หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอบชุบโลหะ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-BWTJ-017A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอบชุบโลหะ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1.    นักตรวจสอบในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

2.    นักจัดการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

3.    นักตรวจสอบในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

4.    นักจัดการในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้มุ่งยกระดับความสามารถของบุคคลเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บริหารความปลอดภัย ในอุตสาหกรรมอบชุบโลหะด้วยความร้อน (Heat treatment) และอุตสาหกรรมชุมโลหะด้วยไฟฟ้า (Electroplating) โดยผู้เข้ารับการประเมินจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน กฎหมาย และข้อกำหนดด้านความปลอดภัย สามารถวิเคราะห์คาดการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสายการผลิตใหม่ วิเคราะห์หาสาเหตุของอุบัติเหตุและอันตรายในสถานที่ทำงาน ตลอดจนสามารถกำหนดวิธีปฏิบัติงานและกฎระเบียบควบคุม ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน กฎหมาย และข้อกำหนดด้านความปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
การผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
นักตรวจสอบในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ระดับ 5นักจัดการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ระดับ 5นักจัดการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ระดับ 6นักตรวจสอบในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ระดับ 5นักจัดการในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ระดับ 5นักจัดการในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ระดับ 6 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01271

วิเคราะห์ความเสี่ยงในกระบวนการทำงาน

1.1 บอกลักษณะการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe acts) ในการทำงานได้ (เกิดจากคน)

01271.01 167723
01271

วิเคราะห์ความเสี่ยงในกระบวนการทำงาน

1.2 บอกสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe conditions) ในการทำงานได้ (เกิดจากเครื่องจักร/วัสดุ/สภาพแวดล้อม)

01271.02 167724
01271

วิเคราะห์ความเสี่ยงในกระบวนการทำงาน

1.3 ใช้หลักการวิเคราะห์อันตรายในงาน (Job Safety Analysis, JSA) เพื่อวิเคราะห์คาดการณ์อันตรายในกระบวนการทำงานผลิตภัณฑ์ใหม่ได้

01271.03 167725
01272

วิเคราะห์หาสาเหตุอุบัติเหตุที่เกิดในระบบงาน

2.1 วิเคราะห์รายงานและสถิติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

01272.01 167726
01272

วิเคราะห์หาสาเหตุอุบัติเหตุที่เกิดในระบบงาน

2.2 ใช้หลักการทางวิศวกรรมเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ

01272.02 167727
01272

วิเคราะห์หาสาเหตุอุบัติเหตุที่เกิดในระบบงาน

2.3 กำหนดแนวทางป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

01272.03 167728
01273

ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานกฎหมายข้อหกำหนดด้านความปลอดภัย

3.1 ระบุมาตรฐาน กฎหมาย ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในโรงงาน

01273.01 167729
01273

ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานกฎหมายข้อหกำหนดด้านความปลอดภัย

3.2 กำหนดมาตรฐานวิธีทำงานที่สอดคล้องกับมาตรฐาน กฎหมาย ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

01273.02 167730
01273

ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานกฎหมายข้อหกำหนดด้านความปลอดภัย

3.3 กำหนดกฎระเบียบควบคุมการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย

01273.03 167731

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ควบคุมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอบชุบโลหะ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    การวิเคราะห์คาดการณ์อันตรายในกระบวนการทำงาน

2)    การวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ

3)    การออกแบบวิธีทำงานที่ปลอดภัย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    มาตรฐาน กฎหมาย และข้อกำหนดด้านความปลอดภัย

2)    หลักการทางวิศวกรรมเพื่อวิเคราะห์ปัญหาความปลอดภัย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน 

4)    เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือคำแนะนำในการประเมิน

 วิธีการประเมิน

1)    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

2)    พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

การปรับปรุงมาตรการด้านความปลอดภัย อาจเริ่มจากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากสภาพการทำงานปัจจุบัน หรือ ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต เพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข ป้องกัน นำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยใช้หลักการทางวิศวกรรม และต้องสอดคล้องกับข้อกฎหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนดซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมอบชุบโลหะ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

มาตรฐานด้านความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย ประกอบด้วย มาตรฐานด้านสารเคมีและอนุภาค มาตรฐานด้านความร้อน มาตรฐานด้านแสงสว่าง มาตรฐานด้านเสียง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖ กระทรวงแรงงาน เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมินจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1.    แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน

 



ยินดีต้อนรับ