หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณสมบัติของชิ้นงานโดยใช้เครื่องมือขั้นสูง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-QLHB-016A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณสมบัติของชิ้นงานโดยใช้เครื่องมือขั้นสูง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักตรวจสอบในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความรู้และทักษะ สามารถอธิบายหลักการ วิธีการทดสอบ และสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบไม่ทำลายสภาพและการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด นอกจากนั้นยังสามารถอธิบายหลักการ วิธีการทดสอบ และสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี และเครื่องมือตรวจสอบสมบัติทางกล 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
การผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01261

การใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบไม่ทำลายสภาพ

1.1 ทดสอบชิ้นงานด้วยวิธีการใช้สารแทรกซึม (Liquid penetrant test, PT)

01261.01 167711
01261

การใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบไม่ทำลายสภาพ

1.2 ทดสอบชิ้นงานด้วยวิธีการใช้อนุภาคแม่เหล็ก (Magnetic test, MT)

01261.02 167712
01261

การใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบไม่ทำลายสภาพ

1.3 อธิบายหลักการและวิธีการทดสอบชิ้นงานด้วยกระแสเอ็ดดี้ (Eddy current)

01261.03 167713
01261

การใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบไม่ทำลายสภาพ

1.4 อธิบายหลักการทำงานและวิธีการทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning electron microscope, SEM)

01261.04 167714
01261

การใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบไม่ทำลายสภาพ

1.5 เลือกใช้กระบวนการทดสอบแบบไม่ทำลาย

01261.05 167715
01262

การใช้เครื่องมือตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี

2.1 อธิบายหลักการและวิธีการทดสอบด้วยเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี (Optical emission spectrometer)

01262.01 167716
01262

การใช้เครื่องมือตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี

2.2 อธิบายหลักการทำงานและวิธีการทดสอบด้วยเครื่อง Energy Dispersive X-ray Spectrometer (EDS)

01262.02 167717
01262

การใช้เครื่องมือตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี

2.3 เลือกใช้วิธีการตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี

01262.03 167718
01263

การใช้เครื่องมือตรวจสอบสมบัติทางกล

3.1 อธิบายหลักการและวิธีการทดสอบความแข็งแรง (Strength) ของวัสดุ

01263.01 167719
01263

การใช้เครื่องมือตรวจสอบสมบัติทางกล

3.2 อธิบายหลักการและวิธีการทดสอบความเหนียว (Toughness) ของวัสดุ

01263.02 167720
01263

การใช้เครื่องมือตรวจสอบสมบัติทางกล

3.3 อธิบายหลักการและวิธีการทดสอบการดัดโค้ง (Bending test) ของวัสดุ

01263.03 167721
01263

การใช้เครื่องมือตรวจสอบสมบัติทางกล

3.4 เลือกใช้วิธีการทดสอบสมบัติทางกล

01263.04 167722

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

นักตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการอบชุบโลหะทางความร้อน ระดับที่ 3


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะทางด้านวัสดุพื้นฐาน, ทักษะการใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบไม่ทำลาย และการเลือกวิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย, ทักษะการทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด, ทักษะการใช้เครื่องมือตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี และการเลือกวิธีการตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี, ทักษะการใช้เครื่องมือตรวจสอบสมบัติทางกลและการเลือกวิธีการทดสอบสมบัติทางกล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ด้านหลักการและวิธีการตรวจสอบชิ้นงานโดยใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบไม่ทำลาย, ความรู้ด้านหลักการและวิธีการใช้เครื่องมือทดสอบส่วนผสมทางเคมี, ความรู้ด้านหลักการและวิธีการใช้เครื่องมือทดสอบสมบัติทางกลของชิ้นงาน 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน 

4)    เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินเกี่ยวกับนักตรวจสอบในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

 วิธีการประเมิน

1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

การใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบไม่ทำลาย การใช้เครื่องมือตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี และการใช้เครื่องมือตรวจสอบสมบัติทางกลของชิ้นงานต้องมีความถูกต้องและเหมาะสมโดยใช้ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องให้ความสำคัญกับหลักการและวิธีการใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบไม่ทำลาย เครื่องมือตรวจสอบส่วนผสมทางเคมีและเครื่องมือตรวจสอบสมบัติทางกล รวมถึงการเลือกใช้วิธ๊การทดสอบต่าง ๆ 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ต้องการทักษะและความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบไม่ทำลายสภาพได้แก่ การใช้สารแทรกซึม การใช้อนุมภาคแม่เหล็ก การใช้กระแสเอ็ดดี้ และการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดเพื่อตรวจสอบ  นอกจากนั้นยังต้องมีทักษะในเรื่องของการใช้เครื่องมือตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี ได้แก่เครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี และเครื่อง Energy Dispersive X-ray Spectrometer  รวมถึงการใช้เครื่องมือเพื่อตรวจสอบสมบัติทางกล ได้แก่การใช้เครื่องมือทดสอบความแข็งแรง ความเหนียวและการดัดโค้ง   

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมินจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1.    แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน

 



ยินดีต้อนรับ