หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ความปลอดภัยเบื้องต้นในอุตสาหกรรมอบชุบโลหะ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-SWQD-001A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ความปลอดภัยเบื้องต้นในอุตสาหกรรมอบชุบโลหะ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. นักปฏิบัติการในกระบวนการชุบโลหะด้วยความร้อน

2. นักตรวจสอบในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

3. นักปฏิบัติการในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

4. นักตรวจสอบในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้มุ่งสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพของผู้ปฏิบัติงาน (Operator) ในอุตสาหกรรมอบชุบโลหะด้วยความร้อน (Heat treatment) และอุตสาหกรรมชุมโลหะด้วยไฟฟ้า (Electroplating) โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความสามารถ 5 ด้าน คือ ปฏิบัติงานกับสารเคมีอย่างปลอดภัย ปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุอย่างปลอดภัย ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเมื่อเกิดอัคคีภัย และ ตนเองและเพื่อนร่วมงานเบื้องต้นในกรณีได้รับอันตราย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
การผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
นักปฏิบัติการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ระดับ 2นักปฏิบัติการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ระดับ 3นักตรวจสอบในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ระดับ 2นักตรวจสอบในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ระดับ 3นักปฏิบัติการในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ระดับ 2นักปฏิบัติการในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ระดับ 3นักตรวจสอบในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ระดับ 2นักตรวจสอบในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ระดับ 3 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01111

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับ
สารเคมี

1.1 ระบุชื่อหรือชนิดของสารเคมีอันตรายในกระบวนการทำงานได้

01111.01 167568
01111

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับ
สารเคมี

1.2 บอกอันตรายที่เกิดจากสารเคมีแต่ละชนิดได้

01111.02 167569
01111

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับ
สารเคมี

1.3 เข้าใจสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี

01111.03 167570
01111

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับ
สารเคมี

1.4 ปฏิบัติงานขนย้าย ผสม และจัดเก็บสารเคมีอันตรายได้ตามหลักความปลอดภัย

01111.04 167571
01111

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับ
สารเคมี

1.5 ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมีได้ถูกต้อง1.5 ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมีได้ถูกต้อง

01111.05 167572
01112

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุ

2.1 จัดเรียงวัสดุบนพาเลทหรืออุปกรณ์รองรับได้อย่างปลอดภัย

01112.01 167573
01112

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุ

2.2 กำหนดปริมาณวัสดุต่อการขนย้าย 1 ครั้ง ได้เหมาะสมกับสมรรถนะอุปกรณ์ขนย้าย

01112.02 167574
01112

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุ

2.3 ใช้งานแฮนด์ลิฟท์ ได้ตามหลักความปลอดภัย

01112.03 167575
01112

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุ

2.4 ขับเคลื่อนโฟล์คลิฟท์ ได้ตามหลักความปลอดภัย

01112.04 167576
01112

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุ

2.5 ขับเคลื่อนเครนโรงงานได้ตามหลักความปลอดภัย

01112.05 167577
01113

ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า

3.1 ระบุจุดหรือบริเวณงานที่มีอันตรายจากกระแสไฟฟ้าได้

01113.01 167578
01113

ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า

3.2 ระบุลักษณะการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้

01113.02 167579
01113

ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า

3.3 ตรวจหาลักษณะทางกายภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้

01113.03 167580
01113

ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า

3.4 ใช้เครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้าเบื้องต้นได้

01113.04 167581
01114

ความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย

4.1 บอกสาเหตุของการเกิดอัคคีภัยในกระบวนการทำงานได้

01114.01 167582
01114

ความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย

4.2 บอกชนิดของถังดับเพลิงได้ถูกต้องกับประเภทของเชื้อเพลิง

01114.02 167583
01114

ความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย

4.3 ใช้ถังดับเพลิงเพื่อระงับเหตุเพลิงไหม้เบื้องต้นได้

01114.03 167584
01114

ความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย

4.4 อพยพหนีไฟได้ถูกต้องตามหลักความปลอดภัย

01114.04 167585
01115

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

5.1 ปฏิบัติการอย่างถูกต้องเมื่อสารเคมีอันตรายสัมผัสผิวหนังหรือเข้าสู่ร่างกาย

01115.01 167586
01115

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

5.2 ล้างแผลและห้ามเลือดเบื้องต้นได้

01115.02 167587
01115

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

5.3 ปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ได้รับแผลไฟไหม้ได้

01115.03 167588
01115

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

5.4 ช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูดได้ตามหลักความปลอดภัย

01115.04 167589
01115

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

5.5 ปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้หมดสติจากไฟดูดได้

01115.05 167590

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมีส่วนบุคคล

2)    การขับโฟลคลิฟท์ การควบคุมแฮนด์ลิฟท์หรือเครนโรงงาน

3)    การใช้ไขควรวัดไฟ

4)    การใช้ถังดับเพลิง

5)    การช่วยเหลือผู้สัมผัสสารเคมีทางผิวหนังหรือทางการหายใจ

6)    การล้างแผลและห้ามเลือดเบื้องต้น

7)    การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ได้รับแผลไฟไหม้

8)    การช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูด

9)    การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้หมดโดยการทำ AER

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ชนิดและอันตรายของสารเคมี ในอุตสาหกรรมอบชุบโลหะด้วยความร้อน หรือ อุตสาหกรรมชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

2)    หลักความปลอดภัยในการขนย้ายวัสดุด้วยโฟลคลิฟท์ แฮนด์ลิฟท์ และเครน 

3)    อันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร 

4)    องค์ประกอบของการเกิดเพลิงไหม้

5)    ประเภทของถังดับเพลิง

6)    สารเคมีไวไฟ 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    ใบอนุญาตขับหรือควบคุม โฟลคลิฟท์ หรือ แฮนด์ลิฟท์ หรือ เครนโรงงาน

2)    เอกสารรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านอัคคีภัย

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

4)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

5)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

6)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน 

4)    เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือคำแนะนำในการประเมิน

 วิธีการประเมิน

1)    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

2)    พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

ความปลอดภัยเบื้องต้นในอุตสาหกรรมอบชุบโลหะด้วยความร้อนและอุตสาหกรรมชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ผู้ปฏิบัติงานต้องคำนึงถึง อันตรายจากสารเคมีอันตราย อันตรายจากการใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมาก อันตรายจากไฟฟ้าที่ใช้ในกระบวนการทำงาน อันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงาน โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความสามารถระบุสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตราย ป้องกันตนเอง ปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ปลอดภัย รวมถึงสามารถปฐมพยาบาลตนเองและเพื่อนร่วมงานเบื้องต้นในกรณีได้รับอันตรายจากภัยที่กล่าวมาข้างต้น

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

สารเคมีอันตรายอาจประกอบด้วย น้ำมัน สารไวไฟ โลหะหนัก กรด ด่าง สารระเหย เป็นต้น สารเคมีอันตรายอาจเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางผิวหนัง ทางการหายใจ และการกลืนกิน ลักษณะของอันตรายที่เกิดจากสารเคมี ประกอบด้วย ระคายเคืองในตาและระบบทางเดินหายใจ ผิวหนังไหม้ ก่อมะเร็ง ทำลายกระดูก เป็นพิษต่อทารกในครรภ์ เกิดการกลายพันธ์ และก่ออัคคีภัย เป็นต้น อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมี ได้แก่ หน้ากากป้องกันสารเคมี ถุงมือ แว่นตา ชุดป้องกันสารเคมี เป็นต้น ลักษณะของอุบัติเหตุที่พบบ่อยจากอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุ ประกอบด้วย ของหล่นทับ รถขนย้ายชนพนักงาน เหยียบเท้า หรือสิ่งของข้างทาง สาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายจากฟ้า เช่น อุปกรณ์ชำรุด ใช้ไฟฟ้าเกินความสามารถของอุปกรณ์ต่อพ่วง สาเหตุของอัคคีภัยในโรงงาน ประกอบด้วย ความร้อนจากเตาอาชุบ ไฟฟ้าลัดวงจร ปฏิกิริยาจากสารเคมี ลักษณะเหตุการณ์ที่ต้องการที่การปฐมพยาบาล เช่น สัมผัสสารเคมี แผลสดที่เกิดจากเครื่องจักร แผลไฟไหม้ ไฟดูด หมดสติ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมิณจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงานโดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1.    แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน

 



ยินดีต้อนรับ