หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ

สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASR-HOJM-048B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี (3313 ผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี)


1 3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจนับและวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ การวัดมูลค่าและบันทึกรายการปรับมูลค่าระหว่างราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า และการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 มาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
010421 ตรวจนับและวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือตามวิธีราคาทุน 1.1 ระบุสินค้าที่ต้องตรวจนับรวมเป็นสินค้าคงเหลือให้ถูกต้อง 164209
010421 ตรวจนับและวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือตามวิธีราคาทุน 1.2 คำนวณราคาทุนของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศให้ถูกต้อง 164210
010421 ตรวจนับและวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือตามวิธีราคาทุน 1.3 คำนวณสินค้าคงเหลือวิธีเข้าก่อนออกก่อนให้ถูกต้อง 164211
010421 ตรวจนับและวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือตามวิธีราคาทุน 1.4 คำนวณสินค้าคงเหลือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักให้ถูกต้อง 164212
010421 ตรวจนับและวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือตามวิธีราคาทุน 1.5 คำนวณสินค้าคงเหลือวิธีราคาเจาะจงให้ถูกต้อง 164213
010421 ตรวจนับและวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือตามวิธีราคาทุน 1.6 ระบุแนวทางควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือให้ถูกต้อง 164214
010422 คำนวณและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า 2.1 คำนวณมูลค่าสุทธิที่จะได้รับให้ถูกต้อง 164215
010422 คำนวณและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า 2.2 เปรียบเทียบราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ต่ำกว่าให้ถูกต้อง 164216
010422 คำนวณและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า 2.3 วิเคราะห์ราคาทุนและมูลค่าสุทธิที่จะได้รับเพื่อวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือให้ถูกต้อง 164217
010422 คำนวณและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า 2.4 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับราคาทุนและมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ต่ำกว่าให้ถูกต้อง 164218

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านการทดสอบวัดระดับความสามารถตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี ระดับ 3


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ตรวจนับสินค้าคงเหลือ

2)    คำนวณราคาทุนของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ

3)    คำนวณสินค้าคงเหลือวิธีเข้าก่อนออกก่อน

4)    คำนวณสินค้าคงเหลือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

5)    คำนวณสินค้าคงเหลือวิธีราคาเจาะจง

6)    ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับสินค้าคงเหลือ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับรายการสินค้าที่ต้องตรวจนับรวมเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวด

2)     ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณราคาทุนของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ

3)    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณสินค้าคงเหลือวิธีเข้าก่อนออกก่อน

4)    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณสินค้าคงเหลือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

5)    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณสินค้าคงเหลือวิธีราคาเจาะจง

6)    ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมภายในสำหรับสินค้าคงเหลือ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- ไม่มี -

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ

2)    หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานด้านบัญชีและข้อกำหนดด้านอายุงานของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ

(ข)    คำแนะนำในการประเมิน

- ไม่มี -

(ค)    วิธีการประเมิน

1) การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบแบบปรนัย แบบถูกผิด และแบบเติมคำ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ         

- ไม่มี-

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด    

การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือนั้น กิจการต้องวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนหรือราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้หักด้วยประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จ และต้นทุนในการขาย แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า

การควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่  1. สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment)  2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)  3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) 4. สารสนเทศ และการสื่อสาร (Information and Communication) และ 5. การติดตามและประเมินผล (Monitoring)  

ตามที่กล่าวไว้ในวรรคก่อนเป็นแนวคิดในการควบคุมภายในขั้นพื้นฐานที่นักบัญชีต้องประยุกต์ให้เข้ากับงานด้านสินค้าคงเหลือ  ซึ่งผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีความรู้อย่างน้อยในส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมการควบคุม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบ 



ยินดีต้อนรับ