หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเซรามิก

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CER-AFYV-071B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเซรามิก

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการยืนยันสภาพการเกิดของเสียในอุตสาหกรรมเซรามิก จัดการเมื่อเกิดปัญหาด้านคุณภาพในอุตสาหกรรมเซรามิก และ ปรับปรุงงานด้านคุณภาพในอุตสาหกรรมเซรามิก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04721 ยืนยันสภาพการเกิดของเสียในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.รายการตรวจสภาพ ถูกกำหนดได้อย่างถูกต้องตามตามมาตรฐานคุณภาพ 167205
04721 ยืนยันสภาพการเกิดของเสียในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.การระบุของเสียที่เกิดขึ้นถูกบันทึกได้อย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานคุณภาพ 167206
04721 ยืนยันสภาพการเกิดของเสียในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.การระบุผลกระทบที่เกิดกับกระบวนการถัดไปถูกบันทึกได้อย่างถูกต้อง 167207
04721 ยืนยันสภาพการเกิดของเสียในอุตสาหกรรมเซรามิก 4.รายการตรวจสอบระบุของเสีย ถูกจัดทำได้อย่างถูกต้อง 167208
04722 จัดการเมื่อเกิดปัญหาด้านคุณภาพในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.รายการตรวจสอบสภาพปัญหาด้านคุณภาพถูกจัดทำได้อย่างถูกต้อง 167209
04722 จัดการเมื่อเกิดปัญหาด้านคุณภาพในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.เอกสารบันทึกการจัดการสิ่งผิดปกติเมื่อตรวจพบปัญหาด้านคุณภาพถูกดำเนินการตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง 167210
04722 จัดการเมื่อเกิดปัญหาด้านคุณภาพในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.รายงานการแจ้งปัญหา ถูกดำเนินการไปยังผู้เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ 167211
04723 ปรับปรุงงานด้านคุณภาพในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.รายงานการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพถูกจัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ 167212
04723 ปรับปรุงงานด้านคุณภาพในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.ใบรายการแก้ไขปัญหาเคลม ถูกจัดทำได้อย่างถูกต้อง 167213
04723 ปรับปรุงงานด้านคุณภาพในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.ใบรายการทวนสอบย้อนกลับของ Lot ผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนต้องสงสัยถูกคัดแยกเพื่อดำเนินการได้ถูกต้องตามขั้นตอนการแก้ไขปัญหา 167214
04723 ปรับปรุงงานด้านคุณภาพในอุตสาหกรรมเซรามิก 4.รายงานปัญหาในอดีตถูกจัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ 167215

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการจัดการปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการยืนยันสภาพการเกิดของเสีย

2. ปฏิบัติการจัดการเมื่อเกิดปัญหาด้านคุณภาพ

3. ปฏิบัติการปรับปรุงงานด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. พื้นฐานการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ

2. การบริหารการผลิต

3. การบริหารคุณภาพ

4. การปรับปรุงงาน

5. การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

3. แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการจัดการปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์

2. เอกสารรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์ด้านความรู้

4. แฟ้มสะสมผลงาน

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการบริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)  วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ

1. รายการตรวจสอบสภาพการเกิดของเสียในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกกำหนดตามมาตรฐานการผลิต

2. รายการตรวจสอบสภาพปัญหาด้านคุณภาพ ถูกดำเนินการได้ตามมาตรฐานการผลิต

3. รายการปรับปรุงงานด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกจัดทำตามมาตรฐานการผลิต

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1. การยืนยันสภาพการเกิดของเสีย (NG) ในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย รายการตรวจสภาพ (ปกติ/ผิดปกติ) ถูกกำหนดตามคู่มือ Q-Point, Limit Sample, drawing, work std., check sheet เป็นต้น การระบุของเสียที่เกิดขึ้นถูกบันทึกตามคู่มือ Q-Point, Limit Sample, drawing, work std., check sheet เป็นต้น การระบุผลกระทบที่เกิดกับกระบวนการถัดไปตามกราฟ/แผ่นตรวจสอบ (check sheet) ระบุของเสีย

2. การจัดการเมื่อเกิดปัญหาด้านคุณภาพในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย รายการตรวจสอบสภาพปัญหาด้านคุณภาพ หรือเอกสารบันทึกการจัดการสิ่งผิดปกติเมื่อตรวจพบปัญหาด้านคุณภาพ เช่น ใบ rework, ใบ scrap เป็นต้น รายงานการแจ้งปัญหา เช่น Daily report, Quality report เป็นต้น สามารถสื่อสารข้อมูลของปัญหาด้านคุณภาพถูกดำเนินการไปยังผู้เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การปรับปรุงงานด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย รายงานการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพถูกจัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลัก 5W1H ใบรายการแก้ไขปัญหาเคลม เช่น Check Sheet, เอกสารการผลิต เอกสารการตรวจสอบ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทวนสอบ เป็นต้น ใบรายการทวนสอบย้อนกลับ (Traceability) ของ Lot ผลิตภัณฑ์/ชิ้นส่วนต้องสงสัยถูกคัดแยกเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการแก้ไขปัญหา และรายงานปัญหาในอดีต (History Claim Report) ถูกวิเคราะห์จัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ