หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-NGJM-407A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

3. ทบทวนครั้งที่ / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4

ISCO-08 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคเทคนิคประจำสถานีจ่ายไฟ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง โดยจะปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานีไฟฟ้าแรงสูง ปฏิบัติงานกับสารเคมีในสถานีไฟฟ้าแรงสูง และปฏิบัติงานกับเครื่องจักรในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย รวมถึงปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยใน         การปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบส่งพลังงานไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ   ทำงาน พ.ศ. 255510.2 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 255410.3 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 254910.4 มาตรฐานการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกายตามหลักการยศาสตร์ (มปอ.302:2561)10.5 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง (มปอ.101:2561)10.6 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 10.7 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับควาร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 255910.8 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 255610.9 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย 255510.10 มาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล กระทรวงแรงงาน10.11 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า สำหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า (ฉบับที่ 2)10.12 อื่น ๆ ที่เกี่ยวช้อง  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EPT-OC02-4-001-01

ปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์และหลักปฏิบัติในการทำงานบนที่สูงด้านความปลอดภัย

EPT-OC02-4-001-01.01 169445
EPT-OC02-4-001-01

ปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

2. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงสำหรับการปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-001-01.02 169446
EPT-OC02-4-001-01

ปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

EPT-OC02-4-001-01.03 169447
EPT-OC02-4-001-01

ปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

4. ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ในการทำงานบนที่สูงสำหรับการปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-001-01.04 169448
EPT-OC02-4-001-01

ปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

5. รายงานเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูงในการปฏิบัติงานที่สถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-001-01.05 169449
EPT-OC02-4-001-02

ปฏิบัติงานกับสารเคมีในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

1. อธิบายคุณสมบัติ, อันตราย ของสารเคมีที่ส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-001-02.01 169456
EPT-OC02-4-001-02

ปฏิบัติงานกับสารเคมีในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

2. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีที่ใช้งานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-001-02.02 169457
EPT-OC02-4-001-02

ปฏิบัติงานกับสารเคมีในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

3. ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ในการทำงานกับสารเคมี

EPT-OC02-4-001-02.03 169458
EPT-OC02-4-001-02

ปฏิบัติงานกับสารเคมีในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

4. รายงานเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีในการปฏิบัติงานที่สถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-001-02.04 169459
EPT-OC02-4-001-03

ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์และหลักปฏิบัติในการทำงานกับเครื่องจักรด้านความปลอดภัย

EPT-OC02-4-001-03.01 169460
EPT-OC02-4-001-03

ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

2. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฏหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรสำหรับการปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-001-03.02 169461
EPT-OC02-4-001-03

ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

3. ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ในการทำงานกับเครื่องจักร

EPT-OC02-4-001-03.03 169462
EPT-OC02-4-001-03

ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

4. รายงานเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับเครื่องจักรในการปฏิบัติงานที่สถานีไฟฟ้าแรงสูง

EPT-OC02-4-001-03.04 169463
EPT-OC02-4-001-04

ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching)

1. อธิบายกฎเฉพาะงานของการปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching)

EPT-OC02-4-001-04.01 169464
EPT-OC02-4-001-04

ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching)

2. อธิบายการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และอุปกรณ์สำหรับการปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching) 

EPT-OC02-4-001-04.02 169465
EPT-OC02-4-001-04

ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching)

3. แขวนป้ายห้าม (Tag) สำหรับการปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching)

EPT-OC02-4-001-04.03 169466

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

12.2 ความรู้การป้องกันและระงับอัคคีภัย

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเลือกใช้/การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2. ทักษะการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 

3. ทักษะการตัดสินใจโดยการประมวลผลจากเหตุการณ์เฉพาะหน้า 

4. ทักษะการสื่อสาร เช่น รายงานผลด้วยวาจาโดยการสื่อสารด้วยภาษาที่ถูกต้อง/ชัดเจน

5. ทักษะการสังเกตสิ่งผิดปกติ ความผิดปกติของเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่ออันตราย ประกายไฟ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และนโยบายด้านความปลอดภัยขององค์กร เช่น 

- ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

- ความปลอดภัยในการใช้สารเคมีที่เกี่ยวข้องในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

2. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามลักษะงาน

3. ความรู้เกี่ยวกับอันตราย/ความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

4. ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสถานีไฟฟ้าแรงสูง

5. ความรู้ในวิธีการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นกับสถานีไฟฟ้าแรงสูง

6. ความรู้ในการดูแลสุขอนามัยของตนเองในการปฏิบัติงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง เช่น

- โรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง

- วิธีการดูแลตนเองในการทำงานเป็นกะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4. หลักฐานการผ่านการอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 (ต้องมี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. เอกสารรับรองความรู้ความสามารถช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

3. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

5. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

6. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

  (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4. หลักฐานการผ่านการอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 (ต้องมี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. เอกสารรับรองความรู้ความสามารถช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

3. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

5. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

6. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในสถานีไฟฟ้าแรงสูง โดยพิจารณาจากการปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานีไฟฟ้าแรงสูง ปฏิบัติงานกับสารเคมีในสถานีไฟฟ้าแรงสูง และปฏิบัติงานกับเครื่องจักรในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย รวมถึงปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching)



(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องผ่านการอบรมความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และ ความรู้การป้องกันและระงับอัคคีภัย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. สารเคมีที่ใช้งานในสถานีไฟฟ้าแรงสูง ประกอบด้วย 

1.1 สารเคมีที่ใช้กับแบตเตอรี่ กรดกำมะถัน (H2SO4) , กรดเกลือ (hydrochloric acid) , ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphur dioxide) , ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (Sulfur hexafluoride) , กรดซัลฟูริก (Sulfuric acid) 

1.2 สารเคมีที่ใช้กับเบรกเกอร์ ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (Sulfur hexafluoride) SF6 , ไนโตรเจน (NITROGEN) (N2 Gas) 

1.3 สารเคมีที่ใช้กับหม้อแปลง Chlorodiphenyl (PCBS)  

1.4 สารเคมีที่ใช้กับระบบดับเพลิง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ,แก๊สเฉื่อย Inert Gas , ผงเคมีแห้ง (Dry Chemical)

2. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) เช่น 

2.1 อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ เช่น หมวกนิรภัยชนิดG (General) หมวกนิรภัยชนิดE (Electrical) 

2.2 อุปกรณ์ป้องกันระบบการได้ยิน เช่น ครอบหูป้องกันเสียง (Ear muffs) ปลั๊กอุดหูลดระดับเสียง

2.3 อุปกรณ์ป้องกันดวงตา เช่น แว่นตานิรภัย (Safety spectacles) แว่นตาป้องกันแสงแดดจ้า (Sunglasses and sunglare filters) ครอบตานิรภัย (Impact goggles) ครอบตาป้องกันสารเคมี (Chemical goggles) ครอบตาเชื่อมโลหะ (Welding goggles) กระบังป้องกันใบหน้าแบบครอบศีรษะ (Face shields and headgear)

2.4 อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ เช่น หน้ากากกรองอนุภาค (Particulate masks) หน้ากากป้องกันสารเคมีแบบครึ่งใบหน้า (Half-face respirator) หน้ากากป้องกันสารเคมีแบบเต็มใบหน้า (Full face respirator) หน้ากากป้องกันควันเชื่อม สำหรับช่างเชื่อม (Welding fumes respirator)

2.5 อุปกรณ์ป้องกันลำตัว เช่น เอี้ยมป้องกันสารเคมี (Chemical apron) ชุดป้องกันฝุ่นและอนุภาค (Protective clothing for use against solid particulates) ชุดป้องกันสารเคมี (Chemical suit) ชุดป้องกันสารเคมีชนิดที่มีความเข้มข้นสูง (High concentrated chemical suit)

2.6 อุปกรณ์ป้องกันมือและแขน เช่น ถุงมือป้องกันความร้อน (Heat resistance gloves), ถุงมือป้องกันความเย็น (Cold resistance gloves) ถุงมือป้องกันสารเคมี (Chemical gloves), ถุงมือหนัง (Leather gloves), ถุงมือยางกันไฟฟ้า และถุงมือหนังป้องกันถุงมือยางกันไฟฟ้า (Rubber insulating gloves and leather protectors for rubber insulating gloves)

2.7 อุปกรณ์ป้องกันเท้าและขา เช่น รองเท้าหนังนิรภัย (Leather safety footwear) , บู๊ตยางนิรภัย (Safety rubber boots) , บู๊ตยางป้องกันสารเคมี (Chemical boots)

2.8 อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง เช่น เข็มขัดนิรภัยแบบที่ 1 (Safety belt 1) ,เข็มขัดนิรภัยแบบที่ 2 (Safety belt 2) ,อุปกรณ์ป้องกันการตก ชนิดล็อคการตก (Fall arrest system) ,อุปกรณ์ป้องกันการตก แบบใช้สายยึดกันตก ชนิดม้วนเก็บได้ (Retractable type fall arresters)

2.9 อุปกรณ์ป้องกันพิเศษเฉพาะงาน เช่น หมวกกันกระแทก (Industrial bump caps) ,ครอบศีรษะและคลุ่มไหล่งานเชื่อม, เสื้อชูชีพ (Life jackets), เสื้อพยุงตัว (Buoyancy aids) 

3. อุปกรณ์สำหรับการปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching) ประกอบด้วย ไม้ชักฟิวส์แรงสูง (Hot Stick),  ชุดจับกราวด์ (Ground Cluster & Ground Clamp) , ถุงมือยางกันไฟฟ้า และถุงมือหนังป้องกันถุงมือยางกันไฟฟ้า (Rubber insulating gloves and leather protectors for rubber insulating gloves) , หมวกนิรภัยชนิดE (Electrical) , บู๊ตยางนิรภัย (Safety rubber boots)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

18.2 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานกับสารเคมีในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับสารเคมีในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับสารเคมีในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

18.3 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรในสถานีไฟฟ้าแรงสูงตามหลักความปลอดภัย

18.4 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching)

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching)

(2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปลด-สับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Switching)

 



ยินดีต้อนรับ