หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานด้านบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASR-SCVN-051B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานด้านบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี (3313 ผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี)


1 3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
การปฏิบัติงานด้านบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนการบันทึกบัญชีเมื่อรับรู้รายการเริ่มแรก การคำนวณและการบันทึกรายการบัญชีหลังการรับรู้รายการ การคำนวณค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน การตัดรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่หมดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ และการจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน รวมถึงการควบคุมภายในเกี่ยวกับรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 มาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
010711 บันทึกรายการบัญชีเมื่อรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1.1 คำนวณราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้ถูกต้อง 164246
010711 บันทึกรายการบัญชีเมื่อรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1.2 ทำทะเบียนคุมสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้ถูกต้อง 164247
010711 บันทึกรายการบัญชีเมื่อรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1.3 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการได้มาของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้ถูกต้อง 164248
010711 บันทึกรายการบัญชีเมื่อรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1.4 ระบุแนวทางควบคุมภายในเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้ถูกต้อง 164249
010712 คำนวณและบันทึกรายการบัญชีหลังการรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
2.1 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้ถูกต้อง 164250
010712 คำนวณและบันทึกรายการบัญชีหลังการรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
2.2 คำนวณค่าตัดจำหน่ายให้ถูกต้อง 164251
010712 คำนวณและบันทึกรายการบัญชีหลังการรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
2.3 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเลิกใช้และจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้ถูกต้อง 164252
010713

ทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านการทดสอบวัดระดับความสามารถตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี ระดับ 4 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับการได้มาของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

2)    บันทึกบัญชีเพื่อรับรู้รายการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

3)    จัดทำทะเบียนคุมสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

4)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแทนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

5)    คำนวณค่าตัดจำหน่ายของรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

6)    คำนวณค่าตัดจำหน่ายเมื่อมีการเปลี่ยนวิธีการตัดจำหน่าย มูลค่าคงเหลือและอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

7)    บันทึกรายการบัญชีค่าตัดจำหน่ายเมื่อมีการเปลี่ยนวิธีการตัดจำหน่าย มูลค่าคงเหลือและอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

8)    คำนวณกำไรขาดทุนจากการตัดรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

9)    บันทึกรายการบัญชีกรณีตัดรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

10)    บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับคำนิยามของรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

2)    ความรู้เกี่ยวกับหลักการรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

3)    ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของราคาทุนและคำนวณราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อเริ่มรับรู้รายการ

4)    ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของการได้มาซึ่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตน จากการซื้อด้วยเงินสด และการก่อหนี้ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา

5)    ความรู้เกี่ยวกับการวัดมูลค่าของราคาทุนของรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยน

6)    ความรู้เกี่ยวกับรายการบัญชีกรณีมีการเปลี่ยนแทนเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

7)    ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ การกำหนดมูลค่าคงเหลือ การกำหนดมูลค่าที่คิดค่าตัดจำหน่ายการกำหนดวิธีการคิดค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

8)    ความรู้เกี่ยวกับการด้อยค่าของสินทรัพย์ ปัจจัยบ่งชี้การด้อยค่า และการทดสอบการด้อยค่า 

9)    ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมภายในสำหรับรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- ไม่มี -

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ

2)    หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานด้านบัญชีและข้อกำหนดด้านอายุงานของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

- ไม่มี -

(ง)    วิธีการประเมิน

1) การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบแบบปรนัย แบบถูกผิด และแบบเติมคำ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ         

- ไม่มี-

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด    

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ ต้องสามารถระบุได้ ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ และต้องก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต

การได้มาสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ประกอบด้วย 1) ได้มาจากการซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 2) ได้มาจากการรวมธุรกิจ 3) ได้มาจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล 4) ได้มาจากการแลกเปลี่ยน และ 5) ได้มาจากพัฒนาสินทรัพย์ไม่มีตัวตนภายในกิจการ

ค่าตัดจำหน่าย หมายถึง การปันส่วนจำนวนเงินที่คิดค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างเป็นระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้น

ผลขาดทุนจากการด้อยค่า หมายถึง จำนวนของมูลค่าตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรพย์

การควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่  1. สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment)  2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)  3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) 4. สารสนเทศ และการสื่อสาร (Information and Communication) และ 5. การติดตามและประเมินผล (Monitoring)  

ตามที่กล่าวไว้ในวรรคก่อนเป็นแนวคิดในการควบคุมภายในขั้นพื้นฐานที่นักบัญชีต้องประยุกต์ให้เข้ากับงานด้านสินทรัพย์ไม่มีตัวตน  ซึ่งผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีความรู้อย่างน้อยในส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมการควบคุม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบ 



ยินดีต้อนรับ