หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานการส่งไฟฟ้าสถานีไฟฟ้าแรงสูง

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-ZTHF-408A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานการส่งไฟฟ้าสถานีไฟฟ้าแรงสูง

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4

ISCO-08 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคเทคนิคประจำสถานีจ่ายไฟ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถปฏิบัติงานการส่งไฟฟ้าสถานีไฟฟ้าแรงสูง โดยจะติดตามการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะปกติและสภาวะฉุกเฉิน ตรวจความพร้อมระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง และตรวจความผิดปกติของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้าได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-OC02-4-002-01

ติดตามการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน

1. อธิบายรายละเอียดรายงานเหตุการณ์ประจำวัน

EPT-OC02-4-002-01.01 169471
EPT-OC02-4-002-01

ติดตามการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน

2. ตรวจเช็คอุปกรณ์ที่แสดงผลตามในรายงานเหตุการณ์ประจำวัน

EPT-OC02-4-002-01.02 169472
EPT-OC02-4-002-01

ติดตามการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน

3. ติดตามความคืบหน้าเหตุการณ์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

EPT-OC02-4-002-01.03 169473
EPT-OC02-4-002-01

ติดตามการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน

4. รายงานเหตุการณ์ เมื่อเกิดความผิดปกติกับอุปกรณ์ส่งไฟฟ้า

EPT-OC02-4-002-01.04 169474
EPT-OC02-4-002-01

ติดตามการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน

5. สรุปรายงานเหตุการณ์ประจำวันได้ครบถ้วน (Logbook)

EPT-OC02-4-002-01.05 169475
EPT-OC02-4-002-02

ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะปกติ

1. อธิบายหลักการทำงานอุปกรณ์และระบุขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ส่งไฟฟ้า

EPT-OC02-4-002-02.01 169484
EPT-OC02-4-002-02

ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะปกติ

2. ตรวจอุปกรณ์ตาม Check sheet และระบุสิ่งผิดปกติของอุปกรณ์ส่งไฟฟ้า

EPT-OC02-4-002-02.02 169485
EPT-OC02-4-002-02

ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะปกติ

3. ปฏิบัติการควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะปกติ

EPT-OC02-4-002-02.03 169486
EPT-OC02-4-002-02

ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะปกติ

4. รายงานสิ่งผิดปกติของอุปกรณ์ส่งไฟฟ้า ระบุสถานที่ และแขวน Tag Out

EPT-OC02-4-002-02.04 169487
EPT-OC02-4-002-02

ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะปกติ

5. รายงานสถานะของอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อส่งมอบกะ

EPT-OC02-4-002-02.05 169488
EPT-OC02-4-002-03

ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะฉุกเฉิน

1. ปฏิบัติงานแขวน Tag Out  สถานที่เกิดเหตุฉุกเฉินของอุปกรณ์ส่งไฟฟ้า

EPT-OC02-4-002-03.01 169489
EPT-OC02-4-002-03

ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะฉุกเฉิน

2. แก้ไขปัญหาในการเกิดเหตุฉุกเฉินเบื้องต้น

EPT-OC02-4-002-03.02 169490
EPT-OC02-4-002-03

ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะฉุกเฉิน

3. แจ้งหน่วยงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าเข้าดำเนินการแก้ไข กรณีแก้ไขเบื้องต้นไม่ได้

EPT-OC02-4-002-03.03 169491
EPT-OC02-4-002-03

ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะฉุกเฉิน

4. สรุปรายงานเหตุการณ์ผิดปกติทั้งหมด

EPT-OC02-4-002-03.04 169492
EPT-OC02-4-002-04

ตรวจความพร้อมระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

1. อธิบายการทำงานของระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-002-04.01 169497
EPT-OC02-4-002-04

ตรวจความพร้อมระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

2. ตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์ควบคุมและป้องกัน ตามรายการ (Check List)

EPT-OC02-4-002-04.02 169498
EPT-OC02-4-002-04

ตรวจความพร้อมระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

3. ตรวจเช็คค่าวัดต่างๆ ในการควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-002-04.03 169499
EPT-OC02-4-002-04

ตรวจความพร้อมระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

4. แก้ไขปัญหาหน้างานของระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-002-04.04 169500
EPT-OC02-4-002-04

ตรวจความพร้อมระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

5. รายงานผลการตรวจความพร้อมระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-002-04.05 169501
EPT-OC02-4-002-05

ตรวจความผิดปกติของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า

1. อธิบายหลักการทำงานของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า

EPT-OC02-4-002-05.01 169506
EPT-OC02-4-002-05

ตรวจความผิดปกติของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า

2. ตรวจสอบอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้าว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 

EPT-OC02-4-002-05.02 169507
EPT-OC02-4-002-05

ตรวจความผิดปกติของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า

3. แก้ไขปัญหาหน้างานของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า

EPT-OC02-4-002-05.03 169508
EPT-OC02-4-002-05

ตรวจความผิดปกติของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า

4. รายงานผลการตรวจความผิดปกติของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า

EPT-OC02-4-002-05.04 169509

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการควบคุมอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

2. ทักษะการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าเบื้องต้น

3. ทักษะการอ่านแบบไฟฟ้า

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

4. ทักษะการติดต่อประสานงาน

5. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

6. ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

7. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

8. ทักษะการนำเสนอผลงาน





 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ทฤษฎีไฟฟ้าเบื้องต้น เช่น ระบบไฟฟ้า 1 เฟส ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น

2. อุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

2. ระบบควบคุมและป้องกันในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

3. คำศัพท์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. เอกสารรับรองความรู้ความสามารถช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

3. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

5. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

6. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานการส่งไฟฟ้าสถานีไฟฟ้าแรงสูง โดยพิจารณาจากการติดตามการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะปกติและสภาวะฉุกเฉิน ตรวจความพร้อมระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง และตรวจความผิดปกติของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ตรวจเช็คอุปกรณ์ที่แสดงผลตามในรายงานเหตุการณ์ประจำวัน โดยจะดำเนินการตรวจเช็คอุปกรณ์ดังนี้

1.1 ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม (Computerized Control System: CCS) โดยตรวจ

- Alarm เช่น ข้อมูลใช้สื่อสารแจ้งเหตุผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบเพื่อการแจ้งเตือน

- Status เช่น ข้อมูลแสดงสถานะบอกตำแหน่งการทำงานของอุปกรณ์ เช่น เปิด-ปิด

- ค่า Analog เช่น ค่าวัตต์(MW) ค่าวาร์(MVarx ค่าแรงดันไฟฟ้า หน่วยวัดต่างๆ เป็นต้น

- General Tag เช่น ป้ายเตือนกระดาษ หรือ ป้ายเตือนในโปรแกรมคอมพิวเตอร์

1.2  Annunciator Panels เช่น ตู้บรอด์รวมชุดแสดงผลสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ในสถานีฯ

1.3 อุปกรณ์ระบบป้องกัน (Relay Protection)

1.4 อุปกรณ์ระบบสื่อสาร (Communication Systems)

2. ตรวจอุปกรณ์ตาม Check sheet เป็นรายการตรวจการทำงานของอุปกรณ์ หม้อแปลงไฟฟ้า, เบรคเกอร์, Current Transformer (CT), Potential Transformer (PT), Disconnecting Switch (DS), แบตเตอรี่, อื่นๆ เช่น Fire Alarm, Water Pump, Air-condition

3. Tag out หมายถึง การติดป้ายแจ้งเตือนที่ตัวอุปกรณ์ที่ผิดปกติ เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า, เบรคเกอร์, Current Transformer (CT), Potential Transformer (PT), Disconnecting Switch (DS),  แบตเตอรี่, อื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์จะไม่สามารถใช้งานได้ มีการปฏิบัติดังนี้

3.1 ตัดแยกอุปกรณ์ที่ผิดปกติ ออกจากการใช้งาน โดยตัดแยกแหล่งพลังงานที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) เป็นต้น

3.2 แขวนป้ายแท็กเอ้าท์ (Tag out Device Application) กับชุดควบคุมอุปกรณ์ที่ผิดปกตินั้น

3.3 ปลดป้ายแท็กเอ้าท์ หลังจากแก้ไขให้อุปกรณ์เป็นปกติ และพร้อมนำกลับเข้าใช้งาน

4. แก้ไขปัญหาในการเกิดเหตุฉุกเฉินเบื้องต้น โดยการดำเนินการตรวจหาสาเหตุเกิดเหตุฉุกเฉิน แล้วจึงแก้ไขปัญหาหน้างาน เช่น

- ปัญหา No Fuse Breaker ตก เช่น Motor Drive ทริป

  วิธีการแก้ไข ตรวจหาสาเหตุในวงจรที่ป้องกันอยู่ แล้วจึงดำเนินแก้ไข

- ปัญหา พบจุดต่อร้อน เห็นได้ชัดเจน 

  วิธีการแก้ไข ปลดอุปกรณ์นั้นออกจากการใช้งานอย่างเร่งด่วน

- ปัญหา Low Gas Alarm (SF6) ในเบรคเกอร์ 

  วิธีการแก้ไข ปลดเบรคเกอร์ออกจากการใช้งานอย่างเร่งด่วน

5. ตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์ควบคุมและป้องกัน ตามรายการ (Check List) โดยจะดำเนินการตรวจเช็ค ดังนี้

- แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) 

- สถานะอุปกรณ์ที่แสดงผล (Status) พร้อมใช้งานปกติ

- จอแสดงผล (Monitor Display) สามารถใช้งานได้ปกติ

6. ตรวจเช็คค่าวัดต่าง ๆ ในการควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง ดังนี้

- ค่าพลังงานไฟฟ้า (MW&MVAR) Flow in – Flow out ต้องใกล้เคียงกัน

- ค่าแรงดันไฟฟ้า (KV.) ที่สายส่งไฟฟ้า

- ค่า AC Supply, DC Supply ที่ใช้ในการควบคุมระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าในสถานีไฟฟ้า

- ค่ากระแสไฟตรงรั่วลงกราวด์

- ค่าแสดงผลใน Meter ซื้อ-ขาย พลังงานไฟฟ้า

7. อุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า ประกอบด้วย

- หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง Transformer (TX)

- เบรคเกอร์  Power Circuit Breaker (BKR.)

- หม้อแปลงเครื่องวัดกระแส Current Transformer (CT)

- หม้อแปลงเครื่องวัดแรงดัน Potential Transformer (PT)

- สวิทช์ใบมีด Disconnecting Switch (DS)

- อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกินชั่วขณะ Lightning Arrester (LA)

- จุดรวมเชื่อมต่ออุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า Bus Bar

- กราวดน์อุปกรณ์ Ground Equipment

- อื่นๆ 

8. แก้ไขปัญหาหน้างานของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า โดยการดำเนินการตรวจหาสาเหตุ แล้วจึงแก้ไขปัญหาหน้างาน เช่น

- น้ำซึมเข้าตู้ Control Cabinet โดยเปลี่ยนซีลฝาตู้

- เปลี่ยนหลอดไฟแสดงสถานะทำงานของอุปกรณ์

- เปลี่ยนฟิวส์ของ Station Service

- แก้ไขอุปกรณ์ป้องกันสัตว์ที่ชำรุด

- เปลี่ยนสารดูดความชื้นของหม้อแปลงไฟฟ้า

-  อื่นๆ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ติดตามการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการติดตามการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการติดตามการรายงานเหตุการณ์ประจำวัน

18.2  เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะปกติ

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะปกติ

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะปกติ

18.3  เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะฉุกเฉิน

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะฉุกเฉิน

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานควบคุมอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าในสภาวะฉุกเฉิน

18.4 เครื่องมือประเมิน ตรวจความพร้อมระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจความพร้อมระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจความพร้อมระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

18.5 เครื่องมือประเมิน ตรวจความผิดปกติของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของอุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้า

 



ยินดีต้อนรับ