หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานด้านการบัญชีต้นทุนตามระบบต้นทุนงานสั่งทำ

สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASR-YVKW-053B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานด้านการบัญชีต้นทุนตามระบบต้นทุนงานสั่งทำ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี (3313 ผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ความรู้เกี่ยวกับระบบต้นทุนงานสั่งทำ บันทึกบัญชีเกี่ยวกับบัญชีวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิตตามระบบต้นทุนงานสั่งทำ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
010821 คำนวณและบันทึกบัญชีกรณีสะสมต้นทุนแบบต้นทุนงานสั่งทำ 1.1 ทำบัตรต้นทุนงานสั่งทำแต่ละงานให้ถูกต้อง 164263
010821 คำนวณและบันทึกบัญชีกรณีสะสมต้นทุนแบบต้นทุนงานสั่งทำ 1.2 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเบิกวัตถุดิบเข้าเป็นต้นทุนงานสั่งทำให้ถูกต้อง 164264
010821 คำนวณและบันทึกบัญชีกรณีสะสมต้นทุนแบบต้นทุนงานสั่งทำ 1.3 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงานที่เกิดขึ้นจากงานสั่งทำให้ถูกต้อง 164265
010821 คำนวณและบันทึกบัญชีกรณีสะสมต้นทุนแบบต้นทุนงานสั่งทำ 1.4 บันทึกบัญชีเพื่อจัดสรรค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นต้นทุนงานสั่งทำให้ถูกต้อง 164266

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านการทดสอบวัดระดับความสามารถตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี ระดับ 3 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    จัดทำบัตรต้นทุนงานสั่งทำแต่ละงาน

2)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเบิกวัตถุดิบเข้าเป็นต้นทุนงานสั่งทำ

3)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงานที่เกิดขึ้นจากงานสั่งทำ

4)    บันทึกบัญชีเพื่อจัดสรรค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นต้นทุนงานสั่งทำ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการจัดทำบัตรต้นทุนงานสั่งทำแต่ละงาน

2)    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเบิกวัตถุดิบเข้าเป็นต้นทุนงานสั่งทำ

3)    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงานที่เกิดขึ้นจากงานสั่งทำ

4)    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบันทึกบัญชีเพื่อจัดสรรค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นต้นทุนงานสั่งทำ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- ไม่มี -

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ

2)    หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานด้านบัญชีและข้อกำหนดด้านอายุงานของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

- ไม่มี -

(ง)    วิธีการประเมิน

1) การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบแบบปรนัย แบบถูกผิด และแบบเติมคำ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ         

- ไม่มี-

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด    

บัตรต้นทุนงานสั่งทำ หมายถึง แบบฟอร์มที่ใช้สำหรับจดบันทึกต้นทุนที่คิดเข้าไปยังแต่ละงาน เป็นการสะสมต้นทุนที่ใช้ในการผลิตงานนั้น ๆ จนกว่าจะผลิตสำเร็จ

ระบบต้นทุนงานสั่งทำ หมายถึง ต้นทุนเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต  ค่าแรงงานที่ใช้ในการผลิต และค่าใช้จ่ายการผลิต  ที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าตามรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ  โดยต้นทุนดังกล่าวจะมีการสะสมต้นทุนผลิตภัณฑ์แยกเป็นแต่ละงาน และจะทำการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยเมื่องานเสร็จ ด้วยนำต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นหารด้วยปริมาณหน่วยที่ผลิตได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบ 



ยินดีต้อนรับ