หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-STNW-029A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักปฏิบัติการอบชุบโลหะด้วยไฟฟ้า   ระดับ 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถในการปรับตั้งค่าเครื่องชุบโลหะด้วยไฟฟ้า การตรวจติดตามค่าตัวแปรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า และต้องสามารถปฏิบัติงานในกระบวนการหลังการชุบไฟฟ้า เช่น การทำความสะอาดชิ้นงาน การทำแห้ง และการปกป้องผิวชิ้นงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02131

ปรับตั้งค่าเครื่องชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.1 เปิดเครื่องหรือระบบควบคุมการชุบได้ถูกต้องตามขั้นตอน

02131.01 167868
02131

ปรับตั้งค่าเครื่องชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.2 ตั้งค่าตัวแปรต่างๆ ของเครื่องชุบได้ถูกต้องตามค่าที่กำหนด

02131.02 167869
02131

ปรับตั้งค่าเครื่องชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.3 ยืนยันและบันทึกผลการตั้งค่าตัวแปรต่างๆ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด

02131.03 167870
02132

ตรวจติดตามค่าตัวแปรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2.1 ระบุความผิดปกติของค่าตัวแปรต่างๆ จากแผงควบคุม (control chart) ได้

02132.01 167871
02132

ตรวจติดตามค่าตัวแปรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2.2 ปรับปรุงค่าตัวแปรต่างๆ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดได้ (กรณีเกิดความผิดผกติ)

02132.02 167872
02132

ตรวจติดตามค่าตัวแปรในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2.3 บันทึกและรายงานความผิดปกติตามสายบังคับบัญชา

02132.03 167873
02133

ปฎิบัติงานในกระบวนการหลังการชุบไฟฟ้า

3.1 ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องชุบ อุปกรณ์ต่อพ่วง และ มาตรวัด หลังการใช้งานได้

02133.01 167874
02133

ปฎิบัติงานในกระบวนการหลังการชุบไฟฟ้า

3.2 ทำความสะอาด หรือ ทำแห้ง หรือ เคลือบผิวผลิตภัณฑ์หลังการชุบ ได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

02133.02 167875
02133

ปฎิบัติงานในกระบวนการหลังการชุบไฟฟ้า

3.3 จัดเก็บผลิตภัณฑ์หลังการชุบอย่างปลอดภัย

02133.03 167876

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    การเปิดเครื่องและการใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวแปรเครื่องชุบ

2)    การทำความสะอาด หรือ ทำแห้ง หรือ เคลือบผิวผลิตภัณฑ์หลังการชุบ

3)    การวินิจฉัยความผิดปกติของค่าตัวแปรการชุบ

4)    การเขียนบันทึกและรายงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    เงื่อนไขค่าตัวแปรสำหรับภารกิจการชุบแต่ละประเภท เช่น อุณหภูมิ กระแสไฟฟ้า และเวลา

2)    ลักษณะความผิดปกติของค่าตัวแปรการชุบที่อาจเกิดขึ้นได้ในแผงควบคุม

3)    กรรมวิธีทำความสะอาด หรือ ทำแห้ง หรือ เคลือบผิวผลิตภัณฑ์หลังการชุบ ที่จำเป็นสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    ตัวอย่างชิ้นงานที่เคยดำเนินการชุบด้วยตนเอง หรือ

2)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการปัจจุบัน หรือ เอกสารรับรองการผ่านงานปฏิบัติงานจากสถานประกอบการในอดีต หรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

5)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    ใบรับรองผลการศึกษา ที่เกี่ยวมีรายละเอียดเกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

2)    เอกสารหรือประกาศนียบัตร แสดงการผ่านการฝึกอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

5)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ที่เข้ารับการประเมิน จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นหรือรายละเอียดที่สอดคล้องกับเกณฑ์การปฏิบัติงานที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

 วิธีการประเมิน

1)    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

2)    พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า มีความแตกต่างกันในด้าน ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการชุบ และ น้ำยาชุบ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถตั้งตัวแปรหรือพารามิเตอร์ของการชุบให้ถูกต้อง เป็นไปตามค่าที่ออกแบบสำหรับงานแต่ละประเภท นอกจากนี้ยังต้องสามารถดำเนินการต่อผลิตภัณฑ์หลังการชุบได้เหมาะสม ตามความจำเป็น

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1)    ค่าตัวแปรหรือพารามิเตอร์ของการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ที่ต้องมีการปรับตั้งและควบคุม ได้แก่ อุณหภูมิ กระแสไฟฟ้า และ เวลา เป็นต้น

2)    กระบวนการหลังการชุบ อาจประกอบด้วย การทำความสะอาดน้ำยาชุบบนผิวชิ้นงาน การทำแห้ง การเคลือบสารปกป้องผิวชุบ และการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมินจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงานโดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1)  แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน

2)  แบบฟอร์มสาธิตการปฎิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ