หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาของเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-RIDA-045A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาของเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจัดการในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับวางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงและวางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
การผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02351

วางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.1 อธิบายรายละเอียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้ถูกต้อง

02351.01 167982
02351

วางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.2 วางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรสำหรับกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

02351.02 167983
02351

วางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.3 กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม

02351.03 167984
02351

วางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.4 อธิบายค่าพารามิเตอร์ของระบบการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้ถูกต้อง

02351.04 167985
02351

วางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.5 อธิบายรอบเวลาการทำงานของอุปกรณ์ในระบบการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้ถูกต้อง

02351.05 167986
02351

วางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.6 อธิบายวิธีการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ในระบบการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้ถูกต้อง

02351.06 167987
02351

วางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.7 อธิบายแนวทางการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้ถูกต้อง

02351.07 167988
02351

วางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.8 ควบคุม ติดตามกระบวนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

02351.08 167989
02352

วางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2.1 บอกรายการอุปกรณ์ที่ต้องซ่อมบำรุงในระบบการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้ถูกต้อง

02352.01 167990
02352

วางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2.2 ประเมินระยะเวลาในการซ่อมบำรุงระบบการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้ถูกต้อง

02352.02 167991
02352

วางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2.3 อธิบายวิธีการเบิกอะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงของระบบการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้ถูกต้อง

02352.03 167992
02352

วางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2.4 อธิบายหลักการของ Total Preventive Maintenance (TPM) ได้ถูกต้อง

02352.04 167993
02352

วางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับเครื่องจักรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2.5 ประยุกต์ใช้หลักการของ Total Preventive Maintenance (TPM) ในการวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรได้ถูกต้อง

02352.05 167994

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

นักจัดการในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ระดับ 5


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    วางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงราย วัน/รายเดือน/รายปีของระบบการทำงานของเครื่องจักร

2)    ประเมินระยะเวลาในการซ่อมบำรุงระบบการทำงานของเครื่องจักร

3)    ใช้หลักการของ Total Preventive Maintenance (TPM) ในการวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    อธิบายค่าพารามิเตอร์ของระบบการทำงานของเครื่องจักร

2)    อธิบายรอบเวลาการทำงานของอุปกรณ์ในระบบการทำงานของเครื่องจักร

3)    อธิบายวิธีการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ในระบบการทำงานของเครื่องจักร

4)    บอกรายการอุปกรณ์ที่ต้องซ่อมบำรุงในระบบการทำงานของเครื่องจักร

5)    อธิบายวิธีการเบิกอะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงของระบบการทำงานของเครื่องจักร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน 

4)    เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินเกี่ยวกับนักจัดการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

 วิธีการประเมิน

1)    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

2)    พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงได้แก่ การวางแผนการตรวจสอบการซ่อมบำรุงราย วัน/รายเดือน/รายปีของระบบการทำงานของเครื่องจักร ค่าพารามิเตอร์ของระบบการทำงานของเครื่องจักร รอบเวลาการทำงานของอุปกรณ์ในระบบการทำงานของเครื่องจักร และวิธีการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ในระบบการทำงานของเครื่องจักร รวมไปถึงการวางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันได้แก่ บอกรายการอุปกรณ์ที่ต้องซ่อมบำรุงในระบบการทำงานของเครื่องจักร การประเมินระยะเวลาในการซ่อมบำรุงระบบการทำงานของเครื่องจักร วิธีการเบิกอะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงของระบบการทำงานของเครื่องจักรและการใช้หลักการของ Total Preventive Maintenance (TPM) ในการวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร

(ง)    คำอธิบายรายละเอียด

Total Preventive Maintenance (TPM) หมายถึง การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมอีกทั้งยังเป็นระบบการบำรุงรักษาที่จะทำให้เครื่องจักรอุปกรณ์เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Overall Efficiency) ซึ่งระบบการบำรุงรักษาของทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเครื่องจักรอุปกรณ์ ได้แก่ ผู้วางแผนการผลิต ผู้ใช้เครื่อง และฝ่ายซ่อมบำรุง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมินจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1.    แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน

 



ยินดีต้อนรับ