หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-RGJR-544A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลัก และขั้นตอนในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์  ค่ามาตรฐานความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมัน แปรผลการเคราะห์ตัวอย่างดิน และเปรียบเทียบค่าผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินกับค่ามาตรฐานได้อย่างถูกต้องและมีทักษะทางเทคนิคในการประยุกต์ใช้ความรู้ ได้แก่ การเตรียมอุปกรณ์ และการเตรียม เก็บ บันทึก และส่งตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์ และสามารถเลือกชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดินที่ทราบจากการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
P241 เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหาร 1. อธิบายขั้นตอนในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์ 168095
P241 เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหาร 2. เตรียมอุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างดิน 168096
P241 เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหาร 3. เก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์ 168097
P241 เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหาร 4. บันทึกข้อมูลตัวอย่างดิน 168098
P241 เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหาร 5. ส่งตัวอย่างดินเพื่อทำการวิเคราะห์ 168099
P242 วิเคราะห์ธาตุอาหารในตัวอย่างดิน 1. เตรียมตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์ 168100
P242 วิเคราะห์ธาตุอาหารในตัวอย่างดิน 2. ส่งตัวอย่างดินให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการวิเคราะห์ 168101
P242 วิเคราะห์ธาตุอาหารในตัวอย่างดิน 3. แปรผลการเคราะห์ตัวอย่างดินได้อย่างถูกต้อง 168102
P243 แปรผลค่าวิเคราะห์ตัวอย่างดินเทียบกับค่ามาตรฐาน 1. รู้ค่ามาตรฐานความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 168103
P243 แปรผลค่าวิเคราะห์ตัวอย่างดินเทียบกับค่ามาตรฐาน 2. เปรียบเทียบค่าผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินกับค่ามาตรฐาน 168104
P243 แปรผลค่าวิเคราะห์ตัวอย่างดินเทียบกับค่ามาตรฐาน 3. เลือกชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดินได้อย่างถูกต้อง 168105

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการอุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างดิน

2) มีทักษะในการเตรียมตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์

3) มีทักษะในการเก็บตัวอย่างดิน

4) มีทักษะในการส่งตัวอย่างดินเพื่อทำการวิเคราะห์

5) มีทักษะในการอ่านผลค่าการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน

6) มีทักษะในการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ในการเก็บตัวอย่างดิน

2) มีความรู้ในการเตรียมตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์

3) มีความรู้ในการอ่านผลค่าการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน

4) มีความรู้ในการเปรียบเทียบค่าผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินกับค่ามาตรฐาน

5) มีความรู้เกี่ยวกับค่ามาตรฐานความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

6) มีความรู้ในการเลือกชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน

2) หนังสือรับรองคุณวุฒิ/เอกสารการผ่านการอบรม (ไทย, ต่างประเทศ)

3) ประกาศนียบัตรผ่านการอบรมทางด้านการจัดการปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน/พระราชบัญญัติ (พรบ.) ที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3)

2) หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน

3) ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน

2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ อาชีพ และระดับระดับ ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน

3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมี คือ การเก็บตัวอย่างดินไปทำการวิเคราะห์คุณสมบัติของดินทั้งกายภาพและเคมีเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปใช้ประเมินสภาพของดินและองค์ประกอบต่างๆ ทางเคมีที่มีอยู่ในดิน เพื่อประกอบการจัดการดิน การวางแผนปรับปรุงดิน ตลอดจนการกำหนดชนิดและวิธีการใส่ปุ๋ย ซึ่งมีขั้นตอนการเก็บ ดังนี้

- จุดที่ทำการเก็บตัวอย่างดินควรให้ใกล้เคียงกับต้นเก็บตัวอย่างใบ

- ในแต่ละจุดที่ทำการเก็บตัวอย่างดิน ควรเก็บที่ระดับความลึก 0-20 ซม. และ 20-40 ซม. จากทั้ง 2 ตำแหน่ง คือ บริเวณที่เคยใส่ปุ๋ยเคมี และบริเวณใต้กองทางใบ ดินทั้ง 2 ตำแหน่งนี้ต้องแยกวิเคราะห์ เพื่อเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารในแต่ละจุด

- ตัวอย่างดินที่เก็บมาทั้ง 2 ตำแหน่ง ตำแหน่งละ 2 ชุด รวม 4 ชุด แต่ละชุดให้นำมารวมกันคลุกเคล้าให้ทั่วถึง แล้วแบ่งตัวอย่างดินที่ คลุกเคล้าแล้วออกเป็น 2 ถุงๆ ละ ประมาณ 200-500 กรัม ตัวอย่างหนึ่งส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมี ส่วนอีกตัวอย่างหนึ่งเก็บไว้ในที่เย็นและแห้ง สำรองไว้ในกรณีที่ตัวอย่างแรกมีปัญหาในการวิเคราะห์

- ตัวอย่างดินควรเก็บในถุงที่ปิดสนิท และบันทึกรายละเอียดสถานที่ วัน เวลา ให้ชัดเจน ส่งห้องปฏิบัติการให้เร็วที่สุด

- ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติดินที่ได้นั้น เป็นเพียงเครื่องมือชี้นำในการจัดการเท่านั้น ควรทำการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ดินควบคู่ไปกับผลการวิเคราะห์ใบปาล์มน้ำมันด้วย โดยทั่วไปควรทำการวิเคราะห์ดินทุก ๆ 3-5 ปี ยกเว้นกรณีดินที่มีปัญหา เช่น ดินพรุ

- ไม่ควรเก็บตัวอย่างดินในช่วงแล้งจัด หรือดินมีความชื้อสูงมาก การเก็บตัวอย่างดินควรเก็บในช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละปี ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือช่วงต้นฤดูฝน ก่อนการใส่ปุ๋ยครั้งแรก และควรเก็บตัวอย่างดินหลังการใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้ายประมาณ 3 เดือน

2) การอ่านผลค่าการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน คือ การอ่านค่าผลที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวอย่างดินเทียบกับมาตรฐาน เพื่อนำค่าที่ได้ไปคำนวณสูตรปุ๋ยและผลิตปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินดังกล่าว


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์

3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ