หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้หลักการทางวิศวกรรมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-WLUB-032A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้หลักการทางวิศวกรรมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักปฏิบัติการในกระบวนชุบโลหะด้วยไฟฟ้า 

นักตรวจสอบในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ใช้เครื่องมือและจำแนกชนิดของเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อระบุและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
การผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02161

ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อระบุปัญหาในการปฏิบัติงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.1 อธิบายหลักการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมได้

02161.01 167890
02161

ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อระบุปัญหาในการปฏิบัติงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.2 วิเคราะห์งานด้านการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมได้

02161.02 167891
02161

ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อระบุปัญหาในการปฏิบัติงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.3 ประเมินงานใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมได้

02161.03 167892
02162

ชนิดของเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2.1 จำแนกชนิดการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมได้

02162.01 167893
02162

ชนิดของเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2.2 วิเคราะห์งานด้านการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมได้

02162.02 167894
02162

ชนิดของเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2.3 ประเมินผลการงานใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อแก้ปัญหาได้

02162.03 167895

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อวิเคราะห์งาน

2)    แยกชนิดเครื่องมือทางวิศวกรรม

3)    ประเมินผลการงานใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อแก้ปัญหาได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    อธิบายหลักการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อหาสาเหตุของปัญหา

2)    อธิบายหลักการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อหากำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา

3)    อธิบายหลักการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประเมินผลการแก้ปัญหา

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน หรือ

4)    เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินเกี่ยวกับนักนักตรวจสอบในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

 วิธีการประเมิน

1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมิน นักตรวจสอบในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ระดับ 4 จะต้องแสดงให้เห็นถึงความรู้และทักษะในการเลือกใช้เครื่องมือและสามารถจำแนกแยกแยะชนิดของเครื่องมือทางวิศวกรรมให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของเครื่องมือทางวิศวกรรมนั้น ๆ เพื่อระบุและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ได้อย่างถูกต้อง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

เครื่องมือทางวิศวกรรม หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงงาน ซึ่งรวมถึง การกำจัดของเสีย

ในกระบวนการ ความไม่สม่ำเสมอ ของการผลิตและการทำงานที่ไม่ทำให้เกิดผลงาน โดยพยายามปรับปรุงให้การทำงานง่ายขึ้น สะดวกรวดเร็วขึ้น และประหยัด ค่าใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น  7 Tool เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมินจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1.    แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน

 



ยินดีต้อนรับ