หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CER-YAUV-072B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองในอุตสาหกรรมเซรามิก ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04731 บำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.เกณฑ์ตรวจสอบความผิดปกติขั้นพื้นฐานของเครื่องจักร อุปกรณ์ ถูกจัดเตรียมได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด 167216
04731 บำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.รายการทำงานของเครื่องจักร ถูกจัดทำได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด 167217
04731 บำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.จุดปลอดภัย ขั้นพื้นฐานของเครื่องจักรถูกกำหนดได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด 167218
04732 ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.รายการตรวจสอบเครื่องจักร ถูกจัดทำได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 167219
04732 ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.รายการดำเนินงานตามขั้นตอนการทำงานของเครื่องจักร ถูกตรวจสอบได้อย่างถูกต้องตามรายการที่กำหนด 167220
04732 ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.รายการวินิจฉัยปัญหา ถูกวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 167221
04733 แก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.คู่มือการแก้ไขปัญหาถูกจัดทำได้อย่างครบถ้วน 167222
04733 แก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.รายการการแจ้งปัญหาเครื่องจักรเสียถูกจัดทำได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด 167223
04733 แก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.รายงานการตรวจสอบการแก้ไขปัญหาเครื่องจักรเสียถูกจัดทำได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด 167224
04733 แก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก 4.รายงานการตรวจสอบชิ้นงานหลังการซ่อมก่อนการผลิตจริงถูกจัดทำได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด 167225

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับบริหารเครื่องจักร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองในอุตสาหกรรมเซรามิก

2. ปฏิบัติการตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักร

3. ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องจักร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ

2. พื้นฐานการซ่อมบำรุง

3. การบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance: TPM)

4. ความปลอดภัย สุขอนามัย สภาพแวดล้อม และพลังงาน

5. ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

3. แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร

2. เอกสารรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์ด้านความรู้

4. แฟ้มสะสมผลงาน

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการบริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)  วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ

1. เกณฑ์ตรวจสอบความผิดปกติขั้นพื้นฐานของเครื่องจักร อุปกรณ์ ถูกจัดเตรียมได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

2.  รายการตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกดำเนินการได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

3.  รายการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกจัดทำได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1. การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย เกณฑ์ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักร โดยอธิบายถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้  รายงานการทำงานของเครื่องจักร(Operate/Motion/Condition) กำหนดได้ตามมาตรฐานและขั้นตอนการทำงาน  จุดปลอดภัย (Safety Point) ของเครื่องจักร ถูกกำหนดได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน

2.  ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก ได้แก่ รายการตรวจสอบเครื่องจักร (Check Sheet)  รายการดำเนินงานตามขั้นตอนการทำงานของเครื่องจักร (operate/motion/condition) มีควบคุม ปฏิบัติการ ตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง การวินิจฉัยปัญหา (ว่าผิดปกติหรือไม่) สามารถนำมาตรวจสอบภายหลังได้

3.  แก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซรามิก ได้แก่ จัดทำคู่มือการแก้ไขปัญหา จัดทำรายการการแจ้งปัญหาเครื่องจักรเสีย กรณีฉุกเฉินตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น รายละเอียด, เวลา, การจัดการ, การสื่อสาร เป็นต้น  จัดทำรายงานการตรวจสอบการแก้ไขปัญหาเครื่องจักรเสีย เช่น รายละเอียด, เวลา, การวิเคราะห์สาเหตุ, แนวทางแก้ไข, ผลที่เกิดขึ้น, การสื่อสาร เป็นต้น  รายงานการตรวจสอบชิ้นงานหลังการซ่อมก่อนการผลิตจริง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบอัตนัย

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน หรือการสัมภาษณ์

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบอัตนัย

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน หรือการสัมภาษณ์

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบอัตนัย

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน หรือการสัมภาษณ์

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ