หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมบ่อชุบสำหรับการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-PZOT-028A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมบ่อชุบสำหรับการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักปฏิบัติการในกระบวนชุบโลหะด้วยไฟฟ้า   ระดับ 2



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความเข้าใจด้านการผสมน้ำยาชุบและติดตั้งตัวล่อ และต้องสามารถตรวจสอบความปกติของบ่อชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เพื่อเตรียมบ่อชุบสำหรับการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02121

เตรียมความพร้อมของบ่อชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.1 เตรียมความพร้อมของวัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมกับบ่อชุบได้

02121.01 167861
02121

เตรียมความพร้อมของบ่อชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.2 ตรวจสอบและแก้ไขการรั่วซึมของบ่อชุบได้

02121.02 167862
02121

เตรียมความพร้อมของบ่อชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

1.3 ขจัดสิ่งแปลกปลอมในบ่อชุบโลหะด้วยไฟฟ้าได้

02121.03 167863
02122

ผสมน้ำยาชุบและติดตั้งตัวล่อ

2.1 เตรียมสารเคมีที่เป็นส่วนผสมของน้ำยาชุบได้ครบถ้วนและพอดีกับความต้องการ

02122.01 167864
02122

ผสมน้ำยาชุบและติดตั้งตัวล่อ

2.2 ผสมน้ำยาชุบได้ถูกต้องตามอัตราส่วนและวิธีการที่กำหนด

02122.02 167865
02122

ผสมน้ำยาชุบและติดตั้งตัวล่อ

2.3 ตรวจสอบปริมาณน้ำยาชุบในบ่อชุบได้เหมาะกับขนาดและปริมาณชิ้นงาน

02122.03 167866
02122

ผสมน้ำยาชุบและติดตั้งตัวล่อ

2.4 ติดตั้งตัวล่อได้ถูกต้องตามที่ออกแบบ

02122.04 167867

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    การตรวจหาและขจัดสิ่งแปลกปลอมในบ่อชุบ

2)    การชั่วตวงสารเคมี

3)    การผสมสารเคมี (น้ำยาชุบ) ตามวิธีการที่กำหนด

4)    การติดตั้งตัวล่อในบ่อชุบ

5)    การใช้เครื่องมือพื้นฐาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับสารเคมี

2)    การคำนวณพื้นฐานเกี่ยวกับส่วนผสมของสารเคมี (น้ำยาชุบ)

3)    ความรู้เกี่ยวกับวัสดุตัวล่อ

4)    ความรู้เกี่ยวกับเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งตัวล่อ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการประเมิน ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการปัจจุบัน หรือ เอกสารรับรองการผ่านงานปฏิบัติงานจากสถานประกอบการในอดีต หรือ

2)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    ใบรับรองผลการศึกษา ที่เกี่ยวมีรายละเอียดเกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

2)    เอกสารหรือประกาศนียบัตร แสดงการผ่านการฝึกอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

5)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ที่เข้ารับการประเมิน จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นหรือรายละเอียดที่สอดคล้องกับเกณฑ์การปฏิบัติงานที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

 วิธีการประเมิน

1)    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

2)    พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

การเตรียมบ่อชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมของวัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมกับบ่อชุบ การขจัดสิ่งแปลกปลอมในบ่อชุบ การผสมสารเคมี (น้ำยาชุบ) และการติดตั้งตัวล่อในบ่อชุบ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ออกแบบไว้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

รูปทรงของผลิตภัณฑ์ที่จะลงสู่บ่อชุบ อาจเป็นวัสดุแผ่นม้วน (Coil) หรือ ชิ้นส่วนรูปทรงแท่งหนึ่งมิติหรือสามมิติ/ ขนาดของผลิตภัณฑ์ อาจเป็นขนาดเล็ก เช่น สลักเกลียวและนัท หรือ วัสดุขนาดใหญ่ เช่น โครงรถยนต์/ ผลิตภัณฑ์ที่ชุบอาจเป็นวัสดุสำหรับบรรจุอาหาร หรือ ชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรอื่นๆ/ ลักษณะของบ่อชุบอาจแตกต่างกันตามกรรมวิธีการชุบ เช่น บ่อชุบแบบชิ้นงานวิ่งผ่านสารชุบในสายการผลิตต่อเนื่อง (Dynamics) หรือ บ่อชุบแบบจุ่มนิ่ง (Statics)/ สารชุบหรือน้ำยาชุบ อาจเป็น โครเมียม ดีบุก ทอง ทองแดง นิเกิล สังกะสี และโลหะผสมอื่นๆ/ การรั่วซึมของสารชุบหรือน้ำยาชุบ อาจเกิดขึ้นบริเวณมุมและตะเข็บรอบต่อของผนังบ่อชุบ/ สิ่งแปลกปลอมในบ่อชุบ อาจเป็น ตะกอน วัสดุ สารชุบเก่า หรือชิ้นงานตกค้าง/ วัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมกับบ่อชุบ ได้แก่ สายไฟ สวิทซ์ อุปกรณ์ต่อพ่วง เครื่องมือวัดหรือเกจวัดค่าตัวแปรต่างๆ/ เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งตัวล่อ ได้แก่ ขนาดตัวล่อ ตำแหน่งที่วาง พื้นที่ผิวตัวล่อ ระยะระหว่างตัวล่อและชิ้นงาน ระยะเวลาในการเปลี่ยนตัวล่อ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมินจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงานโดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1)  แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน

2)  แบบฟอร์มสาธิตการปฎิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ