หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบหาข้อเท็จจริงในการเกิดเหตุและความเสียหายจากอุบัติเหตุของรถยนต์

สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASR-MFNI-032B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบหาข้อเท็จจริงในการเกิดเหตุและความเสียหายจากอุบัติเหตุของรถยนต์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3315    เจ้าหน้าที่สำรวจภัย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้อธิบายถึง การตรวจสอบข้อเท็จจริงของการเกิดอุบัติเหตุ พิจารณาความรับผิดทั้งต่อทางอาญาและทางแพ่งเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลการแจ้งเหตุ การให้ปากคำ ผู้ขับขี่ พยานบุคคล วัตถุพยานในที่เกิดเหตุและความเสียหายที่ตัวรถ และจะต้องควบคุมป้องกันความเสียหายในที่เกิดขึ้นและขณะตรวจสอบเหตุ ไม่ให้ลุกลามเพิ่มจากปัจจุบัน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้สำรวจภัยยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    1. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535    2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการประกันภัย    3. ประกาศหรือคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)    4. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562    5. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542    6. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559    7. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522     8. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20202.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการเกิดเหตุและความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ที่เอาประกันภัยโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง 1.1 ระบุเอกสารหลักและเอกสารประกอบการปฏิบัติงานสำรวจภัยตามลักษณะของภัยที่เกิดขึ้น 20202.1.01 164083
20202.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการเกิดเหตุและความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ที่เอาประกันภัยโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง 1.2 พิจารณาความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ และสภาพแวดล้อมเพื่อเข้าสำรวจภัยหรือดำเนินการแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง 20202.1.02 164084
20202.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการเกิดเหตุและความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ที่เอาประกันภัยโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง 1.3 เลือกวิธีการควบคุมความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำหรือเกิดความเสียหายเพิ่มเติมจากอุบัติเหตุเดิม 20202.1.03 164085
20202.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการเกิดเหตุและความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ที่เอาประกันภัยโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง 1.4 เลือกวิธีการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น 20202.1.04 164086
20202.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการเกิดเหตุและความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ที่เอาประกันภัยโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง 1.5 ประมาณมูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 20202.1.05 164087
20202.2 รวบรวมหลักฐานพยานประกอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ 2.1 รวบรวมข้อมูลจากผู้เห็นเหตุการณ์ 20202.2.01 164088
20202.2 รวบรวมหลักฐานพยานประกอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ 2.2 รวบรวมวัตถุพยานที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุยานยนต์ 20202.2.02 164089
20202.2 รวบรวมหลักฐานพยานประกอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ 2.3 บันทึกภาพสถานที่เกิดเหตุอย่างครบถ้วนตามแนวทางการบันทึกภาพสถานที่เกิดเหตุ 20202.2.03 164090
20202.2 รวบรวมหลักฐานพยานประกอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ 2.4 วาดแผนผังสถานที่เกิดเหตุที่ประกอบด้วยร่องรอยหรือตำแหน่งพยานบุคคล 20202.2.04 164091
20202.2 รวบรวมหลักฐานพยานประกอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ 2.5 ตรวจสอบวัตถุพยาน 20202.2.05 164092
20202.2 รวบรวมหลักฐานพยานประกอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ 2.6 ตรวจสอบร่องรอยที่ปรากฏ 20202.2.06 164093
20202.2 รวบรวมหลักฐานพยานประกอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ 2.7 จัดทำบันทึกหลักฐานและรายละเอียดข้อเท็จจริง 20202.2.07 164094
20202.3 ตรวจสอบรายงานสำรวจภัย 3.1 อธิบายหัวข้อในรายงานสำรวจภัยที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 20202.3.01 164095
20202.3 ตรวจสอบรายงานสำรวจภัย 3.2 ประเมินสาเหตุการเกิดความเสียหาย 20202.3.02 164096
20202.3 ตรวจสอบรายงานสำรวจภัย 3.3 ประเมินความสอดคล้องของคำให้การกับความเสียหาย 20202.3.03 164097
20202.3 ตรวจสอบรายงานสำรวจภัย 3.4 ระบุข้อบ่งชี้และข้อพิรุธที่พบจากการตรวจรายงานสำรวจภัย 20202.3.04 164098
20202.3 ตรวจสอบรายงานสำรวจภัย 3.5 ทบทวนประมาณการความเสียหายที่เกิดขึ้นจากข้อบ่งชี้และข้อพิรุธจากการตรวจรายงานสำรวจภัย 20202.3.05 164099

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เบื้องต้นการประกันวินาศภัยและการบริหารความเสี่ยง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. ทักษะด้านการสื่อสารที่ชำนาญ โดยสามารถ                      

        1.1 ค้นหาข้อมูลจากพยานและหลักฐานแวดล้อม            

        1.2 สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ    

        1.3 แก้ปัญหาเฉพาะหน้า (ไหวพริบ ปฏิภาณ)

    2. ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี

        2.1 ใช้เครื่องมือ เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องบันทึกเสียง

        2.2 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เช่น Word Excel PowerPoint.

    3. ทักษะด้านการเขียน เพื่อเรียบเรียง ลำดับเรื่องราว

    4. ทักษะในการเรียนรู้กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไป

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เรื่องการสอบสวนและวิธีการสืบค้นข้อเท็จจริง

    1.1 วิธีการสอบปากคำ

    1.2 การหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

    1.3 การนำมาซึ่งหลักฐานน่าเชื่อถือ

    1.4 เทคนิคการค้นหาข้อเท็จจริงของข้อมูลจากการสังเกต

    1.5 โครงสร้างส่วนประกอบรถยนต์

    2. ความรู้ในหลักปฏิบัติของอุตสาหกรรม

    3. ความรู้ในกฎระเบียบและข้อปฏิบัติ

    4. ความรู้ด้านกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อมูลและความเป็นส่วนตัว 

    5. ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    6. ความรู้ด้านความปลอดภัยในการสำรวจภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการผ่านงาน หรือหนังสือรับรองการทำงาน

    2. เอกสารรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

    3. แฟ้มสะสมงานแสดงถึงวิธีการเลือกในการตรวจหาข้อเท็จจริง (ถ้ามี)

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

    3. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและความเป็นส่วนตัว (ถ้ามี)

    4. ผลการทดสอบปฏิบัติ/สัมภาษณ์ (ถ้ามี)

    (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

        อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน

    (ง)     วิธีการประเมิน

        อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก)        คำแนะนำ

            N/A

    (ข)        คำอธิบายรายละเอียด

    1. เรื่องราว หมายถึง ข้อมูลที่เรียบเรียงให้กับผู้ปฏิบัติงานซึ่งรวมถึง ประวัติการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ข้อมูลที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัย

    2. ตรวจสอบข้อเท็จจริงหมายถึงกระบวนการค้นหา สืบค้น สอบสวน รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ที่ปรากฏในที่เกิดเหตุ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ประเมินว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุ

    3. เอกสารสำคัญ หมายถึง เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่ใช้พิจารณาลักษณะการเกิดเหตุ

    4. ข้อมูล หมายถึง หลักฐานหรือเอกสารสำคัญซึ่งรวมถึงภาพถ่าย คลิปภาพหรือเสียง

    5. วัตถุพยาน หมายถึง เอกสาร วัตถุ ภาพถ่ายเหตุการณ์ หรือสิ่งอื่น ที่เกี่ยวข้องกับเหตุหรืออุบัติเหตุ

    6. แนวทางการบันทึกภาพสถานที่เกิดเหตุ ได้แก่ การบันทึกภาพถ่ายระยะไกล ภาพระยะปานกลาง ภาพระยะใกล้ที่แสดงถึงอัตราส่วนที่แท้จริง

    7. ข้อบ่งชี้และข้อพิรุธที่พบจากการตรวจสอบรายงานสำรวจภัย หมายถึง สิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอาจจะมีการทุจริตเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์จากการประกันภัย

    8. การตรวจสอบข้อเท็จจริงในการเกิดเหตุความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์โดยคำนึงถึงความปลอดภัย หมายถึง การปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จโดยไม่ละเลยวิธีการทำงานที่ปลอดภัยต่อตัวผู้สำรวจภัยเอง และบุคคลอื่น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ