หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาระบบส่งกำลังไฟฟ้าในสภาวะฉุกเฉิน (Restoration) (ไฟดับ)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-KSEV-410A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาระบบส่งกำลังไฟฟ้าในสภาวะฉุกเฉิน (Restoration) (ไฟดับ)

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4

ISCO-08 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคเทคนิคประจำสถานีจ่ายไฟ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาระบบส่งกำลังไฟฟ้าในสภาวะฉุกเฉิน (Restoration) (ไฟดับ) โดยจะดำเนินการแก้ไขปัญหาหม้อแปลงส่งกำลังไฟฟ้าขัดข้อง ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจุดจ่ายไฟและสายส่งขัดข้อง และปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา Main Bus จ่ายไฟขัดข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 255810.2 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 255410.3 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 254910.4 มาตรฐานการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกายตามหลักการยศาสตร์ (มปอ.302:2561)10.5 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง (มปอ.101:2561)10.6 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 10.7 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับควาร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 255910.8 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 10.9 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย 255510.10 มาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล กระทรวงแรงงาน10.11 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟาสำหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า (ฉบับที่ 2)10.12 มาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล กระทรวงแรงงาน10.13 มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงาน (พ.ศ. 2557)10.14 อื่น ๆ ที่เกี่ยวช้อง  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-OC02-4-004-01

แก้ไขปัญหาหม้อแปลงส่งกำลังไฟฟ้าขัดข้อง

1. ตรวจสอบการแสดงผลการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันที่ควบคุมและป้องกันหม้อแปลง และความผิดปกติของอุปกรณ์ Self- Protection ของหม้อแปลงเบื้องต้นที่เกิดขึ้น

EPT-OC02-4-004-01.01 169540
EPT-OC02-4-004-01

แก้ไขปัญหาหม้อแปลงส่งกำลังไฟฟ้าขัดข้อง

2. รายงานศูนย์ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า

EPT-OC02-4-004-01.02 169541
EPT-OC02-4-004-01

แก้ไขปัญหาหม้อแปลงส่งกำลังไฟฟ้าขัดข้อง

3. นำหม้อแปลงกลับคืนเข้าสู่ระบบตามขั้นตอนที่กำหนด ในกรณีหม้อแปลงสามารถกลับมาทำงานปกติ

EPT-OC02-4-004-01.03 169542
EPT-OC02-4-004-01

แก้ไขปัญหาหม้อแปลงส่งกำลังไฟฟ้าขัดข้อง

4. ปลดหม้อแปลงออกจากระบบ ในกรณี Self-Protection ของหม้อแปลงทำงาน หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจ่ายกระแสไฟฟ้าของหม้อแปลงชำรุดเสียหายเสียหาย 

EPT-OC02-4-004-01.04 169543
EPT-OC02-4-004-01

แก้ไขปัญหาหม้อแปลงส่งกำลังไฟฟ้าขัดข้อง

5. สรุปรายงานปัญหาหม้อแปลงส่งกำลังไฟฟ้าและแจ้งหน่วยบำรุงรักษาดำเนินการแก้ไข 

EPT-OC02-4-004-01.05 169544
EPT-OC02-4-004-02

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจุดจ่ายไฟและสายส่งไฟฟ้าขัดข้อง

1. ตรวจสอบการแสดงผลการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันสายส่ง ระยะทางและ Phase Fault ที่สายส่งที่ขัดข้อง 

EPT-OC02-4-004-02.01 169545
EPT-OC02-4-004-02

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจุดจ่ายไฟและสายส่งไฟฟ้าขัดข้อง

2. รายงานศูนย์ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า

EPT-OC02-4-004-02.02 169546
EPT-OC02-4-004-02

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจุดจ่ายไฟและสายส่งไฟฟ้าขัดข้อง

3. นำจุดจ่ายไฟและสายส่งกลับคืนเข้าสู่ระบบตามขั้นตอนที่กำหนด ในกรณีจุดจ่ายไฟและสายส่งสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ (Temporary Fault) ปกติ

EPT-OC02-4-004-02.03 169547
EPT-OC02-4-004-02

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจุดจ่ายไฟและสายส่งไฟฟ้าขัดข้อง

4. ปลดอุปกรณ์เชื่อมต่อจุดจ่ายไฟและสายส่งออกจากระบบ ในกรณีจุดจ่ายไฟและสายส่งไม่สามารถนำกลับคืนเข้าจ่ายกระแสไฟในระบบได้ (Permanent Fault)

EPT-OC02-4-004-02.04 169548
EPT-OC02-4-004-02

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจุดจ่ายไฟและสายส่งไฟฟ้าขัดข้อง

5. สรุปรายงานปัญหาจุดจ่ายไฟและสายส่งไฟฟ้าและแจ้งหน่วยบำรุงรักษาดำเนินการแก้ไข 

EPT-OC02-4-004-02.05 169549
EPT-OC02-4-004-03

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา Main Bus จ่ายไฟฟ้าขัดข้อง

1. ตรวจสอบการแสดงผลการทำงานของอุปกรณ์ป้องกัน Bus และ สภาพของ Main Bus จ่ายกระแสไฟ เพื่อหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นและความผิดปกติของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเบื้องต้นกับ Bus

EPT-OC02-4-004-03.01 169554
EPT-OC02-4-004-03

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา Main Bus จ่ายไฟฟ้าขัดข้อง

2. รายงานศูนย์ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า 

EPT-OC02-4-004-03.02 169555
EPT-OC02-4-004-03

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา Main Bus จ่ายไฟฟ้าขัดข้อง

3. นำ Main Bus กลับคืนเข้าสู่ระบบตามขั้นตอนที่กำหนด ในกรณี Main Bus สามารถกลับมาทำงานปกติ

EPT-OC02-4-004-03.03 169556
EPT-OC02-4-004-03

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา Main Bus จ่ายไฟฟ้าขัดข้อง

4. ปลดอุปกรณ์ตัดตอนที่เชื่อมต่อ Main Bus ออกจากระบบ  ในกรณี Main Bus ไม่สามารถนำกลับคืนเข้าระบบ

EPT-OC02-4-004-03.04 169557
EPT-OC02-4-004-03

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา Main Bus จ่ายไฟฟ้าขัดข้อง

5. นำ Bus สำรอง (Transfer bus) เข้าจ่ายไฟแทน Main Bus

EPT-OC02-4-004-03.05 169558
EPT-OC02-4-004-03

ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา Main Bus จ่ายไฟฟ้าขัดข้อง

6. สรุปรายงานปัญหา Main Bus จ่ายไฟฟ้าและแจ้งหน่วยบำรุงรักษาดำเนินการแก้ไข 

EPT-OC02-4-004-03.06 169559

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้พื้นฐานระบบส่งกำลังไฟฟ้า

12.2 ความรู้พื้นฐานหลักการทำงานอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง

12.3 ความรู้พื้นฐานหลักการทำงานระบบป้องกันสถานีและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

2. ทักษะการปฏิบัติงานกับระบบป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง 

3. ทักษะการปฏิบัติงานควบคุม อุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

4. ทักษะการเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือวัดสำหรับการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาระบบส่ง กำลังไฟฟ้า ในสภาวะฉุกเฉิน ( Restoration ) (ไฟดับ) 

5. ทักษะการวิเคราะห์สาเหตุ (กรณีเกิดความผิดปกติ) และกำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหาที่เกิด ขึ้นกับอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง (หม้อแปลง , Bus Bar , สายส่ง , อื่นๆ ) 

6. ทักษะการใช้งานระบบการจัดการปฏิบัติงานสถานีไฟฟ้าแรงสูงด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบบริหารจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Maintenance Management System: CMMS), ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม (Computerized Control System: CCS)

ทักษะในการทำงาน (Soft  Skills)

7. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน 

8. ทักษะการติดต่อประสานงาน

9. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

10. ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

11. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

2. หลักการทำงานของอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง

3. หลักการทำงานระบบป้องกันตัวเอง (Self Protection) ของหม้อแปลงกำลังไฟฟ้า

4. หลักการทำงานของระบบป้องกันสถานีและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

5. ความรู้เกี่ยวกับกำรใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงานสถานีได้อย่างปลอดภัย

6. วิธีการใช้เครื่องมือในการทำงาน การปฏิบัติงานสถานีไฟฟ้าแรงสูง ได้อย่างถูกต้อง

7. ความรู้การใช้ทำงานระบบการจัดการทำงานปฏิบัติงานสถานีไฟฟ้าแรงสูงด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบบริหารจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Maintenance Management System: CMMS), ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม (Computerized Control System: CCS)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานการศึกษา

2. เอกสารรับรองความรู้ความสามารถช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

3. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

5. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

6. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการแก้ไขปัญหาระบบส่งกำลังไฟฟ้า ในสภาวะฉุกเฉิน (Restoration) (ไฟดับ) ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจุดจ่ายไฟและสายส่งในกรณีเกิดความผิดปกติ และปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา Main Bus , หม้อแปลง ,สายส่ง  จ่ายไฟในกรณีเกิดความผิดปกติ

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการในงานสถานีไฟฟ้าแรงสูง โดยต้องทราบถึงหลักการทำงานของอุปกรณ์ การนำอุปกรณ์กลับเข้าจ่ายไฟได้โดยปกติ และใช้เวลาน้อยที่สุดย่อมลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น เพื่อให้พนักงานศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า/พนักงานประจำสถานีไฟฟ้าแรงสูง, พนักงานบำรุงรักษา/ตัวแทนได้ศึกษาหาความรู้ และทำให้เกิดความมั่นใจการปฏิบัติงาน และเป็นแนวทางการนำระบบกลับคืนสู่สภาวะปกติ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ตรวจสอบการแสดงผลการทำงานของอุปกรณ์ระบบป้องกันเมนบัสจ่ายไฟ เช่น  Bus Differential Protective Relay(87B) , Bus Lockout Relay (86B) , Bus Supervistion (95B)

1.1 ตรวจสอบสภาพของ Main Bus เพื่อประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น ณ.จุดเกิดเหตุ (Fault)  

1.2 ตรวจสอบสภาพ Main Bus ต้องปกติ คือไม่มีสิ่งแปลกปลอมหรือมลภาวะที่สามารถทำให้เกิดไฟลัดลงกราวด์ได้ (Fault)  (เช่น รังนก, ฝุ่น, ละออง  และอื่น ๆ)

1.3 ตรวจสอบสภาพการทำงานของ  Bus Differential Relay (87B), Lock-out Relay (86B), Breaker fail Lock-out Relay (86BF) ,  Check Circuit Current Relay (95B) , 50BF Failed opening circuit-breaker (50BF)

2. ความผิดปกติของอุปกรณ์เบื้องต้น เป็นคุณลักษณะภายนอกของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจ่ายกระแสไฟในสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่ชำรุดหรือผิดปกติ ที่สังเกตได้ เช่น

- ส่วนประกอบของหม้อแปลง (Transformer)

- ส่วนประกอบของเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

- ส่วนประกอบของเมนบัส  (Main Bus) 

- ส่วนประกอบของหม้อแปลงเครื่องวัด เช่น Current Transformer (CT) ,Potential Transformer (PT)

- ส่วนประกอบของอุปกรณ์รองรับอุปกรณ์(Support Equipment)

- จุดเชื่อมต่อระบบกราวด์ของอุปกรณ์กับกราวด์ของระบบ (Ground Equipment)

- ลักษณะของสายอลูมิเนียม (Conductor) และหางปลาจุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Clamp)

3. นำหม้อแปลงกลับคืนเข้าสู่ระบบตามขั้นตอนที่กำหนด ในกรณีหม้อแปลงสามารถกลับมาทำงานปกติ

3.1 ตรวจสอบข้อมูลอุปกรณ์ระบบป้องกัน ที่แสดงผล เช่น Differential relay (87K), Look-out relay(86K), Instantaneous overcurrent relay(50), overcurrent relay with inverse time(51), The homopolar overvoltage protection con- nected on the vectorial sum of the three phase VTs (open delta – residual voltage); (59N), 

3.2 รายงานต่อศูนย์ควบคุม ให้ทราบถึงหม้อแปลง Trip ออกจากระบบพร้อม Relay ที่ทำงาน

3.3 พิจารณาระบบป้องกันที่ทำงาน เพื่อให้ทราบถึงจุดที่ทำให้เกิด Fault ได้รวดเร็ว

3.4 ประเมินผลความเสียหายที่เกิดว่าจะสามารถนำหม้อแปลงกลับเข้าระบบได้หรือไม่

3.5 กรณีพบว่าเป็น Fault ชั่วคราว เคลี่ยระบบป้องกันที่ Lock การจ่ายไฟให้หม้อแปลง

3.6 นำหม้อแปลงกลับเข้าจ่ายไฟตามปกติ

3.7 กรณีตรวจพบว่าระบบป้องกันของหม้อแปลงทำงาน (Self Protection) ทำงาน

3.8 ประสานงานศูนย์ควบคุมปลดหม้อแปลงออกจากระบบ

3.9 รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และความเสียหาย แจ้งหน่วยบำรุงรักษา ทำการแก้ไขต่อไป

4. นำจุดจ่ายไฟและสายส่งกลับคืนเข้าสู่ระบบตามขั้นตอนที่กำหนด ในกรณีจุดจ่ายไฟและสายส่งสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ (Temporary Fualt) 

4.1 ตรวจสอบการแสดงผลของอุปกรณ์ระบบป้องกันที่ทำงาน เช่น Distance relay (impedance)(21), Directional Overcurrent Relay (67) , Reclosing Relay (79), Communications,Carrier or Pilot-Wire Relay(85) , (87L) line Differential relay

4.2 ประสานงานแจ้งศูนย์ควบคุมให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น(ข้อมูลของ Relay ที่ทำงาน)

4.3 ทดสอบปล่อยสัญญาณของเครื่อง Line Fault Locator เพื่อตรวจสภาพ Fault ในสายส่ง

4.4 เมื่อพบว่าสายส่งไม่สามารถนำเข้าใช้งานได้ แจ้งหน่วยบำรุงรักษาสายส่ง เพื่อเคลี่ยจุด Fault     ในสายส่ง

4.5 ปลดอุปกรณ์จ่ายไฟสายส่งออกจากระบบ พร้อมมาตรการณ์ Tag out

4.6 ตรวจความพร้อมอุปกรณ์ เตรียมนำสายส่งกลับใช้งาน หลังหน่วยบำรุงรักษาเคลี่ยจุด Fault     สำเร็จ

5. นำ Main Bus กลับคืนเข้าสู่ระบบตามขั้นตอนที่กำหนด ในกรณี Main Bus สามารถกลับมาทำงานปกติ 

5.1 จดบันทึกการทำงานของระบบป้องกัน 

5.2 กำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจาก Main bus พร้อมตรวจสอบสภาพการใช้งาน 

5.3 นำอุปกรณ์ที่ไม่พร้อมใช้งานออกจากการจ่ายไฟ

5.4 Reset Relay ที่เกี่ยวข้อง 

5.5 นำ Main Bus เข้าจ่ายไฟในระบบ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน แก้ไขปัญหาหม้อแปลงส่งกำลังไฟฟ้าขัดข้อง

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหม้อแปลงส่งกำลังไฟฟ้าขัดข้อง

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหม้อแปลงส่งกำลังไฟฟ้าขัดข้อง

18.2 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจุดจ่ายไฟและสายส่งขัดข้อง

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจุดจ่ายไฟและสายส่งขัดข้อง

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจุดจ่ายไฟและสายส่งขัดข้อง

18.3 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา Main Bus จ่ายไฟขัดข้อง

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา Main Bus จ่ายไฟขัดข้อง

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา Main Bus จ่ายไฟขัดข้อง

 



ยินดีต้อนรับ