หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทฤษฎีเบื้องต้นสำหรับการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-UAGG-010A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทฤษฎีเบื้องต้นสำหรับการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักปฏิบัติการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถอธิบายทฤษฎีทางด้านวัสดุศาสตร์และอธิบายทฤษฎีทางด้านการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
การผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
นักปฏิบัติการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ระดับ 4นักตรวจสอบในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ระดับ 4 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01101

อธิบายทฤษฎีทางด้านวัสดุศาสตร์

1.1 อธิบายทฤษฏีของโครงสร้างของอะตอม โครงสร้างผลึกและพันธะเคมีได้อย่างถูกต้อง

01101.01 167648

1.2 อธิบายทฤษฏีระบบผลึกและการเปลี่ยนแปลงในระบบผลึกได้อย่างถูกต้อง

01101.02 167649

1.3 อธิบายหลักการแข็งตัวของโลหะและความไม่สมบูรณ์ของผลึกได้อย่างถูกต้อง

01101.03 167650

1.4 อธิบายหลักการการแบ่งประเภทของวัสดุได้อย่างถูกต้อง

01101.04 167651

1.5 อธิบายทฤษฎีสมบัติเชิงกลของโลหะได้อย่างถูกต้อง

01101.05 167652

1.6 บอกประเภทของเหล็กกล้าและมาตรฐานของเหล็กกล้าได้ถูกต้อง

01101.06 167653

1.7 อธิบายอิทธิพลของธาตุผสมที่ส่งผลต่อสมบัติทางกลและโครงสร้างจุลภาคในเหล็กได้อย่างถูกต้อง

01101.07 167654

1.8 บอกชนิดโครงสร้างจุลภาคในเหล็กได้ถูกต้อง

01101.08 167655

1.9 อธิบายแผนภาพสมดุลเหล็กคาร์บอน (Fe3C phase diagram) ได้ถูกต้อง

01101.09 167656

1.10 อธิบายทฤษฎีการกัดกร่อนและป้องกันการกัดกร่อนได้ถูกต้อง

01101.10 167657
01102

อธิบายทฤษฎีทางด้านการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

2.1 อธิบายหลักการปรับปรุงสมบัติทางกลของวัสดุกลุ่มเหล็กและนอกกลุ่มเหล็กได้ถูกต้อง

01102.01 167658

2.2 อธิบายหลักการปรับปรุงสมบัติทางกลของโลหะด้วยกรรมวิธีทางความร้อนได้ถูกต้อง

01102.02 167659

2.3 อธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อกรรมวิธีทางความร้อนของวัสดุกลุ่มเหล็กได้ถูกต้อง

01102.03 167660

2.4 อธิบายแผนภาพแสดงการเปลี่ยนเฟสที่อุณหภูมิคงที่เทียบเวลา (Isothermaltransformation diagram, IT or time - temperature transformation diagram, TTT diagram) ได้ถูกต้อง

01102.04 167661

2.5 อธิบายกระบวนการชุบแข็ง (Quenching) ได้ถูกต้อง

01102.05 167662

2.6 อธิบายกระบวนการอบอ่อน (Annealing) ได้ถูกต้อง

01102.06 167663

2.7 อธิบายกระบวนการอบปกติ (Normalizing) ได้ถูกต้อง

01102.07 167664

2.8 อธิบายกระบวนการอบคืนตัว (Tempering)

01102.08 167665

2.9 อธิบายกระบวนการชุบผิวแข็งเฉพาะผิวแบบ (Pack Carburizing)

01102.09 167666

2.10 อธิบายกระบวนการชุบผิวแข็ง (Case Hardening)

01102.10 167667

2.11 อธิบายวิธีป้องกันการเกิดคาร์บูไรซิ่งเฉพาะจุด ( Anti - Carburizing )

01102.11 167668

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

นักปฏิบัติการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ระดับ 3


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    บอกประเภทของเหล็กกล้าและมาตรฐานของเหล็กกล้า

2)    อธิบายอิทธิพลของธาตุผสมที่ส่งผลต่อสมบัติทางกลและโครงสร้างจุลภาคในเหล็ก

3)    บอกชนิดของโครงสร้างจุลภาคในเหล็ก

4)    อธิบายแผนภาพสมดุลเหล็ก-คาร์บอน (Fe3C Phase Diagram)

5)    อธิบายกระบวนการชุบแข็ง (Hardening) 

6)    อธิบายกระบวนการอบอ่อน (Softening) 

7)    อธิบายกระบวนการชุบผิวแข็ง (Case Hardening) 

8)    อธิบายวิธีการป้องกันการเกิดคาร์บูไรซิ่งเฉพาะจุด (Anti-Carburizing) 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน 

4)    เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินเกี่ยวกับนักปฏิบัติการอบชุบโลหะด้วยความร้อน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

วิธีการประเมิน

1)    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

2)    พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการอธิบายทฤษฎีทางด้านวัสดุศาสตร์ ได้แก่ บอกประเภทของเหล็กกล้าและมาตรฐานของเหล็กกล้า อธิบายอิทธิพลของธาตุผสมที่ส่งผลต่อสมบัติทางกลและโครงสร้างจุลภาคในเหล็กและอธิบายแผนภาพสมดุลเหล็ก-คาร์บอน (Fe3C Phase Diagram) นอกจากนั้นผู้เข้ารับการประเมินยังต้องให้ความสำคัญกับการอธิบายทฤษฎีทางด้านการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ได้แก่ อธิบายกระบวนการชุบแข็ง (Hardening) อธิบายกระบวนการอบอ่อน (Softening) อธิบายกระบวนการชุบผิวแข็ง (Case Hardening) และอธิบายวิธีการป้องกันการเกิดคาร์บูไรซิ่งเฉพาะจุด (Anti-Carburizing)

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

การชุบแข็ง (Hardening) หมายถึง การอบชุบความร้อนวิธีหนึ่งเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของเหล็กกล้าคาร์บอนในด้านความแข็งและความต้านทานการขัดสี โดยที่วัสดุนั้นๆ จะมีค่าความแข็งเพิ่มมากขึ้น

การอบอ่อน (Softening) หมายถึง การให้ความร้อนกับชิ้นงานเพื่อทำให้ชิ้นงานั้นอ่อนลงหรือเพื่อทำให้ชิ้นงานมีความเหนียวเพิ่มมากขึ้น

การชุบผิวแข็ง (Case Hardening) หมายถึง การปรับปรุงสมบัติบริเวณเฉพาะผิวของชิ้นงานให้มีความแข็งเพิ่มมากขึ้น

การป้องกันการเกิดคาร์บูไรซิ่งเฉพาะจุด (Anti-Carburizing) หมายถึง กระบวนการหรือกรรมวิธีเพื่อป้องกันผิวของชิ้นงานจากการเกิดปฏิกิริยาคาร์บูไรซิ่ง (Carburizing) โดยใช้น้ำยาหรือสารเคมีทาบริเวณที่ต้องการจะป้องกัน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมินจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1.    แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน