หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบสภาวะการอบชุบโลหะด้วยความร้อนตามข้อกำหนด

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-REYF-020A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบสภาวะการอบชุบโลหะด้วยความร้อนตามข้อกำหนด

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจัดการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับอ่านและอธิบายแบบสั่งงาน ข้อกำหนดของกระบวนการอบชุบทางความร้อน ทฤษฏีทางด้านโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์ ปัจจัยในกระบวนการอบชุบทางความร้อนด้วยเตา(Furnace) ปัจจัยในกระบวนการอบชุบด้วยวิธีอินดักชั่น (Induction) การออกแบบเครื่องมือสำหรับการทดสอบในกระบวนการอบชุบทางความร้อน เพื่อออกแบบสภาวะการอบชุบโลหะด้วยความร้อนตามข้อกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
การผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01311

อ่านและอธิบายแบบสั่งงาน

1.1 อธิบายระบบพื้นฐานในการอ่าน
แบบได้ถูกต้อง

01311.01 167745
01311

อ่านและอธิบายแบบสั่งงาน

1.2 อธิบายสัญลักษณ์พิเศษชนิดต่าง ๆ ได้ถูกต้อง

01311.02 167746
01311

อ่านและอธิบายแบบสั่งงาน

1.3 อธิบายรายละเอียดในการ
กำหนดค่าความแข็งได้ถูกต้อง

01311.03 167747
01311

อ่านและอธิบายแบบสั่งงาน

1.4 อธิบายข้อกำหนดของกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อนได้ถูกต้องตามแบบสั่งงาน

01311.04 167748
01312

ข้อกำหนดของกระบวนการอบชุบทางความร้อน

2.1 วิเคราะห์รายละเอียดข้อกำหนดในการปฏิบัติงานได้ถูกต้อง

01312.01 167749
01312

ข้อกำหนดของกระบวนการอบชุบทางความร้อน

2.2 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อกำหนด
รายละเอียดในการอบชุบโลหะด้วยความร้อนได้ถูกต้อง

01312.02 167750
01312

ข้อกำหนดของกระบวนการอบชุบทางความร้อน

2.3 อธิบายผลกระทบของกระบวนการจับยึดและกระบวนการล้างชิ้นงานได้ถูกต้อง

01312.03 167751
01312

ข้อกำหนดของกระบวนการอบชุบทางความร้อน

2.4 เขียนแผนภาพกระบวนการผลิต (Process flow diagram, PFD) สำหรับการอบชุบโลหะด้วยความร้อนได้ถูกต้อง

01312.04 167752
01313

ทฤษฎีทางด้านโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์

3.1 อธิบายกรรมวิธีการขึ้นรูปของวัสดุได้ถูกต้อง

01313.01 167753
01313

ทฤษฎีทางด้านโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์

3.2 อธิบายอิทธิพลของธาตุในชิ้นงานที่ส่งผลต่อกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อนได้ถูกต้อง

01313.02 167754
01313

ทฤษฎีทางด้านโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์

3.3 อธิบายโครงสร้างทางจุลภาคของโลหะได้ถูกต้อง

01313.03 167755
01313

ทฤษฎีทางด้านโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์

3.4 อธิบายแผนภาพสมดุลเหล็ก-
คาร์บอน (Fe3C Phase Diagram) ได้ถูกต้อง

01313.04 167756
01313

ทฤษฎีทางด้านโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์

3.5 อธิบายแผนภาพแสดงการเปลี่ยนเฟสที่อุณหภูมิคงที่เทียบเวลา (Time-temperature transformation diagram, TTT) ได้ถูกต้อง

01313.05 167757
01313

ทฤษฎีทางด้านโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์

3.6 อธิบายแผนภาพแสดงการเปลี่ยนเฟสเมื่อเกิดการเย็นตัวต่อเนื่อง (Continuous cooling transformation diagram, CCT) ได้ถูกต้อง

01313.06 167758
01313

ทฤษฎีทางด้านโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์

3.7 อธิบายสมบัติทางกลของวัสดุเมื่อผ่านการอบชุบโลหะด้วยความร้อนได้ถูกต้อง

01313.07 167759
01313

ทฤษฎีทางด้านโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์

3.8 อธิบายสมบัติทางเคมีของวัสดุเมื่อผ่านการอบชุบโลหะด้วยความร้อนได้ถูกต้อง

01313.08 167760
01314

ปัจจัยในกระบวนการอบชุบทางความร้อนด้วยเตา (Furnace)

4.1 เลือกใช้อุณหภูมิในการอบชุบโลหะด้วยความร้อนได้ตรงตามข้อกำหนดของชิ้นงาน

01314.01 167761
01314

ปัจจัยในกระบวนการอบชุบทางความร้อนด้วยเตา (Furnace)

4.2 ระบุระยะเวลาในการอบชุบโลหะด้วยความร้อนได้ตรงตามข้อกำหนดของชิ้นงาน

01314.02 167762
01314

ปัจจัยในกระบวนการอบชุบทางความร้อนด้วยเตา (Furnace)

4.3 เลือกใช้สารชุบในการอบชุบโลหะด้วยความร้อนได้ตรงตามข้อกำหนดของชิ้นงาน

01314.03 167763
01314

ปัจจัยในกระบวนการอบชุบทางความร้อนด้วยเตา (Furnace)

4.4 เลือกใช้บรรยากาศในการอบชุบโลหะด้วยความร้อนได้ตรงตามข้อกำหนดของชิ้นงาน

01314.04 167764
01315

ปัจจัยในกระบวนการอบชุบด้วยวิธีอินดักชั่น (Induction)

5.1 เลือกใช้กระแสไฟฟ้าในการอบชุบ
โลหะด้วยความร้อนด้วยวิธีอินดักชั่น (Induction) ได้ตรงตามข้อกำหนดของชิ้นงาน

01315.01 167765
01315

ปัจจัยในกระบวนการอบชุบด้วยวิธีอินดักชั่น (Induction)

5.2 ระบุระยะเวลาในการอบชุบโลหะ
ด้วยความร้อนด้วยวิธีอินดักชั่น (Induction) ได้ตรงตามข้อกำหนดของชิ้นงาน

01315.02 167766
01315

ปัจจัยในกระบวนการอบชุบด้วยวิธีอินดักชั่น (Induction)

5.3 เลือกใช้สารชุบในการอบชุบโลหะด้วยความร้อนด้วยวิธีอินดักชั่น (Induction) ได้ตรงตามข้อกำหนดของชิ้นงาน

01315.03 167767
01316

การออกแบบเครื่องมือสำหรับการทดสอบในกระบวนการอบชุบทางความร้อน

6.1 อธิบายทฤษฎีการวิเคราะห์ระบบ
การวัด (Measuring system analysis, MSA) ได้ถูกต้อง

01316.01 167768
01316

การออกแบบเครื่องมือสำหรับการทดสอบในกระบวนการอบชุบทางความร้อน

6.2 ออกแบบวิธีการและเครื่องมือที่ใช้
ในการทดสอบได้ตรงตามข้อกำหนดของชิ้นงาน

01316.02 167769
01316

การออกแบบเครื่องมือสำหรับการทดสอบในกระบวนการอบชุบทางความร้อน

6.3 บอกผลกระทบที่เกิดขึ้นในการออกแบบวิธีการวัดที่ผิดพลาดได้อย่างถูกต้อง

01316.03 167770

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อกำหนดรายละเอียดในการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

2)    เขียนแผนภาพกระบวนการผลิต (Process flow diagram, PFD) สำหรับการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

3)    เลือกใช้อุณหภูมิในการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

4)    เลือกใช้สารชุบในการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

5)    เลือกใช้บรรยากาศในการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

6)    เลือกใช้กระแสไฟฟ้าในการอบชุบโลหะด้วยความร้อนด้วยวิธีอินดักชั่น (Induction)

7)    เลือกใช้สารชุบในการอบชุบโลหะด้วยความร้อนด้วยวิธีอินดักชั่น (Induction)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    อธิบายระบบพื้นฐานในการอ่านแบบ

2)    อธิบายสัญลักษณ์พิเศษชนิดต่างๆ

3)    อธิบายรายละเอียดในการกำหนดค่าความแข็ง

4)    อธิบายข้อกำหนดของกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

5)    วิเคราะห์รายละเอียดข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน

6)    ให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อกำหนดรายละเอียดในการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

7)    อธิบายผลกระทบของกระบวนการจับยึดและกระบวนการล้างชิ้นงาน

8)    อธิบายกรรมวิธีการขึ้นรูปของวัสดุ

9)    อธิบายอิทธิพลของธาตุในชิ้นงานที่ส่งผลต่อกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

10)    อธิบายโครงสร้างทางจุลภาคของโลหะ 

11)    อธิบายแผนภาพสมดุลเหล็ก-คาร์บอน (Fe3C Phase Diagram) 

12)    อธิบายแผนภาพแสดงการเปลี่ยนเฟสที่อุณหภูมิคงที่เทียบเวลา (Time-temperature transformation diagram, TTT) 

13)    อธิบายแผนภาพแสดงการเปลี่ยนเฟสเมื่อเกิดการเย็นตัวต่อเนื่อง (Continuous cooling transformation diagram, CCT) 

14)    อธิบายสมบัติทางกลของวัสดุเมื่อผ่านการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

15)    อธิบายสมบัติทางเคมีของวัสดุเมื่อผ่านการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

16)    ระบุระยะเวลาในการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

17)    ระบุระยะเวลาในการอบชุบโลหะด้วยความร้อนด้วยวิธีอินดักชั่น (Induction) 

18)    อธิบายทฤษฎีการวิเคราะห์ระบบการวัด (Measuring system analysis, MSA) 

19)    ออกแบบวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ

20)    บอกผลกระทบที่เกิดขึ้นในการออกแบบวิธีการวัดที่ผิดพลาด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

5)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

6)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

7)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

8)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

5)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

6)    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

7)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน 

8)    เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินเกี่ยวกับนักจัดการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

 วิธีการประเมิน

3)    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

4)    พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการอ่านและอธิบายแบบสั่งงาน ข้อกำหนดของกระบวนการอบชุบทางความร้อน ทฤษฎีทางด้านโลหะวิทยาและวัสดุศาสตร์ ปัจจัยในกระบวนการอบชุบทางความร้อนด้วยเตา (Furnace) ปัจจัยในกระบวนการอบชุบด้วยวิธีอินดักชั่น (Induction) การออกแบบเครื่องมือสำหรับการทดสอบในกระบวนการอบชุบทางความร้อน เพื่อออกแบบสภาวะการอบชุบโลหะด้วยความร้อนตามข้อกำหนด

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

สัญลักษณ์พิเศษในการอ่านแบบ หมายถึง สัญลักษณ์ที่ระบุลงในแบบงานเพื่อแสดงรายละเอียดให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น สัญลักษณ์ความหยาบของผิวงาน  สัญลักษณ์งานเชื่อม  สัญลักษณ์ชิ้นส่วนมาตรฐานของเครื่องจักรกล เป็นต้น

ข้อกำหนดรายละเอียดในการอบชุบโลหะด้วยความร้อน เช่น การอ่าน Bill of materials, BOM การกำหนดตำแหน่งในการทดสอบความแข็ง เป็นต้น

กรรมวิธีการขึ้นรูปของวัสดุ หมายถึง กรรมวิธีหรือกระบวนการที่ทำให้วัสดุนั้น ๆ เกิดการเปลี่ยนรูปไปตามความต้องการ เช่น การตีขึ้นรูป การรีดร้อน การรีดเย็น เป็นต้น

สมบัติทางกล หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาที่เกดขึ้นของวัสดุเมื่อมีแรงจากภายนอกมากระทําต่อวัสดุ คุณสมบัติทางกล ได้แก่ ความแข็งแรง, ความแข็ง, ความสามารถในการยืดตัว, ความยืดหยุ่น, ความเหนียว เป็นต้น

สมบัติทางเคมี หมายถึง เป็นคุณสมบัติที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาทางเคมีของวัสดุ การเลือกวัสดุเพื่อนําไปใช้ในงานจะต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติทางเคมีของวัสดุ ได้แก่ การกัดกร่อน, ส่วนผสมและลักษณะโครงสร้างทางเคมีของส่วนผสมในวัสดุ

สารชุบสำหรับกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน หมายถึง ตัวกลางที่ทำให้ชิ้นงานเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสารชุบจะอยู่ในรูปแบบของเหลวและแก๊ส

บรรยากาศในการอบชุบ หมายถึง สภาวะในเตาอบชิ้นงานของกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ได้แก่ สภาวะบรรยากาศไนโตรเจน สภาวะบรรยากาศสุญญากาศ สภาวะบรรยากาศอากาศ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมินจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1.    แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน

 



ยินดีต้อนรับ