หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-GGIC-005A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักปฏิบัติการในกระบวนอบชุบโลหะด้วยความร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถ ตรวจสอบความแข็งของชิ้นงานด้วยเครื่องมือทดสอบความแข็งและตรวจสอบชิ้นงานด้วยสายตาในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
การผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01151

ตรวจสอบความแข็งของชิ้นงานด้วยเครื่องมือทดสอบความแข็ง

1.1 เตรียมชิ้นงานเพื่อทดสอบความแข็งได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน

01151.01 167610
01151

ตรวจสอบความแข็งของชิ้นงานด้วยเครื่องมือทดสอบความแข็ง

1.2 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือทดสอบก่อนการใช้งานได้ถูกต้อง

01151.02 167611
01151

ตรวจสอบความแข็งของชิ้นงานด้วยเครื่องมือทดสอบความแข็ง

1.3 เตรียมเครื่องมือทดสอบความแข็งชนิด Rockwell ได้ถูกตามใบสั่งงาน

01151.03 167612
01151

ตรวจสอบความแข็งของชิ้นงานด้วยเครื่องมือทดสอบความแข็ง

1.4 ใช้เครื่องมือทดสอบความแข็งชนิด Rockwell ได้ถูกต้อง

01151.04 167613
01152

ตรวจสอบด้วยสายตา

2.1 ตรวจสอบความเสียหายบริเวณผิวชิ้นงานได้ถูกต้อง

01152.01 167614
01152

ตรวจสอบด้วยสายตา

2.2 ตรวจสอบการเปลี่ยนรูปของชิ้นงานหลังผ่านการอบชุบด้วยความร้อนได้ถูกต้อง

01152.02 167615
01152

ตรวจสอบด้วยสายตา

2.3 ตรวจสอบขนาดของชิ้นงานหลังผ่านการอบชุบด้วยความร้อนโดยใช้เครื่องมือ

01152.03 167616

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    เตรียมชิ้นงานเพื่อทดสอบความแข็ง

2)    ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือทดสอบความแข็ง

3)    ใช้เครื่องมือทดสอบความแข็งชนิด Rockwell

4)    ตรวจสอบความเสียหายบริเวณผิวชิ้นงาน

5)    ตรวจสอบการเปลี่ยนรูปของชิ้นงานหลังผ่านการอบชุบด้วยความร้อน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    อธิบายวิธีการเตรียมชิ้นงานเพื่อทดสอบความแข็ง

2)    อธิบายหลักการเบื้องต้นในการทดสอบความแข็ง

3)    บอกชนิดของความเสียหายบริเวณผิวชิ้นงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)



หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน 

4)    เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินเกี่ยวกับนักปฏิบัติการอบชุบโลหะด้วยความร้อน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

 วิธีการประเมิน

1)    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

2)    พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมชิ้นงาน การตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ การเตรียมเครื่องมือและใช้เครื่องมือ ทดสอบความแข็งชนิด Rockwell รวมถึงตรวจสอบความเสียหายบริเวณผิวชิ้นงานและตรวจสอบการเปลี่ยนรูปของชิ้นงานหลังผ่านการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

การตรวจสอบด้วยสายตาหมายถึง การทดสอบโดยใช้ตาเปล่าหรือใช้อุปกรณ์อื่น ๆช่วย เช่น แว่นขยาย ซึ่งเป็นการทดสอบบริเวณผิวของชิ้นงาน โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณผิวชิ้นงานมีหลายชนิด เช่น การแตก เป็นต้น

การเปลี่ยนรูปของชิ้นงานหลังผ่านการอบชุบด้วยความร้อนหมายถึง ชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนรูปอันเนื่องมาจากแรงทางกลกระทำกับชิ้นงานทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยชิ้นงานจะมีลักษณะเปลี่ยนรูปหรือเสียรูปเดิม เช่น ชิ้นงานบิด ชิ้นงานงอ ชิ้นงานหัก เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมินจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1.    แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน

2.    แบบฟอร์มสาธิตการปฎิบัติงาน 

 



ยินดีต้อนรับ