หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CER-WVDL-003A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับวางแผนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก กำหนดเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ตรวจสอบชิ้นงานเมื่อเริ่มการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก และประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01711 วางแผนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.แผนการผลิตหลัก ถูกกำหนดได้อย่างเหมาะสมกับแผนประมาณการความต้องการและแผนกำลังการผลิต 01711.01 59008
01711 วางแผนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.ตารางการผลิตถูกควบคุมให้สอดคล้องกับแผนการผลิตหลัก 01711.02 59009
01711 วางแผนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.แผนการปรับเปลี่ยนขนาดการผลิตถูกกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 01711.03 59010
01711 วางแผนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 4.เกณฑ์ตรวจสอบคุณภาพของผลผลิตถูกกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 01711.04 59011
01712 กำหนดเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.เกณฑ์มาตรฐานของกระบวนการผลิต ถูกกำหนดตามแผนการผลิตหลักได้อย่างถูกต้อง 01712.01 59012
01712 กำหนดเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.เกณฑ์มาตรฐานของช่วงเวลาการผลิต ถูกกำหนดตามแผนการผลิตหลักได้อย่างถูกต้อง 01712.02 59013
01712 กำหนดเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.เกณฑ์มาตรฐานของการควบคุมจุดตรวจสอบกระบวนการผลิตถูกกำหนดตามแผนการผลิตหลักได้อย่างถูกต้อง 01712.03 59014
01712 กำหนดเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 4.เกณฑ์มาตรฐานของระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนรอบการผลิต ถูกกำหนดตามแผนการผลิตหลักได้อย่างถูกต้อง 01712.04 59015
01712 กำหนดเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 5.เกณฑ์มาตรฐานการเริ่มการผลิตใหม่ถูกกำหนดได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ 01712.05 59016
01713 ตรวจสอบชิ้นงานเมื่อเริ่มการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.ข้อกำหนดของการตรวจสอบชิ้นงานเมื่อเริ่มการผลิต ถูกจัดทำได้อย่างถูกต้องตามเอกสารการตรวจสอบ 01713.01 59017
01713 ตรวจสอบชิ้นงานเมื่อเริ่มการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.วิธีการจัดการงานชิ้นแรก ถูกควบคุมได้ถูกต้องตามมาตรฐานการผลิต 01713.02 59018
01713 ตรวจสอบชิ้นงานเมื่อเริ่มการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.ชิ้นแรก Lotแรกได้รับการตรวจสอบได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนด 01713.03 59019
01714 ควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 1. กระบวนการผลิตถูกควบคุมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 01714.01 60147
01714 ควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 2. ช่วงเวลาการผลิตถูกควบคุมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 01714.02 60150
01714 ควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 3. จุดควบคุมของกระบวนการผลิตถูกกำหนด ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 01714.03 60151
01714 ควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 4. ระยะเวลาของรอบการผลิต ถูกปรับเปลี่ยนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 01714.04 60152
01714 ควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 5. การเริ่มผลิตใหม่หลังการปรับเปลี่ยนการผลิต ถูกควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 01714.05 60153
01715 กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 1. เกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพของผลผลิต ถูกกำหนดได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 01715.04 60148
01715 กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 2. เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน ถูกจัดทำได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 01715.01 60154
01715 กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 3. เกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานสำเร็จรูปถูกกำหนดได้อย่างมีถูกต้อง ครบถ้วน 01715.02 60155
01715 กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 4. เกณฑ์มาตรฐานการจัดทำรายงานผลการผลิต ถูกกำหนดได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 01715.03 60156
01716 ประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 1. รายงานการประเมินคุณภาพของผลผลิต ถูกจัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 01716.01 60149
01716 ประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 2. มาตรฐานการปฏิบัติงานถูกจัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 01716.02 60157
01716 ประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 3. คุณภาพของผลผลิตได้รับการตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 01716.03 60158
01716 ประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 4. ผลการผลิตได้จัดทำรายงานเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด 01716.04 60159

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการบริหารการผลิต


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวางแผนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

2. ปฏิบัติการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

3. ปฏิบัติการตรวจสอบชิ้นงานเมื่อเริ่มการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

4. ปฏิบัติการควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

5. ปฏิบัติการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

6. ปฏิบัติการประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. พื้นฐานการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ

2. การวางแผนการการผลิต

3. การบริหารการผลิต

4. การบริหารคุณภาพ

5. การปรับปรุงงาน

6. การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

3. แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการบริหารการผลิต

2. เอกสารรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์ด้านความรู้

4. แฟ้มสะสมผลงาน

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการบริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)  วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ

1. แผนการผลิตหลัก (Master Plan) ถูกกำหนดตามแผนประมาณการความต้องการและแผนกำลังการผลิต

2.  เกณฑ์มาตรฐานควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกกำหนดตามแผนการผลิตหลักประกอบด้วย ปริมาณวัตถุดิบ แรงงาน ระยะเวลา ข้อกำหนดเกี่ยวกับการผลิต และผลผลิตที่ต้องการ

3.  ข้อกำหนดการตรวจสอบชิ้นงานเมื่อเริ่มการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกกำหนดตามมาตรฐานการผลิต

4.  เกณฑ์การควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกกำหนดตามมาตรฐานการผลิต

5.  เกณฑ์กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกกำหนดตามมาตรฐานการผลิต

6.  เกณฑ์การประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกกำหนดตามมาตรฐานการผลิต

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1. การวางแผนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการผลิตหลัก (Master Schedule Plan) ที่ต้องถูกกำหนดได้อย่างเหมาะสมกับแผนประมาณการความต้องการ (Target Plan) และแผนกำลังการผลิต (Capacity Plan) เพื่อนำไปใช้วางแผนตารางการผลิต (Production Plan) แบบรายวัน/รายสัปดาห์/รายเดือน ส่วนแผนการปรับเปลี่ยนขนาดการผลิต เช่น เปลี่ยนขนาด (Size Change) เปลี่ยนโมเดล (Model Change)  เป็นต้น ต้องมีการกำหนดให้สามารถรองรับการปรับเปลี่ยนลักษณะการผลิตดังกล่าวได้ รวมทั้งต้องกำหนดเกณฑ์ตรวจสอบคุณภาพของผลผลิต เช่น ความปกติ ผิดปกติ ผลกระทบต่องานถัดไป เป็นต้น

2.  การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย เกณฑ์มาตรฐานของกระบวนการผลิต ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น คุณสมบัติสำคัญของวัตถุดิบที่รับ ทั้งปกติและผิดปกติ ผลกระทบของวัตถุดิบที่ผิดปกติ การตัดสินใจว่าวัตถุดิบผิดปกติหรือไม่ เป็นต้น  ด้านกระบวนการ (Process) เช่น ข้อห้าม ข้อควรระวัง ผลกระทบ และการตัดสินใจว่าในกระบวนการที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของชิ้นงาน เป็นต้น ด้านผลผลิต (Output) เช่น คุณลักษณะที่สำคัญหรือสเปกของชิ้นงานสำเร็จรูป การตัดสินใจทั้งที่ปกติและผิดปกติ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกระบวนการถัดไป เป็นต้น

เกณฑ์มาตรฐานของช่วงเวลาการผลิต เช่น ระยะเวลานำ (Lead Time) ระยะเวลาของรอบการผลิต (Cycle Time) ระยะเวลามาตรฐาน (Standard Time)และระยะเวลาสูญเสีย (Loss Time)ในการผลิตเป็นต้น

เกณฑ์มาตรฐานของการควบคุมจุดตรวจสอบกระบวนการผลิต ได้แก่ ค่ามาตรฐาน (Standard Point) จุดควบคุมคุณภาพ (Quality Control Point) แผนควบคุม (Control Plan) จุดตรวจสอบ (Check Point) และลักษณะเฉพาะของงาน (Special Characteristic-SC)  มาตรการป้องกันความผิดพลาดจากความพลั้งเผลอ (Fool Proof/Pokayoke) ถูกจัดทำตาม Master OK/NG

เกณฑ์มาตรฐานของระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนรอบการผลิต (Cycle Time) ที่เหมาะสมกับลักษณะการผลิตที่ต้องการ (Size Change, Model Change)

เกณฑ์มาตรฐานการเริ่มการผลิตใหม่ ได้แก่ หลังวันหยุดยาว หยุดสุดสัปดาห์ หยุดจากแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร เป็นต้น

3.  ควบคุมงานชิ้นแรกในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย ข้อกำหนดของการควบคุมงานชิ้นแรกตามเอกสารการตรวจสอบ  วิธีการจัดการงานชิ้นแรกถูกควบคุมในแต่ละวัน แต่ละ Lot หรือการควบคุมเมื่อมีจุดเปลี่ยนแปลงได้ถูกต้องตามข้อกำหนด การตรวจสอบงานชิ้นแรก Lot แรก หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการถูกดำเนินการได้ตามข้อกำหนด

4.  การควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย กระบวนการผลิต ช่วงเวลาการผลิต ค่ามาตรฐาน (Standard Point) จุดควบคุม (Control Point) จุดตรวจสอบ (Check Point) ระยะเวลาของรอบการผลิต (Cycle Time) และการเริ่มผลิตใหม่หลังการปรับเปลี่ยนการผลิต (หลังวันหยุดยาว/หยุดประจำสัปดาห์/หลังแผนการซ่อมบำรุง)

5.  การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย เกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพของผลผลิต (ปกติ/ผิดปกติ/ผลกระทบต่องานถัดไป) เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน (WS-Work Standard, WI-Work Instruction) เกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานสำเร็จรูป และ เกณฑ์มาตรฐานการจัดทำรายงานผลการผลิต (Patrol Report)

6.  การประเมินคุณภาพของผลผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย รายงานการประเมินคุณภาพของผลผลิต (ปกติ/ผิดปกติ/ผลกระทบต่องานถัดไป)  มาตรฐานการปฏิบัติงาน การตรวจสอบคุณภาพของผลผลิต รายงานผลการผลิต (Patrol Report)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน    

18.4 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน    

18.5 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน    

18.6 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ