หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบชิ้นงานหลังกระบวนการชุบด้วยไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-IQYO-030A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบชิ้นงานหลังกระบวนการชุบด้วยไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักปฏิบัติการอบชุบโลหะด้วยไฟฟ้า  ระดับ 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถด้านการตรวจสอบด้วยสายตา และการใช้เครื่องมือวัดเบื้องต้นได้ เพื่อตรวจสอบชิ้นงานหลังกระบวนการชุบด้วยไฟฟ้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02141

ตรวจสอบด้วยสายตา

1.1 บ่งชี้ความผิดเพี้ยนของเฉดสีของผิวชุบได้

02141.01 167877
02141

ตรวจสอบด้วยสายตา

1.2 บ่งชี้ความไม่สมบูรณ์ของผิวชุบได้ (ชุบขาด/ชุบเกิน)

02141.02 167878
02141

ตรวจสอบด้วยสายตา

1.3 บ่งชี้ความไม่สม่ำเสมอของความหนาผิวชุบได้

02141.03 167879
02141

ตรวจสอบด้วยสายตา

1.4 บ่งชี้การเสียรูปของชิ้นงานที่เกิดขึ้นระหว่างการชุบได้

02141.04 167880
02142

ใช้เครื่องมือวัดเบื้องต้น

2.1 เลือกใช้เครื่องมือวัดเบื้องต้นได้เหมาะสมกับลักษณะงาน

02142.01 167881
02142

ใช้เครื่องมือวัดเบื้องต้น

2.2 ใช้เครื่องมือวัดเบื้องต้นได้

02142.02 167882

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    การเทียบเฉดสีผิวชุบ

2)    การค้นหาตำหนิ ความไม่สมบูรณ์ของผิวชุบ ความไม่สม่ำเสมอ และการเสียรูปของชิ้นงาน

3)    การใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน

4)    การใช้เครื่องมือวัดวามหนาผิวชุบ (Thickness meter)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    หลักการตรวจสอบด้วยสายตา

2)    ความรู้เกี่ยวกับเฉดสีของผิวชุบประเภทต่างๆ

3)    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดพื้นฐาน เช่น ไม้บรรทัด เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์ เกจวัด

4)    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดความหนา (Thickness meter)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการปัจจุบัน หรือ เอกสารรับรองการผ่านงานปฏิบัติงานจากสถานประกอบการในอดีต หรือ

2)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    ใบรับรองผลการศึกษา ที่เกี่ยวมีรายละเอียดเกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

2)    เอกสารหรือประกาศนียบัตร แสดงการผ่านการฝึกอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

5)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(จ)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ที่เข้ารับการประเมิน จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นหรือรายละเอียดที่สอดคล้องกับเกณฑ์การปฏิบัติงานที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

 วิธีการประเมิน

1)    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

2)    พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

การตรวจสอบชิ้นงานหลังกระบวนชุบโลหะด้วยไฟฟ้า มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการชุบ และสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การตรวจสอบด้วยสายตา และ การตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัด ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ทั้ง 2 วิธี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ลักษณะของตำหนิของผิวชุบที่ต้องค้นหา ประกอบด้วย ความผิดเพี้ยนของเฉดสี ความไม่สมบูรณ์ของผิวชุบ (ชุบขาด/ชุบเกิน)  ความไม่สม่ำเสมอของความหนาผิวชุบ และการเสียรูปของชิ้นงาน เครื่องมือพื้นฐานที่มีความจำเป็นในการทำงาน ประกอบด้วย ไม้บรรทัด เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์ เกจวัด และเครื่องมือวัดความหนา (Thickness meter)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมินจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงานโดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1)  แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน

2)  แบบฟอร์มสาธิตการปฎิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ