หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมความพร้อมชิ้นงานก่อนกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MAH-EFDP-002A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมความพร้อมชิ้นงานก่อนกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักปฏิบัติการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถทำความสะอาดชิ้นงานรวมไปถึงการตรวจสอบและคัดกรองชิ้นงานในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
การผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01121

ทำความสะอาดชิ้นงาน

1.1 เตรียมอุปกรณ์สำหรับการล้างทำความสะอาดได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน

01121.01 167591
01121

ทำความสะอาดชิ้นงาน

1.2 ติดตั้งชิ้นงานเข้าสู่กระบวนการล้างทำความสะอาดได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน

01121.02 167592
01121

ทำความสะอาดชิ้นงาน

1.3 ล้างทำความสะอาดชิ้นงานได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน

01121.03 167593
01121

ทำความสะอาดชิ้นงาน

1.4 คัดกรองชิ้นงานที่ไม่ได้ผ่านการล้างทำความสะอาดออกจากกระบวนการได้ถูกต้อง

01121.04 167594
01122

การตรวจสอบและคัดกรองชิ้นงาน

2.1 ทวนสอบชิ้นงานได้ตามใบบ่งชี้

01122.01 167595
01122

การตรวจสอบและคัดกรองชิ้นงาน

2.2 คัดแยกงานปนออกจากกระบวนการได้ถูกต้อง

01122.02 167596
01122

การตรวจสอบและคัดกรองชิ้นงาน

2.3 คัดแยกงานเสียออกจากกระบวนการได้ถูกต้อง

01122.03 167597

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    เตรียมอุปกรณ์สำหรับการล้างทำความสะอาด

2)    ล้างทำความสะอาดชิ้นงานได้ตามใบสั่งงาน

3)    คัดแยกงานปนออกจากกระบวนการ

4)    คัดแยกงานเสียออกจากกระบวนการ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    อธิบายรายละเอียดในใบสั่งงาน

2)    บอกชนิดของสารสำหรับล้างทำความสะอาดชิ้นงาน

3)    บอกจุดสังเกตระหว่างชิ้นงานที่ผ่านการล้างทำความสะอาดกับชิ้นงานที่ไม่ได้ผ่านการล้างทำความสะอาด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

4)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

2)    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

3)    เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์จากการปฏิบัติงาน 

4)    เอกสารการประเมินผลจากการสอบข้อเขียน หรือ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินเกี่ยวกับนักปฏิบัติการอบชุบโลหะด้วยความร้อน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

 วิธีการประเมิน

1)    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

2)    พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

เตรียมความพร้อมชิ้นงานก่อนกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน ได้แก่ การล้างทำความสะอาดชิ้นงานและการตรวจสอบคัดกรองชิ้นงาน ในการอบชุบโลหะด้วยความร้อน



(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเลือกใช้อุปกรณ์และการเตรียมอุปกรณ์สำหรับการล้างทำความสะอาดชิ้นงาน รวมไปถึงการติดตั้งชิ้นงานเข้าสู่กระบวนการล้างทำความสะอาดและตรวจสอบคัดกรองชิ้นงานหลังจากผ่านกระบวนการล้างทำความสะอาด

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

การล้างทำความสะอาดชิ้นงานหมายถึง การทำความสะอาดชิ้นงานให้ปราศจากสิ่งปนเปื้อน เช่น คราบน้ำมัน สนิม เป็นต้น โดยวิธีการล้างทำความสะอาดชิ้นงานสำหรับกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อนมีหลายวิธี เช่น การล้างด้วยน้ำร้อน การล้างด้วยสารเคมี เป็นต้น

การคัดแยกงานปนหมายถึง การคัดแยกชิ้นงานที่มีลักษณะแตกต่างไปจากชิ้นงานส่วนใหญ่ออกจากกระบวนการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดต่อกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

การคัดแยกงานเสียหมายถึง การคัดแยกชิ้นงานที่มีความเสียหายหรือชิ้นงานที่มีความผิดปกติออกจากกระบวนการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดต่อกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะจะได้รับการประเมินจาก การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์และการสังเกตการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากเอกสารดังนี้

1.    แบบฟอร์มประเมินการสอบข้อเขียน

2.    แบบฟอร์มสาธิตการปฎิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ