์หลักและอุปกรณ์สนับสนุน)

3.    การใช้งานระบบ Distributed Control System (DCS)  หรือ การใช้งานระบบ Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA)

4.    ความรู้เรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฏหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

5.    หลักการและขั้นตอน Start-up โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้แก่ Generator Mode, Synchronous Condenser Mode และ Pump Mode 

6.    หลักการและขั้นตอน Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ในสภาวะต่างๆ ได้แก่ Emergency Shutdown, Excitation Mode และ Turbine Mode

7.    ความรู้ความสามารถด้านการใช้โปรแกรมเอกสารบนคอมพิวเตอร์

8.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้งานระบบจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)  

9.    คำศัพท์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

10.    ความรู้การอ่านแบบ P&ID (Piping and Instrumentation Diagram)

11.    ความรู้การอ่านแบบไฟฟ้าและแบบเครื่องกล

12.    ความรู้เกี่ยวกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Transmission System) และระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution System)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

 (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการควบคุมการเดินระบบของโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสภาวะปกติ,การควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในกระบวนการ Start-up และ Shut-down โรงไฟฟ้าพลังน้ำ, การประสานงานกับศูนย์ควบคุมฯระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) เพื่อควบคุมการระบายน้ำให้เหมาะสมตามความต้องการ

(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และต้องทราบถึงหลักการการควบคุมการเดินเครื่องไฟฟ้าดังกล่าว และสามารถประสานงานกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) เพื่อควบคุมการระบายน้ำให้เหมาะสมตามความต้องการ และถูกต้อง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. อุปกรณ์หลัก หมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องกลในโรงไฟฟ้า ที่หากเกิดปัญหาจะส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าหรือความพร้อมจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า (Reliability) โดยตรงเช่น

-    HV Switchgear    -    MV Switchgear

-    Generator    -    Penstocks, Spiral Case, Draft Tube  

-    Gate (Intake หรือ Penstock Gate, Spillway)    -    inlet valve Control System

-    Switchyard Protection Relay    -    Turbine

-    Governor Control System    -    Main inlet Valve

-    Power transformers & Protection Sys    -    Bearings & Lubricants oil System

-    Excitation System    -    Neutral Ground

-    Heat Exchanger System (Air, Oil, Water)    -    Synchronizing System

-    Gen Protection Sys    -    Turbine Protection System

-    Automation, Control (SCADA & DCS)    -    Station Service Electrical Supply 

-    Turbine Shaft  Sealing Box    -    PT & CT

2. อุปกรณ์สนับสนุนหมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องกลในโรงไฟฟ้าที่หากเกิดปัญหาจะไม่ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าหรือความพร้อมจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า (Reliability) โดยตรงเช่น

-    Fire protection system    -    Hoist and elevator

-    Grounding and lightning protection    -    Close circuit television (CCTV)

-    Lighting & Power Plug      -    Emergency Diesel Generator

-    Air conditioning system    -    Oil Pump, Pressure tank, Sump tank

-    Dewatering & Drainage System    -    Air Compressor

-    Fire Protection System    -    Station Battery, Charger, Inverter, UPS

-    HMI    -    Vibration System

-    Jacking Oil Pump และ High Pressure Oil Pump    -    Brake System

-    Pump    -    Valve & Control valve

-    Cooling Water Supply      -    Shunt reactor & Capacitor Bank

-    Lightning Arrester & Surge Arrester    

3. ควบคุมการเดินเครื่องในสภาวะปกติ (Normal Operation) เป็นการควบคุมกระบวนการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนสั่งการเดินเครื่อง และพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของโรงไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตามที่ระบุไว้ในคู่มือ

4. หลักการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หมายถึงการใช้แรงดันของน้ำจากเขื่อนและอ่างเก็บน้ำซึ่งอยู่ระดับสูงกว่าโรงไฟฟ้าไปหมุนกังหันน้ำ ซึ่งมีแกนต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้า โดยมี Mode การทำงานต่างๆเช่น Standstill, Preparation, Turbine Start, Excitation ,Synchronization-Load, Line Charge, Pump, Shut down เป็นต้น

5. ควบคุมการ Start up โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นการควบคุมการเดินเครื่องเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจำหน่ายด้วยบุคคล (Manual Control) และการควบคุมการเดินเครื่องและหยุดเครื่องแบบอัตโนมัติ (Automatic Control) 

6. ควบคุมการ Shut Down โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นการควบคุมการหยุดเครื่องเพื่อปลดเครื่องออกจากระบบหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจำหน่ายด้วยบุคคล (Manual Control) และการควบคุมการหยุดเครื่องแบบอัตโนมัติ (Automatic Control)

7. ควบคุมการเดินเครื่องผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการควบคุมการทำงานในโรงไฟฟ้าให้เครื่องจักรทำงานได้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน (Operator) กับ Computer และจอแสดงผล (Display) ต่างๆ ในระบบการผลิต โดยผ่าน HMI  (Human Machine Interface) สั่งงานไปที่เครื่องจักร (Machine) ให้ทำงานตามฟังก์ชั่นที่ออกแบบไว้

8. Distributed Control System (DCS) หมายถึงระบบควบคุมกลางขนาดใหญ่สำหรับควบคุมกระบวนการที่มีความซับซ้อนและกระจายอยู่หลายแห่ง โดยพนักงานควบคุมสามารถปรับตั้งค่าควบคุม (Set Point) ได้จากห้องควบคุมส่วนกลาง (Central Control Room ) เพียงจุดเดียว

9. Supervisory Control And Data Acquisition ( SCADA ) หมายถึงระบบควบคุมตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time ใช้ในการตรวจสอบสถานะตลอดจนถึงควบคุมการทำงานของระบบควบคุมในโรงไฟฟ้าลักษณะเดียวกันกับ DCS แต่สามารถตรวจสอบและควบคุมกระบวนการผลิตภายในโรงไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลได้โดย หน่วยติดต่อและปฏิบัติการของผู้ใช้ระดับบนเป็นเครื่องมือปฏิบัติการของผู้ใช้สำหรับตรวจสอบและควบคุม กระบวนการผลิตเชื่อมต่อกับหน่วยควบคุมระยะไกล หน่วยควบคุมระยะไกลติดต่อกับหน่วยติดต่อระยะไกลโดยการสื่อสารข้อมูลแบบดิจิตอลทางระบบเครือข่ายคมนาคม และหน่วยติดต่อระยะไกลเป็นเครื่องมือเชื่อมต่อกับกระบวนการผลิต ประกอบด้วย หน่วยรับสัญญาณ และส่งสัญญาณของสัญญาณชนิดแอนะล็อก และสัญญาณชนิดดิจิทัล 

10. วินิจฉัยสาเหตุความผิดปกติของระบบผลิตไฟฟ้าจากระบบ DCS หรือ SCADA เป็นการค้นหาสาเหตุความผิดปกติของระบบไฟฟ้าด้วย Logic Control ผ่านระบบ Computer 

11. ความผิดปกติของระบบผลิตไฟฟ้า หมายถึง สภาพที่ผิดไปจากธรรมดาของระบบผลิตไฟฟ้า และระบบส่งไฟฟ้า อันได้แก่ ความถี่, แรงดัน, Phase, Power factor , กระแส, Vibration, อุณหภูมิ, เสียง เป็นต้น

12. ออกใบแจ้งซ่อม เป็นการสั่งงานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยระบบจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS) ผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่อง (Operator) ต้องสามารถระบุรายละเอียดการแจ้งซ่อม อาการที่ตรวจพบเบื้องต้น การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ความเร่งด่วนในการซ่อม (มาก/น้อย) เขียนรายงานได้ละเอียดชัดเจนและถูกต้อง

13. CMMS (Computerized Maintenance Management System) ระบบการจัดการงานบำรงุรักษาโดยมีวัตถุประสงค์ คือ มี platform สำหรับบริหารจัดการขอ้มูลการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าไดทุกุที่ทุกเวลาโดยมีระบบ mobility รองรับประกอบด้วย ระบบ Smart LOTO(Lockout-Tagout) ระบบ Asset Health Scoring และ Project & Shutdown Management เป็นต้น

14. จัดทำรายงานสถานะระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ประกอบด้วย

1)    Daily Declaration

2)    Weekly Declaration

3)    สรุปข้อมูลการผิตประจำวันทุก 24:00 น.

4)    Update ข้อมูลขึ้น Website

5)    บันทึกรายละเอียดสภาพโรงไฟฟ้าใน e-Logbook (บันทึกประวัติการส่งมอบกะ electronic)

15. ศูนย์ควบคุมฯระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) หมายถึงหน่วยงานศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ ทำหน้าที่ในการวางแผนและดำเนินการควบคุมการผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้า ของโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ระบบไฟฟ้าของประเทศไทยมีความมั่นคง เชื่อถือได้ และมีคุณภาพ ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการเดินระบบในสภาวะปกติของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการเดินระบบในสภาวะปกติของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการเดินระบบในสภาวะปกติของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการเดินระบบในสภาวะปกติของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

18.2 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในกระบวนการ Start-up  และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในกระบวนการ Start-up  และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในกระบวนการ Start-up  และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในกระบวนการ Start-up  และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

18.3 เครื่องมือประเมิน ประสานงานกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) เพื่อควบคุมการระบายน้ำให้เหมาะสมตามความต้องการ

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการประสานงานกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) เพื่อควบคุมการระบายน้ำให้เหมาะสมตามความต้องการ

(2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการประสานงานกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) เพื่อควบคุมการระบายน้ำให้เหมาะสมตามความต้องการ

(3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการประสานงานกับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (NCC) เพื่อควบคุมการระบายน้ำให้เหมาะสมตามความต้องการ

 



ยินดีต้อนรับ