หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชีและการทำงบทดลองหลังปรับปรุงบัญชี

สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASR-YJOP-063B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชีและการทำงบทดลองหลังปรับปรุงบัญชี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี (3313 ผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี)


1 3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
การปรับปรุงรายการทางบัญชี ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ประกอบด้วย การปรับปรุงรายได้ค้างรับรายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย รวมถึงการจัดทำงบทดลองหลังปรับปรุงบัญชี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 มาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
011021 ปรับปรุงรายการบัญชีและทำงบทดลองหลังปรับปรุงบัญชี 1.1         ปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายในสมุดรายวันให้ถูกต้อง 011021.01 164327
011021 ปรับปรุงรายการบัญชีและทำงบทดลองหลังปรับปรุงบัญชี 1.2         ปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายในบัญชีแยกประเภทให้ถูกต้อง 011021.02 164328
011021 ปรับปรุงรายการบัญชีและทำงบทดลองหลังปรับปรุงบัญชี 1.3 คำนวณยอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของให้ถูกต้อง 011021.03 164329

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านการทดสอบวัดระดับความสามารถตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี ระดับ 4

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการปรับปรุงรายการเกี่ยวกับรายได้ค้างรับ

2)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการปรับปรุงรายการเกี่ยวกับรายได้รับล่วงหน้า

3)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการปรับปรุงรายการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

4)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการปรับปรุงรายการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

5)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการปรับปรุงรายการเกี่ยวกับวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป

6)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการปรับปรุงรายการเกี่ยวกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

7)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการปรับปรุงรายการเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคา

8)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการปรับปรุงรายการเกี่ยวกับค่าตัดจำหน่าย

9)    จัดทำงบทดลองหลังปรับปรุงบัญชี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกรายการปรับปรุงรายได้ค้างรับ

2)    ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกรายการปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า

3)    ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

4)    ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

5)    ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกรายการปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป

6)    ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกรายการปรับปรุงค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

7)    ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกรายการปรับปรุงค่าเสื่อมราคา

8)    ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกรายการปรับปรุงค่าตัดจำหน่าย

9)    ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของงบทดลองหลังการปรับปรุง

10)    เข้าใจขั้นตอนในการจัดทำงบทดลองหลังการปรับปรุง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- ไม่มี -

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ

2)    หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานด้านบัญชีและข้อกำหนดด้านอายุงานของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

- ไม่มี -

(ง) วิธีการประเมิน

1) การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบแบบปรนัย แบบถูกผิด และแบบเติมคำ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ         

- ไม่มี -

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

รายได้ค้างรับ หมายถึง รายได้ที่เกิดขึ้นแล้วในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี แต่กิจการยังไม่ได้รับเงินสด โดยถือเป็นรายการสินทรัพย์

รายได้รับล่วงหน้า หมายถึง รายได้ที่กิจการได้รับล่วงหน้าจากลูกค้าในรูปเงินสด โดยที่กิจการยังไม่ส่งมอบสินค้าหรือบริการเป็นการตอบแทน ในขณะที่กิจการได้รับเงินสดนั้นจะยังไม่ถือเป็นรายได้ แต่จะถือเป็นหนี้สิน

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งกิจการได้รับประโยชน์ไปแล้วระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี แต่ยังไม่ได้ชำระเงิน โดยถือเป็นหนี้สิน

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า หมายถึง ค่าที่ใช้จ่ายที่กิจการจ่ายเงินสดออกไปล่วงหน้าเพื่อจะได้รับประโยชน์ในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีอนาคต โดยถือเป็นสินทรัพย์

วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป หมายถึง การบันทึกค่าใช้จ่ายเมื่อมีการเบิกใช้วัสดุสำนักงาน

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง ประมาณการหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ที่อาจจะเก็บเงินไม่ได้ จากการที่กิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อและลูกค้ายังไม่ชำระหนี้ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 

ค่าเสื่อมราคา หมายถึง การปันส่วนจำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ อย่างมีระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์

ค่าตัดจำหน่าย หมายถึง การปันส่วนจำนวนเงินที่คิดค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างเป็นระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบ 



ยินดีต้อนรับ