หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ILDI-546A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการผลิตปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน โดยผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในค่ามาตรฐานความสมบูรณ์ของดินและใบปาล์มน้ำมัน ปริมาณการใช้ปุ๋ย และการปรับสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมตามค่าการวิเคราะห์ และในการผลิตปุ๋ยต้องมีความรู้ที่สามารถกำหนดคุณสมบัติภาชนะบรรจุปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันได้ และมีทักษะระดับฝีมือและเทคนิคในการปฏิบัติงาน ได้แก่ เลือกแหล่งวัตถุดิบที่เหมาะสม และเลือกแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ ผลิตปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินและใบ และบรรจุปุ๋ยลงในภาชนะบรรจุที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
P261 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานความสมบูรณ์ของดินและใบปาล์มน้ำมัน 1. รู้ค่ามาตรฐานความสมบูรณ์ของดินและใบปาล์มน้ำมัน 168119
P261 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานความสมบูรณ์ของดินและใบปาล์มน้ำมัน 2. รู้ปริมาณการใช้ปุ๋ย (ปริมาณธาตุอาหารของปีที่ผ่านมา) 168120
P261 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานความสมบูรณ์ของดินและใบปาล์มน้ำมัน 3. ปรับสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมตามค่าการวิเคราะห์ 168121
P262 วิเคราะห์ธาตุอาหารตามความต้องการของปาล์มน้ำมัน 1. นำค่าการวิเคราะห์มาปรับสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมกับความต้องการของปาล์มน้ำมัน 168122
P262 วิเคราะห์ธาตุอาหารตามความต้องการของปาล์มน้ำมัน 2. เลือกแหล่งวัตถุดิบที่เหมาะสม 168123
P262 วิเคราะห์ธาตุอาหารตามความต้องการของปาล์มน้ำมัน 3. เลือกแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ 168124
P263 ผลิตปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน 1. กำหนดคุณสมบัติภาชนะบรรจุปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันได้ 168125
P263 ผลิตปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน 2. ผลิตปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินและใบ 168126
P263 ผลิตปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน 3. บรรจุปุ๋ยลงในภาชนะบรรจุได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน 168127

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการวิเคราะห์ธาตุอาหารตามความต้องการของปาล์มน้ำมัน

2) มีทักษะในการปรับสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมตามค่าการวิเคราะห์

3) มีทักษะในการผลิตปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน

4) มีทักษะในการเลือกแหล่งวัตถุดิบที่เหมาะสม

5) มีทักษะในการเลือกแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ

6) มีทักษะในการบรรจุปุ๋ยลงในภาชนะบรรจุ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานความสมบูรณ์ของดินและใบปาล์มน้ำมัน

2) มีความรู้เกี่ยวกับปริมาณการใช้ปุ๋ย (ปริมาณธาตุอาหารของปีที่ผ่านมา)

3) มีความรู้ในการกำหนดคุณสมบัติภาชนะบรรจุปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน

4) มีความรู้ในการนำค่าการวิเคราะห์มาปรับสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมกับความต้องการของปาล์มน้ำมัน

3) มีความรู้ในการผลิตปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน

2) หนังสือรับรองคุณวุฒิ/เอกสารการผ่านการอบรม (ไทย, ต่างประเทศ)

3) ประกาศนียบัตรผ่านการอบรมทางด้านการจัดการปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน/พระราชบัญญัติ (พรบ.) ที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3)

2) หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน

3) ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน

2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ อาชีพ และระดับระดับ ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน

3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) มาตรฐานความสมบูรณ์ของดิน เบื้องต้นมีดังนี้

































































































สมบัติทางเคมี



ระดับความเหมาะสมที่ใช้ในการประเมิน



 



ต่ำกว่า



ต่ำ



ปานกลาง



สูง



pH



<3.5



4.0



4.2



5.5



อินทรียวัตถุ (%)



<0.8



1.2



1.5



2.5



Total N (%)



<0.08



0.12



0.15



0.25



ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (ppm)



<8.0



15.0



20.0



25.0



ฟอสฟอรัสทั้งหมด (ppm)



<120



200



250



400



โปแตสเซียม (ppm)



<32.0



80.0



100.0



120.0



โปแตสเซียม (cmol/kg)



<0.08



0.20



0.25



0.30



แมกนีเซียม (ppm)



<20.0



50.0



75.0



100



แมกนีเซียม (cmol/kg)



0.80



0.20



0.25



0.30



ทองแดงที่เป็นประโยชน์ (ppm)



<4.0



<5.0



5.0



<6.0



C.E.C (meq/100 กรัม)



<6.0



12.0



15.0



18.0




2) มาตรฐานความสมบูรณ์ของใบ มีดังนี้


































































































อายุ (ปี)



ธาตุอาหาร



ระดับไม่เพียงพอ



ระดับเหมาะสม



ระดับมากเกินพอ



3-6 ปี



N (เปอร์เซ็นต์)



น้อยกว่า 2.50



2.50-2.90



มากกว่า 3.0


 

P (เปอร์เซ็นต์)



น้อยกว่า 0.15



0.16-0.20



มากกว่า 0.30


 

K (เปอร์เซ็นต์)



น้อยกว่า 1.00



1.10-1.30



มากกว่า 1.60


 

Mg (เปอร์เซ็นต์)



น้อยกว่า 0.20



0.30-0.45



มากกว่า 0.70


 

Cl (เปอร์เซ็นต์)



น้อยกว่า 0.25



0.50-0.70



มากกว่า 1.00


 

B (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)



น้อยกว่า 12.0



12.0-20.0



มากกว่า 30.0



6 ปีขึ้นไป



N (เปอร์เซ็นต์)



น้อยกว่า 2.4



2.50-2.80



มากกว่า 3.0


 

P (เปอร์เซ็นต์)



น้อยกว่า 0.15



0.17-0.20



มากกว่า 0.30


 

K (เปอร์เซ็นต์)



น้อยกว่า 0.80



0.90-1.10



มากกว่า 1.60


 

Mg (เปอร์เซ็นต์)



น้อยกว่า 0.20



0.25-0.40



มากกว่า 0.70


 

Cl (เปอร์เซ็นต์)



น้อยกว่า 0.25



0.43-0.60



มากกว่า 1.00


 

B (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)



น้อยกว่า 10.0



10.0-15.0



มากกว่า 30.0




3) การบรรจุปุ๋ย คือ การนำปุ๋ยที่ผสมเสร็จแล้วบรรจุลงในภาชนะบรรจุที่ได้เตรียมไว้ ซึ่งวัตถุที่ใช้ทำภาชนะบรรจุปุ๋ยชนิดเม็ด ชนิดเกร็ด ชนิดผง หรือปุ๋ยชนิดที่ไม่เป็นของเหลว กำหนดให้ใช้วัตถุที่สามารถป้องกันความชื้นได้ มีความหนาเหนียวแน่นแข็งแรงทนทานต่อการขนส่ง การปิดผนึกภาชนะบรรจุปุ๋ยให้ปิดผนึกด้วยเครื่องมือไฟฟ้า หรือเย็บด้วยเชือก หรือผูกมัดอย่างมั่นคง สามารถป้องกันความชื้นได้ และทนทานต่อการขนส่ง ไม่รั่วไหล ส่วนปุ๋ยชนิดน้ำ หรือปุ๋ยที่เป็นของเหลว ต้องบรรจุในภาชนะที่ทนต่อการกัดกร่อนของปุ๋ย ภาชนะบรรจุต้องมีความหนาแข็งแรง ทนต่อการขนส่ง ใช้ฝาปิดแน่นสนิทและมั่นคง ไม่รั่วไหล และขนาดบรรจุปุ๋ยเพื่อการค้า ให้ใช้ระบบเมตริกและเป็นเลขจำนวนเต็ม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์

3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ