หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เดินเครื่องระบบไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Electrical System)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-KQHH-314A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เดินเครื่องระบบไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Electrical System)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

ISCO-08 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถเดินเครื่องระบบไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Electrical System)โดยเดินระบบไฟฟ้าในสภาวะปกติ (Normal Operation) เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในงาน Start-up  และ Shutdown ของระบบไฟฟ้า ในสภาวะต่าง ๆ ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และแก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของระบบไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-OC01-4-003-01

เดินระบบไฟฟ้าในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายขั้นตอนและหลักการทำงานอุปกรณ์ไฟฟ้าและระบุขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-4-003-01.01 168331
HPG-OC01-4-003-01

เดินระบบไฟฟ้าในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. อธิบายขั้นตอนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-4-003-01.02 168332
HPG-OC01-4-003-01

เดินระบบไฟฟ้าในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. ตรวจอุปกรณ์ตาม Check list (e-log sheet) และระบุสิ่งผิดปกติของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-4-003-01.03 168333
HPG-OC01-4-003-01

เดินระบบไฟฟ้าในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

4. แขวน/ปลด Lock out - Tag out พร้อมทั้งระบุสถานที่และรายงานสิ่งผิดปกติของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-4-003-01.04 168334
HPG-OC01-4-003-01

เดินระบบไฟฟ้าในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

5. รายงานสถานะของระบบที่รับผิดชอบเพื่อส่งมอบกะ

HPG-OC01-4-003-01.05 168335
HPG-OC01-4-003-02

เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในงาน Start-up และ Shutdown ของระบบไฟฟ้า ในสภาวะต่างๆ ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายหลักการ Start-Up ระบบไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

HPG-OC01-4-003-02.01 168336
HPG-OC01-4-003-02

เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในงาน Start-up และ Shutdown ของระบบไฟฟ้า ในสภาวะต่างๆ ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. อธิบายหลักการ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

HPG-OC01-4-003-02.02 168337
HPG-OC01-4-003-02

เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในงาน Start-up และ Shutdown ของระบบไฟฟ้า ในสภาวะต่างๆ ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับ Start Up และ  Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

HPG-OC01-4-003-02.03 168338
HPG-OC01-4-003-02

เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในงาน Start-up และ Shutdown ของระบบไฟฟ้า ในสภาวะต่างๆ ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

4. ทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) ของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-4-003-02.04 168339
HPG-OC01-4-003-02

เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในงาน Start-up และ Shutdown ของระบบไฟฟ้า ในสภาวะต่างๆ ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

5. แจ้งปัญหาระหว่าง Start up และ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-4-003-02.05 168340
HPG-OC01-4-003-03

แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของระบบไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำระหว่างการเกิดภาวะฉุกเฉิน 

HPG-OC01-4-003-03.01 168341
HPG-OC01-4-003-03

แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของระบบไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

2. อธิบายวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของระบบไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-4-003-03.02 168342
HPG-OC01-4-003-03

แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของระบบไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

3. แขวน/ปลด Lock out - Tag out พร้อมทั้งระบุสถานที่และรายงานปัญหาของระบบไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

HPG-OC01-4-003-03.03 168343

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการปฏิบัติงานเดินระบบสภาพปกติ (Normal Operation) ของระบบไฟฟ้า

2.    ทักษะการสังเกตเพื่อรวบรวมปัญหาและหาสาเหตุด้วยวิธีสังเกตได้ยินได้กลิ่นและภาษาสัมผัสเช่นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

3.    ทักษะการอ่านแบบไฟฟ้า

4.    ทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง เครื่องมืออ่านค่าแสดงผลแบบต่างๆ เช่นเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดหรือปืนวัดอุณหภูมิ (Infrared Thermometer) มัลติมิเตอร์ (Multimeter) ประแจ

5.    ทักษะการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าระบบ

6.    ทักษะการ Switching ระบบไฟฟ้า

7.    ทักษะในการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล Personal Protection Equipment :PP ประกอบด้วยอุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection) อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Safety Glasses)  อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection) อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection) และอุปกรณ์ป้องกันเท้า  (Safety Footwear) 

8.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

9.    ทักษะการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ

10.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

11.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น เช่น ระบบไฟฟ้า 1 เฟส ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า    เป็นต้น

2.    มีความรู้และทักษะในการอ่านแบบไฟฟ้า

3.    หลักการทำงานและขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้าพลัง เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator), กังหันน้ำ (Turbine), Excitation Governor เป็นต้น

4.    หลักการขั้นตอนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์

5.    หลักการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าระบบไฟฟ้า

6.    หลักการและขั้นตอน Switching ระบบไฟฟ้า

7.    ความรู้ด้านความปลอดภัยอาชีวะอนามัยในโรงไฟฟ้าเบื้องต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

 (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการเดินระบบในสภาวะปกติ เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Start-up และ Shut-down แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข และทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาไฟฟ้า

(ก)    คำแนะนำ 

    ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการเดินเครื่องระบบไฟฟ้าโดยต้องทราบถึงหลักการเดินเครื่องระบบไฟฟ้า

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.ระบบไฟฟ้า หมายถึง

-    Electrical Machine

-    Generator

-    Transformer

-    Motor

-    Switchyard

-    Circuit Breaker

-    Disconnecting Switch

-    UPS (Battery Charge Inverter)

-    Excitation

2. เดินระบบไฟฟ้าในสภาวะปกติ (Normal Operation) หมายถึง ระบบไฟฟ้าสามารถใช้งานปกติและพารามิเตอร์ต่างๆอยู่ในเขตปกติตามที่ระบุไว้ในคู่มือ

3. การสลับการทำงานของอุปกรณ์ เป็นการเดินเครื่องอุปกรณ์ Stand by สลับกับอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ตามแผนการสลับอุปกรณ์

4. Check list (Log Sheet) หมายถึง หมายถึง แบบฟอร์มที่ถูกกำหนดไว้ โดยมีรายละเอียดอุปกรณ์ที่สำคัญต่อระบบผลิต ที่จะต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ โดยแบบฟอร์ม (Electronic) จะระบุสิ่งที่ต้องสังเกตุ ตรวจวัดและบันทึกเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงแนวโนมที่ค่าต่างๆ ว่าเบี่ยงเบนจากเป้าหมายตั้งไว้หรือไม่ เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขต่อไป

5. สิ่งผิดปกติของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า หมายถึง สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับ ระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และระบบส่งพลังงานไฟฟ้า ซึ่งการเกิดฟอลต์อาจทำให้ให้เกิดผลเสียหายต่อระบบผลิตไฟฟ้า และส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า เช่นความผิดปกติในการทำงานของระบบควบคุม  ที่ไม่เป็นไปตาม Normal operation และสภาพที่ไม่เป็นไปตามค่าที่ออกแบบไว้เช่น Over current, Temp too high, Transmission Line fault, ฟ้าผ่า, Reverse Power ส่งผลให้ Relay Protection Operate เป็นต้น

6. รายงานสถานะ คือ การรายงานผลการตรวจสอบสถานะของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับหัวหน้างานกะ และรวมถึงการรายงานสถานะของระบบที่รับผิดชอบเพื่อส่งมอบกะ

7. การ Start-up โรงไฟฟ้าพลังน้ำ หมายถึง กระบวนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน Mode ต่างๆ เช่น Generator Mode, Synchronous Condenser Mode และ Pump Mode

8. การ Shutdown โรงไฟฟ้าพลังน้ำ หมายถึง การหยุดเครื่องโดยขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ตามสถานการณ์สภาวะต่างๆ ได้แก่ Normal shutdown, Emergency Shutdown

9. ตรวจสอบสถานะระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับการ Startup และ Shutdown โดยจะดำเนินการตรวจสอบสถานะระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าพร้อมทั้งแจ้งสิ่งผิดปกติของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นก่อนและระหว่างการ Start up และ Shut down

10. แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของระบบไฟฟ้า โดยจะดำเนินการตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขปัญหาหน้างานที่ไม่ซับซ้อน เช่น ในกรณี Circuit Breaker ไม่สามารถ Close

11. สภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) หมายถึง สภาพหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด เป็นเรื่องเร่งด่วนโดยไม่ได้มีการคาดคิดมาล่วงหน้า และส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิต ทรัพย์สิน บุคคล ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

12. ตรวจสอบสถานะระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ โดยจะดำเนินการตรวจสอบสถานะและสิ่งผิดปกติของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ เมื่อพบสิ่งผิดปกติสามารถระบุสิ่งผิดปกติ และดำเนินการตัดแยกระบบพลังงานไฟฟ้าออก (Lock out - Tag out) และแจ้งปัญหารวมถึงประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไข และเก็บข้อมูลของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาหยุดตามวาระอย่างถูกต้อง

13. แขวน/ปลด Lock out-Tag out (LOTO) 

    - Lock out คือ การล็อคและตัดแยกระบบพลังงานไฟฟ้าออกไป เป็นการสร้างความมั่นใจว่าพลังงานไฟฟ้าได้ถูกตัดแยกไปแล้วและอยู่ในการควบคุมไม่ให้มีพลังงานไฟฟ้า ตราบใดอุปกรณืนี้ยังถูกล็อคยังถูก ไปจนกว่าจะเสร็จกระบวนการ

    - Tag out คือการแขวนป้ายบนอุปกรณ์ตัดแยกพลังงานไฟฟ้าโดยจะต้องทำงานพร้อมกันกับรถบบล็อค ถึงได้เรียกว่า LOTO โดยป้ายทะเบียนนี้จะเป็นตัวบอกว่าตอนนี้พลังงานไฟฟ้านั้นได้ถูกตัดแยกหมดไปแล้ว มีรายละเอียดดังนี้

13.1 เตรียมการตัดแยกระบบไฟฟ้า ก่อนที่จะทำการ ปิด การทำงานของระบบไฟฟ้าจะต้องมีความรู้และตัดสินใจได้ว่า การจะตัดระบบไฟฟ้านี้ต้องดำเนินการกับอุปกรณ์ใดบ้าง

13.2 ตัดแยกระบบไฟฟ้า โดยการปลด-สับ อุปกรณ์การตัดแยกแหล่งพลังงานไฟฟ้า เช่น Circuit Breaker, Disconnecting Switches (DS), Ground Cluster เป็นต้น

13.3. ใช้อุปกรณ์ระบบล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์ (Log out/Tag out Device Application) อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแยกพลังงานไฟฟ้าจะประกอบไปด้วยตัวล็อกและป้ายแท็กเอ้าท์ ซึ่งใช้โดยผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายหน้าที่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ทั้งตัวล็อกและป้ายแท็กเอ้าท์จะต้องติดกับตัวอุปกรณ์ที่ทำการตัดแยก

13.4 ปลดปล่อย/ควบคุมพลังงานสะสม (Stored Energy Release/Restraint) หลังจากตัดแยกแหล่งพลังงานไฟฟ้าแล้ว เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยจากพลังงานไฟฟ้าที่เป็นอันตรายซึ่งยังตกค้างหรือเก็บสํารองไว้

13.5 ตรวจสอบ (Verification) เมื่อเริ่มทำงานกับระบบไฟฟ้าที่มีการควบคุมพลังงานด้วยระบบล็อกเอ้าท์และป้ายแท็กเอ้าท์ ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานจะต้องตรวจสอบและยืนยันสถานะ “ปลอดพลังงาน” ของเครื่องจักรตลอดระบบไฟฟ้าตลอดเวลาระหว่างการบริการหรือซ่อมบํารุง

13.6 ปลดอุปกรณ์ระบบล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์ โดยผู้ติดตั้งอุปกรณ์ระบบ ล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์เท่านั้นจะเป็นผู้ปลด ก่อนปลดจะต้องตรวจสอบความพร้อมการทำงานของระบบไฟฟ้าและส่วนประกอบต่าง ๆ และตําแหน่งผู้ปฏิบัติงานทุกคนอยู่ในที่ปลอดภัย

14. ทดสอบความพร้อมระบบ (Function Test) ของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า หมายถึง การทดสอบ Function ของอุปกรณ์ และระบบ Start/Stop, Close/Open, Protection and Logic Control ก่อนส่งมอบ ให้เป็นไปตาม Logic และค่า Setting ต่างๆที่ได้ถูกออกแบบไว้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (Energized) เชิงแก้ไขกรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (Energized) เชิงแก้ไขกรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (Energized) เชิงแก้ไขกรณีไม่ดับกระแสไฟฟ้า

    18.2 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (De-energized) เชิงแก้ไข กรณีดับกระแสไฟฟ้า

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (De-energized) เชิงแก้ไข กรณีดับกระแสไฟฟ้า

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (De-energized) เชิงแก้ไข กรณีดับกระแสไฟฟ้า

    18.3 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Unplanned)

(1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Unplanned)

(2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Unplanned)

 



ยินดีต้อนรับ